เสมหะหรือเสลดเรื้อรัง อาการน่ารำคาญที่ไม่มีใครอยากเป็น สามารถนำไปสู่อาการป่วยชนิดใดได้บ้าง แล้วสามารถรักษาให้หายได้อย่างไร มาหาคำตอบกัน
โรคอันดับต้น ๆ ที่คนมีเสมหะในลำคอตลอดเวลามักจะเป็นก็คือ โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โดยลักษณะของผู้ที่เป็นโรคนี้ จะมีเยื่อบุจมูกที่ค่อนข้างจะไวต่อสิ่งแวดล้อม คือ เมื่อสัมผัสกับสารที่ทำให้แพ้หรือสิ่งที่ทำให้ระคายเคือง ก็จะกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในจมูก ทำให้มีน้ำมูกไหลลงคอได้ โดยน้ำมูกที่ไหลลงคอก็จะกลายเป็นเสมหะ ซึ่งก็ตรงกับอาการมีเสมหะค้างในลำคอตลอดเวลาที่หลาย ๆ คนเป็นนั่นเอง โดยส่วนมากเสมหะมักจะมีสีขาวใส หรือขาวขุ่น ยกเว้นเวลาตื่นมาตอนเช้า เสมหะอาจจะมีสีเหลืองขุ่นได้ เนื่องจากน้ำมูกหรือเสมหะคั่งค้างอยู่ในจมูกและลำคอเป็นเวลานาน
และนอกจากอาการมีเสมหะตลอดเวลาแล้ว อาการอื่น ๆ ที่สังเกตได้ชัดก็คือ มักมีอาการคันจมูก คัดจมูก จามติด ๆ กันหลายครั้ง และมีน้ำมูกใส ๆ แต่จะไม่มีไข้ค่ะ ในบางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณหน้าผากและดั้งจมูก หรือหูอื้อร่วมด้วย หากอยากรักษาให้หายขาด เราก็ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดจากการแพ้ฝุ่นในบ้าน หรือกลิ่นควัน ฯลฯ แต่หากเป็นมานานแล้วไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์จ่ายยาแก้แพ้ให้
- โรคภูมิแพ้ อาการแพ้ที่ควรระวัง ชะล่าใจอาจถึงชีวิต
นอกจากจะเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ได้แล้ว อาการมีเสมหะเรื้อรังยังอาจเกิดจากโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ได้เช่นกัน แม้ว่าจริง ๆ แล้วโรคทั้งสองจะมีอาการเหมือนกัน แต่โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ เป็นโรคที่เกิดจากการระคายเคืองจากสิ่งแวดล้อม ทำให้มีน้ำมูกไหลลงคอจนเป็นเสมหะเฉย ๆ ไม่ได้มีอาการภูมิแพ้ร่วมด้วย โดยโรคนี้จะมีอาการคัดจมูกเป็นอาการนำ แต่มักจะไม่พบอาการคันจมูก จาม หรืออาการทางตาที่เป็นอาการของโรคจมูกอักเสบชนิดภูมิแพ้ร่วมด้วย
จะว่าไปโรคนี้ค่อนข้างยากต่อการวินิจฉัย เพราะอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถหาได้ชัดเจน อาจเกิดได้จากอารมณ์ที่เปลี่ยนไป อากาศที่เปลี่ยนแปลง ฝุ่น ควัน กลิ่น การกินอาหารเผ็ดจัด ความผิดปกติของร่างกายที่ทำให้เยื่อบุจมูกตอบสนองมากผิดปกติต่อสารระคายเคืองต่าง ๆ ฯลฯ ต่างจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่บอกสาเหตุได้แน่ชัดว่าแพ้สารอะไร จึงรักษาได้ง่ายกว่า
