
มะเร็งเต้านมไม่ใช่ฝันร้าย หายได้ถ้าพบแต่เนิ่นๆ (Lisa)
"มะเร็งเต้านม" โรคที่คร่าชีวิตผู้ป่วยมาก ทั้ง ๆ ที่มีการรณรงค์มาอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่เปอร์เซ็นต์ผู้ป่วยกลับเพิ่มสูงขึ้น นั่นเป็นเพราะสาเหตุอันใด?
ความรู้สึกแรกที่ไฮโซสาวอย่าง แหวนแหวน-ปาวริศา เพ็ญชาติ ตรวจพบก้อนเนื้อบริเวณหน้าอก และเมื่อไปหาหมอจึงพบว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกนั้น ช่างเป็นฝันร้ายของสาววัยหวาน เพราะขณะนั้นเธอมีอายุแค่ 23 ปี ในทางกลับกัน นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี เริ่มรู้ตัวว่าป่วยเป็นมะเร็งเต้านมเมื่ออายุ 53 ปี โดยเธอเก็บงำความลับไว้คนเดียวโดยไม่แพร่งพรายให้สื่อได้รู้ กระทั่งไปตรวจและรักษาอย่างจริง ๆ จัง ๆ กับทางศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถเพื่อโรคมะเร็งเต้านมโรงพยาบาลจุฬาฯ และได้รับเลือกเป็นทูตโครงการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านมในปี 2552
แม้โรคร้ายนี้จะคุกคามสาว ๆ ได้เกือบทุกวัย แต่อย่างน้อยการตรวจเจอโรคนี้เสียแต่เนิ่น ๆ ก็ช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตมากยิ่งขึ้น

เหตุที่ตรวจพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เพราะวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมีความละเอียดมากขึ้น ทำให้มีการตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้นมากขึ้น บวกกับคนสมัยนี้ดูแลตัวเองมากขึ้น บางคนก็หมั่นมาตรวจสุขภาพทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีอาการ และส่วนหนึ่งก็อาจตรวจเจอโรคและได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

ส่วนใหญ่เป็นเพราะได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป นอกจากนั้น ยังพบว่าผู้ป่วยมีประวัติญาติใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้มาก่อน หรืออาหารการกิน เช่น อาหารไขมันสูง การสูบบุหรี่ รวมทั้งดื่มแอลกอฮอล์ ก็ช่วยเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากยิ่งขึ้น และถ้าผู้นั้นมีญาติป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่ โดยเฉพาะถ้าป่วยตั้งแต่อายุน้อย ๆ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมด้วยเช่นเดียวกัน

















ถึงแม้ว่าทางศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถฯ จะพยายามเก็บเต้านมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเห็นถึงความสำคัญของเต้านมที่มีต่อผู้หญิง แต่ในบางครั้งถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็จำเป็นต้องตัดเต้านมออก แต่ด้วยเทคนิคการผ่าตัดในปัจจุบัน ทำให้เราสามารถผ่าตัดเพื่อสร้างเต้านมขึ้นใหม่ได้ในทันที โดยนำเนื้อจากส่วนอื่นมาทำเป็นเต้านมหลังผ่าตัด จึงรู้สึกเหมือนไม่ได้ถูกตัดเต้านมออกไป
แต่สำหรับผู้ป่วยรายไหนที่ไม่พร้อมหรือยังไม่อยากผ่าตัดสร้างเต้านม ทางศูนย์ฯ ก็มีกิจกรรมที่จะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านม โดยมีกลุ่มอาสาสมัครช่วยกันเย็บเต้านมเทียม เพื่อใช้ในการเสริมภายนอก นอกจากนั้น ยังมีการสอนและแนะนำเกี่ยวกับการใส่วิก การโพกผ้า เมื่อมีปัญหาผมร่วงหลังจากได้รับยาเคมีบำบัดด้วย
แม้โรคนี้จะดูน่ากลัว แต่ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ได้พัฒนาไปมากแล้ว และไม่เพียงแต่จะหาโรคนี้เจอได้แต่เนิ่น ๆ แต่ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้...ถ้าเพียงแค่คุณใส่ใจกับตัวเองเร็วกว่านี้อีกสักนิด
(ขอขอบคุณ : ผศ.ดร.นพ.โสภาคย์ มนัสนยกรณ์ ศัลยแพทย์ทั่วไป ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถฯ เอื้อเฟื้อข้อมูล)







ผู้หญิงที่กินยาคุมเป็นระยะเวลานาน อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น






รศ.นพ.กฤษณ์ จาฎามระ หัวหน้าศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถ ร.พ.จุฬาฯ สภากาชาดไทย เล่าถึงความเป็นมาของศูนย์มะเร็งเต้านมแบบครบวงจรให้ฟังว่า ศูนย์นี้เปิดมาได้ 3 ปีกว่าแล้ว โดยพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ต้องการให้เป็นศูนย์ที่ให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมแบบครบวงจร ซึ่งเหตุผลของการดำเนินงานของศูนย์นี้ ก็เพื่อเป็นศูนย์กลางการรักษามะเร็งเต้านมที่มีคุณภาพดีที่สุด โดยบุคลากรทั้งแพทย์ พยาบาล และอาสาสมัครจะได้รับการฝึกฝนอย่างเชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ซึ่งอุปกรณ์ในการรักษาก็มีประสิทธิภาพสูงสุดไม่แพ้ต่างประเทศ
รศ.นพ.กฤษณ์เล่าว่า เหตุผลที่ต้องใช้เครื่องมือทรงประสิทธิภาพ ก็เพื่อให้ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพราะเมื่อตรวจเจอแต่เนิ่น ๆ การรักษาจะเป็นไปอย่างรวดเร็วและไม่ลุกลามไปจนถึงขั้นตัดเต้านมทิ้ง โอกาสที่จะรักษาเต้านมไว้ได้ก็มีมากถึง 80-90% ทีเดียว
อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่สนใจจะตรวจมะเร็งเต้านมสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถ ร.พ.จุฬาฯ สภากาชาดไทย โทร. 0-2256-4991-2

"การดูแลตัวเองนั้นคนไข้จะต้องทำจิตใจให้เบิกบาน และมีความหวังว่าจะต้องหาย เพราะถ้ากำลังใจดีร่างกายก็จะดีตามไปด้วย ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะแข็งแรงตามไปอีก ซึ่งความจริงเราก็รู้นะว่า คนที่เป็นมะเร็งค่อนข้างจะมีความเครียด บางคนที่รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งก็เหมือนกับได้รับคำตัดสินโทษประหารไปแล้ว ซึ่งจะทำให้ชีวิตเครียดขึ้นไปอีก แต่ปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปไกลมาก จึงทำให้ผลการรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น"

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของผู้หญิงทั่วโลก ในปี 2548 มีผู้หญิงเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมถึง 502,000 ราย และคาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่มากถึงปีละ 1.2 ล้านคน สำหรับตัวเลขผู้ป่วยในไทยพบว่ามีจำนวน 5,845 ราย แต่ในปี 2551 เพิ่มเป็น 12,000 ราย แซงหน้ามะเร็งปากมดลูกที่มีผู้ป่วยประมาณ 8,000 ราย
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
