อยู่ดี ๆ ก็พบว่าตัวเองถ่ายเป็นเลือด อุจจาระมีเลือดปนมาด้วยจนโถส้วมกลายเป็นสีแดงคล้ำ แบบนี้เครื่องในเราผิดปกติหรือเปล่าต้องเช็กก่อนทุกอย่างจะสายไป


อุจจาระเป็นเลือดที่บ่งบอกได้ถึงภาวะท้องผูกให้สังเกตจากเลือดที่ออกมาพร้อมกับอุจจาระจะเป็นสีแดงสด โดยอาจจะถ่ายเป็นเลือดสดแดงเป็นสายหลังเบ่งอุจจาระออกมาแล้ว หรือเลือดเป็นเส้นติดมากับก้อนอุจจาระ เมื่อใช้กระดาษเช็ดก้นจะซับเลือดสีแดงสดออกมาด้วย นอกจากนี้ก้อนอุจจาระจะมีขนาดใหญ่และแข็ง ทำให้ต้องใช้แรงเบ่งมาก ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ถ่ายเป็นเลือดนี่แหละค่ะ เนื่องจากก้อนอุจจาระที่ใหญ่และแข็งครูดกับผิวของทวารหนักจนทำให้เกิดแผลถลอก ก่อให้เกิดอาการเจ็บแสบขณะถ่าย และถ่ายปนเลือดสีแดงสดได้ ใครเป็นแบบนี้ต้องหาวิธีแก้ท้องผูกแล้วล่ะ
- บอกลาอาการท้องผูก ด้วย 10 วิธีง่าย ๆ ช่วยให้ถ่ายได้ทุกเช้า
- นวดกดจุดแก้ท้องผูกด้วยตัวเอง ทริคเด็ด ๆ ทำได้ง่ายสุด ๆ
2. โรคริดสีดวงทวารหนัก
คนที่ท้องผูกบ่อย ๆ มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักด้วย เพราะการที่เราพยายามจะเบ่ง พยายามจะนั่งจนกว่าจะถ่าย อาจส่งผลให้เกิดแรงดันในช่องท้องมาก เส้นเลือดดำถ่ายเทไม่สะดวกและเกิดอาการโป่งพองขึ้น กลายเป็นริดสีดวงทวารในที่สุด และเมื่อมีติ่งก้อนริดซี่แล้ว เวลาที่เราเบ่งถ่าย ก้อนอุจจาระก็จะเบียดริดสีดวงทวาร ทำให้ถ่ายเป็นเลือดสีแดงสดออกมาด้วย

ในกรณีที่ก้อนอุจจาระแข็งและใหญ่ เนื่องจากอาการท้องผูกเรื้อรัง การเบ่งเอาอุจจาระเหล่านี้ออกมาก็อาจทำให้เกิดแผลบริเวณทวารหนักได้ ทำให้เกิดอาการเจ็บรูทวารหนักเมื่อเบ่งถ่าย และมีเลือดสีแดงสดออกมาพร้อมหรือหลังถ่ายอุจจาระด้วย ซึ่งอาการนี้อาจเป็นเพียงชั่วคราวแล้วหาย ในกรณีที่รักษาอาการท้องผูกได้ หรือบางรายอาจเป็นแผลที่ทวารหนักชนิดเรื้อรัง ที่สามารถรักษาให้หายด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระของตัวเอง
4. ลำไส้ใหญ่อักเสบ เป็นแผล
ถ้าสังเกตเห็นอุจจาระเป็นเลือดสีแดงปนกับเลือดสีแดงคล้ำ และมักจะมีลิ่มเลือดออกมาด้วย โดยไม่มีอาการถ่ายแล้วแสบที่ทวารหนัก แต่อาจจะมีหรือไม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วยก็ได้ เคสนี้สันนิษฐานได้คร่าว ๆ ว่าอาการถ่ายเป็นเลือดอาจเกิดจากภาวะเลือดออกจากลำไส้ใหญ่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากลำไส้ใหญ่อักเสบหรือเป็นแผล ซึ่งควรเก็บตัวอย่างอุจจาระปนเลือด และให้ผู้ป่วยงดอาหาร งดน้ำ แล้วรีบพาไปโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยต่อไป