ดังนั้น การจะรักษาโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้นั้น แพทย์มักจะรักษาตามอาการ คือ ให้ยาแก้คัดจมูก น้ำมูกไหล เพื่อไม่ให้มีเสมหะไหลลงคอ พร้อมกับแนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองให้ได้มากที่สุด หากมีอาการคัดจมูกมาก ๆ ก็ควรนอนหนุนหมอนที่สูงขึ้น แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์ก็จะรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อให้ช่องจมูกโล่งมากขึ้น
อีกหนึ่งโรคที่ผู้ที่มีเสมหะเรื้อรังเสี่ยงเป็นก็คือ
โรคไซนัสอักเสบ
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากการที่โพรงไซนัสและเยื่อบุจมูกอักเสบ
จึงไปกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูก ทำให้มีสารคัดหลั่งที่ไหลออกจากโพรงไซนัส
ส่งผลให้มีน้ำมูกจำนวนมาก จนทำให้น้ำมูกไหลลงคอ
และเกิดเป็นเสมหะเรื้อรังได้ และโดยปกติแล้ว
เสมหะจากโรคนี้มักจะมีสีเขียวหรือสีเหลือง
ซึ่งเป็นสีของเสมหะที่สื่อว่าติดเชื้อแบคทีเรีย
นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตที่สำคัญอีกจุดหนึ่งว่า ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ
มักจะมีอาการระคายคอจากเสมหะจนต้องกระแอมมากขึ้นในช่วงที่ล้มตัวลงนอน
หรือมีอาการตอนตื่นนอนค่อนข้างบ่อย
แต่ในระหว่างวันจะไม่ค่อยเกิดอาการกระแอมไอเพราะเสมหะในลำคอสักเท่าไร
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไซนัสอักเสบจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็ควรรักษาให้หายด้วยการกินยาตามแพทย์สั่ง เพราะหากปล่อยไว้การติดเชื้อในไซนัสอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตา และสมอง ทำให้อาการรุนแรงและเรื้อรัง จนส่งผลให้เกิดโรคทางปอด หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง ตามมาได้ แต่ถ้าใครกำลังสงสัยว่าอาการที่เราเป็นจะใช่ไซนัสหรือโรคหวัด ก็ลองเปรียบเทียบอาการกันดูที่กระทู้นี้ค่ะ
- ไซนัสอักเสบ แตกต่างจาก หวัด อย่างไร
โรคหืด เป็นโรคที่เกิดจากอาการอักเสบเรื้อรังที่เยื่อบุหลอดลม ส่งผลให้เยื่อบุหลอดลมของผู้ป่วยโรคนี้ไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ เวลาสัมผัสกับสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือภูมิแพ้ จะไปกระตุ้นต่อมผลิตเสมหะในเยื่อบุหลอดลมให้สร้างเสมหะเป็นจำนวนมาก ทำให้มีเสมหะค้างอยู่ในลำคอตลอดเวลาได้ ทางที่ดีถ้าคุณมีเสมหะตลอดเวลา ร่วมกับอาการแน่นหน้าอกและหายใจลำบาก ให้รีบไปพบหมอ เพื่อตรวจให้แน่ใจว่าคุณเป็นโรคหืดหรือเปล่าจะดีที่สุดค่ะ โดยการรักษาโรคหอบหืดจะต่างกันในคนไข้แต่ละคน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อายุคนไข้ และภาวะที่เกิดร่วมกับโรคหอบหืดด้วยเหมือนกัน และถึงแม้ว่าโรคนี้จะรักษาให้หายไม่ได้ แต่หากดูแลตัวเองดีก็จะช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของอาการได้
- โรคหอบหืด คืออะไร อาการร้ายแรงไหม ?
