
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
กรมอนามัย หวั่นปิดเทอมเด็กไทยใช้ชีวิตเสี่ยงอ้วน ติดเกม ทีวี กินอาหารขยะไม่ออกกำลังกาย ชวนพ่อแม่ปรับพฤติกรรม ชี้ เป็นโรคอ้วนตั้งแต่เด็กอันตราย
ช่วงเดือนมีนาคมอย่างนี้ เด็ก ๆ หลายคนสอบเสร็จแล้ว ก็ได้ปิดเทอมใหญ่พักผ่อนอยู่บ้านอย่างมีความสุข แต่การปิดเทอมของเด็กนักเรียนก็มีเรื่องที่ทำให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข อดเป็นห่วงไม่ได้อยู่เหมือนกัน เพราะไลฟ์สไตล์ของเด็กยุคใหม่ที่ชอบดูโทรทัศน์ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ แถมยังกินอาหารจังก์ฟู้ด ไม่ออกกำลังกายอีกต่างหาก จึงเสี่ยงที่โรคอ้วนจะมาคุกคามตั้งแต่ยังเด็ก
เรื่องนี้ ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย ให้ข้อมูลว่า จากการสำรวจพบเด็กนักเรียนเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน ขณะที่เด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างไปกับการดูโทรทัศน์ และเล่นเกมคอมพิวเตอร์ โดยมีเด็กชั้นประถมศึกษาดูโทรทัศน์มากกว่าวันละ 2 ชั่วโมง อยู่ที่ร้อยละ 24.3 ส่วนเด็กมัธยมฯ ดูโทรทัศน์มากกว่าวันละ 2 ชั่วโมง ถึงร้อยละ 51.8 การดูโทรทัศน์ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ออกกำลังกายน้อยลง เป็นเหตุให้ร่างกายขาดความสมดุล เพราะพลังงานที่ใช้ไปไม่เท่ากัน พลังส่วนที่เหลือก็จะเก็บสะสมในรูปไขมันไปเกาะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำให้เป็นโรคอ้วนได้
สอดคล้องกับสถานการณ์โรคอ้วนของเด็กวัยเรียนที่ในปัจจุบันพบว่ามีเด็กเป็นโรคอ้วนถึงร้อยละ 17 ซึ่งเป็นอัตราที่สูง และผลจากการเป็นโรคอ้วนตั้งแต่วัยเด็กจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง กลายเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง และทำให้มีภาวะไขมันในเลือดสูงด้วย นำมาซึ่งภาวะหลอดเลือดตีบแข็ง ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูง
นอกจากนี้เด็กอ้วนยังมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากเกิดการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะเวลานอนหลับ ปอดจะขยายตัวน้อย ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต อีกทั้งยังพบปัญหาเกี่ยวกับข้อและกระดูกทำให้ปวดหัวเข่า ปวดข้อเท้า กระดูกงอและขาโก่ง เพราะต้องแบกรับน้ำหนักมากอยู่ตลอดเวลา มีปัญหาทางด้านพัฒนาการที่ต้องใช้กล้ามเนื้อคือจะทำให้เดินไม่คล่องตัว เมื่อเดินหรือวิ่งจะเหนื่อยง่าย ในเด็กโตอาจพบอาการปวดสะโพก ทำให้เดินไม่ได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ กรมอนามัยจึงแนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองดูแลสุขภาพบุตรหลานในช่วงปิดเทอม โดยควรจัดอาหารใน 1 วันให้เหมาะสม คือ






อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