สังเกตง่าย ๆ จากสีเลือดที่ปนมากับอุจจาระจะเป็นสีดำ มีลักษณะเหลวเหมือนยางมะตอย หรือเฉาก๊วยเหลว ๆ โดยอาการขั้นต้นอาจอาเจียนเป็นเลือดมาก่อน หรือบางรายไม่อาเจียนก็มีค่ะ ดังนั้นลองสังเกตดูว่าถ่ายเป็นเลือดสีดำมากไหม ถ้าไม่มาก ไม่มีอาการเจ็บป่วยอะไรเพิ่มเติม เช่น อาเจียนเป็นเลือด ปวดท้องมาก อ่อนเพลีย หมดแรง แนว ๆ นี้ลองเก็บตัวอย่างอุจจาระแล้วไปให้แพทย์วินิจฉัยอีกทีก็ได้ แต่ในกรณีถ่ายเป็นเลือดสีดำเยอะมาก เคสนี้ต้องรีบไปโรงพยาบาลด่วนเลยค่ะ เพราะเป็นไปได้ว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยหากไม่รีบรักษา
6. เลือดออกในลำไส้ใหญ่ส่วนต้น
คนที่ถ่ายเป็นเลือดสีคล้ำหรือสีดำไม่มากนัก มีเลือดปนออกมากับอุจจาระเพียงครั้งเดียว อาจสันนิษฐานได้ว่าการที่ถ่ายเป็นเลือดแบบนี้เกิดจากภาวะเลือดออกในลำไส้ใหญ่ส่วนต้นในปริมาณที่ไม่มาก และเลือดค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่นานจนเปลี่ยนเป็นสีดำ จากนั้นร่างกายจึงขับถ่ายออกมาทางอุจจาระให้เราเห็น ซึ่งหากไม่มีอาการอื่นใดแทรกซ้อน ก็รอดูอุจจาระครั้งต่อไปก่อนก็ได้ว่ายังมีเลือดปนมาไหม ถ้าไม่ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ แต่หากยังไม่หายดี แนะนำให้พบแพทย์ดีกว่า

หากอุจจาระเป็นเลือดปนมูก หรือที่เรียกว่าถ่ายเป็นมูกเลือด อาจเกิดจากโรคบิด ซึ่งก็คือการติดเชื้อในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้ลำไส้ใหญ่อักเสบ เป็นแผล มีอาการอุจจาระเหลวเป็นมูกเลือด ซึ่งก็ควรไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะมาให้กิน หรือวินิจฉัยอาการต่อไปในกรณีที่มีอาการอ่อนเพลีย หมดแรง หน้ามืด มีไข้สูงร่วมด้วย
8. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคนี้เสี่ยงกับคนอายุมากกว่า 40 ปี โดยอาการจะมีอุจจาระเป็นมูกเลือดชนิดเรื้อรัง กล่าวคือมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ เกินกว่า 2 สัปดาห์ ไม่มีไข้ ไม่ปวดบิด ซึ่งสามารถสันนิษฐานได้ถึงอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ใกล้กับทวารหนัก แต่ทางที่ดีควรเก็บตัวอย่างอุจจาระแล้วไปตรวจกับแพทย์เพื่อความชัวร์อีกครั้ง
9. โรคลำไส้ขาดเลือดหรือลำไส้อักเสบ
กรณีนี้ผู้ป่วยจะมีอุจจาระเป็นมูกเลือดร่วมกับมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ด้วย และอาการเหล่านั้นก็ค่อนข้างจะรุนแรง เช่น ถ้าปวดท้องก็จะปวดหนัก อุจจาระเป็นมูกเลือดค่อนข้างเยอะ ดังนั้นควรไปพบแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ

10. โรคติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่
พบได้มากในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยโรคนี้คือภาวะที่มีก้อนเนื้องอกขึ้นมาในลำไส้ ซึ่งอาจกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ และหากก้อนเนื้อดังกล่าวมีขนาดใหญ่หรือเกิดการอักเสบ ก็อาจอุดกั้นทางเดินอุจจาระ ทำให้ท้องผูก และมีเลือดออกเรื้อรังจากติ่งเนื้อนั้น ซึ่งอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องอาศัยการส่องกล้อง หรือนำอุจจาระไปตรวจ หรือหากติ่งเนื้อเกิดอักเสบ เป็นแผลขึ้นมาก็อาจอุจจาระเป็นเลือดสด หรือถ่ายเป็นมูกเลือดได้
11. ภาวะเลือดออกในจมูกหรือเลือดออกในหลอดลม
เคสนี้มีต้นตอมาจากเลือดกำเดาที่ไหล หรืออาการไอเป็นเลือด มีแผลในปากแบบเลือดออก แล้วเรากลืนเลือดเหล่านั้นเข้าไป ซึ่งก็อาจทำให้อุจจาระมีเลือดปนออกมาด้วยได้ โดยไม่มีอาการแสบขณะถ่าย ปวดท้อง หรืออาการผิดปกติอื่นใด นอกจากภาวะเลือดกำเดาไหล ไอเป็นเลือด หรือมีแผลขนาดใหญ่ในปาก ที่ควรต้องรักษาอาการเหล่านี้ให้หายก่อนแล้วค่อยสังเกตอาการถ่ายเป็นเลือดของตัวเองอีกทีว่าหายไปหรือยังเป็นอยู่
อย่างไรก็ตาม บางคนอาจสังเกตเห็นว่าอุจจาระเป็นสีดำ เหมือนมีเลือดปนออกมา ทั้งที่จริงแล้วอาจเป็นกรณีที่เรากินอาหารที่มีเลือดสัตว์ผสมอยู่ เช่น เลือดหมู เลือดไก่ เครื่องในสุก ๆ ดิบ ๆ ที่ยังมีเลือดฉ่ำ ในปริมาณที่มากพอจะทำให้เลือดสัตว์เหล่านี้ปนไปกับอุจจาระจนกลายเป็นสีดำคล้ำได้ หรือในบางคนที่เพิ่งไปบริจาคเลือด ได้รับยาบำรุงเลือดมา ก็จะถ่ายเป็นสีดำด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากไม่มีอาการผิดปกติอื่นใดก็ไม่ต้องตกใจนะคะ เพราะอุจจาระจะกลับมาเป็นปกติได้เมื่อเราหยุดกินอาหารและยาดังกล่าวเท่านั้น
อ้อ ! อีกอย่างที่อยากฝากเอาไว้ก็คือ จริง ๆ แล้วอาการถ่ายเป็นเลือดก็สามารถป้องกันได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเราเอง โดยทำตามนี้เลย

วิธีนี้จะช่วยให้เราไม่มีอาการท้องผูก จนก่อให้เกิดอาการข้างเคียงอย่างอุจจาระเป็นเลือดได้ โดยในแต่ละวันเราควรกินผัก-ผลไม้ให้มาก ๆ เช่น ผักใบเขียว กล้วย มะละกอ ส้ม หรือผลไม้แก้ท้องผูกตามนี้
- 9 ผลไม้ช่วยขับถ่าย หาทานง่าย แก้ท้องผูกได้อยู่หมัด
- 10 เมนูอาหารไทยแก้ท้องผูก กินแล้วปลุกระบบขับถ่าย
- 14 ของกินเล่นไฟเบอร์สูง แก้ท้องผูกก็เวิร์ก
2. ดื่มน้ำเยอะ ๆ
น้ำในที่นี้หมายถึงน้ำเปล่าเพียว ๆ นี่แหละค่ะ ตัวช่วยที่ดีมากในการแก้ท้องผูก เพราะน้ำจะช่วยให้เราถ่ายคล่องขึ้น ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ถ่ายง่าย อ้อ ! และทางที่ดีพยายามเลี่ยงชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตัวการทำท้องผูกด้วยนะคะ
3. ปวดปุ๊บถ่ายปั๊บ
อย่าขัดใจอุนจิกันเด็ดขาดค่ะ เพราะหากเราอั้นไว้นาน ๆ ลำไส้ใหญ่จะมีเวลาดูดซึมน้ำกลับเข้าร่างกาย ทำให้อุจจาระที่ควรได้ขับถ่ายขาดน้ำ แข็งตัว ถ่ายยากไปอีก ดังนั้นหากปวดท้องตุ่ย ๆ ก็รีบไปถ่ายเลยดีกว่า

เราควรล้างก้นด้วยวิธีเบสิกอย่างการล้างน้ำปกติ เพราะการใช้กระดาษเช็ดทำความสะอาดก้นอาจทำให้เกิดการเสียดสีจนเนื้อเยื่อทวารหนักถลอกได้ไม่มากก็น้อย และรอยถลอกก็จะกลายเป็นทางเข้าของเชื้อโรคที่อยู่ในอุจจาระ จนอาจก่อให้เกิดอาการอักเสบตามมาได้ ดังนั้นทางที่ดีเลี่ยงการใช้กระดาษทิชชูแห้งเช็ดทำความสะอาดก้นจะดีกว่า หรือหากจำเป็นจริง ๆ ไม่มีสายชำระให้ทำความสะอาดก้น ก็อาจใช้ทิชชูเปียกเช็ดแทน ซึ่งก็หมายความว่าเราควรพกทิชชูเปียกติดกระเป๋าไว้บ้างนะคะ

การออกกำลังกายจะช่วยป้องกันภาวะท้องผูก เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง มีแรงเบ่งได้ดี อีกทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ ยังช่วยลดความเสี่ยงภาวะความดันในหลอดเลือดดำที่ช่องทวารหนักเพิ่มสูงขึ้น เอื้อต่อการเกิดริดสีดวงทวารหนักด้วย
ถ้าไม่อยากกังวลใจกับอาการถ่ายเป็นเลือด ก็พยายามปฏิบัติตัวให้ได้ตามนี้ด้วยนะคะ แต่อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ถ่ายเป็นเลือดบ่อยเกินผิดปกติ หรือมีเลือดปนมากับอุจจาระมากกว่าปกติ ควรให้แพทย์วินิจฉัยอาการให้จะดีกว่า เพราะการหาสาเหตุของการถ่ายเป็นเลือด จำเป็นต้องดูจากหลายปัจจัย และอาจต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์อื่น ๆ ตรวจวินิจฉัยด้วย ซึ่งหากเราทราบสาเหตุของการถ่ายเป็นเลือดได้เร็วเท่าไร โอกาสในการรักษาอาการถ่ายเป็นเลือดก็ยิ่งมากเท่านั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก


ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
webmd
verywell