- สมุนไพรรักษาหอบหืด อีกหนึ่งทางเลือกของคนแพ้
ผู้ที่มีอาการไอแบบมีเสมหะบ่อย ๆ ควรต้องสงสัยถึงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังเอาไว้เป็นอันดับแรก ๆ เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้ มักจะมีอาการไอแบบมีเสมหะเรื้อรังหนักมาก ถึงขนาดที่บางรายอาจมีอาการไอเป็นเลือดร่วมด้วย ยิ่งไปกว่านั้น โรคหลอดลมอักเสบถือเป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ด้วยการรักษาไปตามอาการ พร้อมทั้งปรับสภาพของร่างกายให้สมดุล และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้หลอดลมระคายเคือง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้แข็งแรงเพื่อจะได้ไม่เป็นหวัดง่าย เพราะจะทำให้หลอดลมอักเสบได้ง่าย ไม่เช่นนั้นเชื้อต่าง ๆ อาจจะลามไปที่ปอด จนเป็นโรคปอดอักเสบหรือถุงลมโป่งพองได้
หากมีเสมหะอยู่ในลำคอเป็นเวลานานเกินปกติ เราขอแนะนำให้รีบไปตรวจบริเวณลำคอโดยด่วน เพราะคุณอาจมีอาการติดเชื้อเรื้อรัง ทั้งจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อซิฟิลิส หรือเชื้อวัณโรคได้ โดยเชื้อเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ลำคอของเราแล้ว จะไปทำให้เกิดอาการอักเสบ พอคออักเสบมาก ๆ ก็จะไปกระตุ้นให้ต่อมสร้างเสมหะทำงานมากขึ้น จนส่งผลให้เรามีเสมหะเรื้อรังในที่สุด ส่วนการรักษาโรคนี้ส่วนมากจะใช้การประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ดื่มน้ำมาก ๆ กินยาแก้ปวด กินยาต้านเชื้อรา หรือกินยาปฏิชีวนะในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรีย
อีกหนึ่งสาเหตุยอดฮิตที่ทำให้ผู้คนมากมายมีอาการเสมหะเรื้อรัง ก็มาจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ไอหนัก อาเจียนบ่อย มีแผลในลำคอ อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศเย็นมาก รวมถึงได้รับสารเคมีและมลพิษ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้เรามีอาการระคายเคืองหรือบาดเจ็บเรื้อรังบริเวณลำคอ และจะไปกระตุ้นต่อมสร้างเสมหะในคอ ทำให้ผลิตเสมหะออกมามากกว่าปกติ ซึ่งหากอยากทราบสาเหตุที่แน่ชัดก็ต้องให้แพทย์หู คอ จมูก ตรวจวินิจฉัยค่ะ
8. โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease : GERD)
โรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยมักจะมีกรดจากหลอดอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่คอหอย ซึ่งจะกระตุ้นต่อมสร้างเสมหะในลำคอให้ทำงานมากขึ้น จึงทำให้มีเสมหะในลำคอตลอดเวลาได้ ยิ่งไปกว่านั้น กรดไหลย้อนที่ไหลขึ้นมาที่คอ ยังสามารถทำให้เยื่อบุลำคออักเสบ จนทำให้กลไกในการกำจัดเสมหะของเยื่อบุลำคอผิดปกติไป ส่งผลให้มีเสมหะค้างอยู่บริเวณลำคอ ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองจนต้องกระแอมไอ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร หรือช่วงที่กำลังจะล้มตัวลงนอน
นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง (Laryngopharyngeal reflux) กรดไหลย้อนที่ออกไปนอกหลอดอาหาร อาจไปถึงเยื่อบุจมูกทางด้านบน และกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในโพรงจมูกให้ทำงานมากขึ้น ทำให้มีน้ำมูกหรือมีเสมหะไหลลงคอได้ด้วยนะคะ ฉะนั้นอาการเสมหะเรื้อรังที่หลาย ๆ คนเป็นแล้วไม่หายสักที ก็อาจส่อถึงโรคนี้อยู่ก็เป็นได้ ซึ่งถ้าอยากกำจัดเสมหะที่เกิดจากกรดไหลย้อน ก็ต้องรักษาโรคกรดไหลย้อนให้หาย ด้วยการปรับพฤติกรรมตัวเองตามนี้ค่ะ
- โรคกรดไหลย้อน–โรคกระเพาะ ความเหมือนที่แตกต่าง
- โรคกรดไหลย้อนห้ามกินอะไร ไม่อยากลำบากกายต้องเลี่ยง !
รู้หรือไม่ว่าการแพ้อาหารก็ทำให้เกิดเสมหะได้ เพราะเมื่อเรารับประทานอาหารที่แพ้เข้าไป อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุลำคอ กระตุ้นให้ต่อมสร้างเสมหะมากขึ้นได้ โดยเฉพาะอาการแพ้อาหารประเภทผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม (โยเกิร์ต) ชีส ไข่ ข้าว นมถั่วเหลือง ปลากะตัก อะโวคาโด เห็ด รวมไปถึงอาหารประเภทอบแห้งหรืออาหารปิ้งย่าง ซึ่งอาจมีสารฮีสตามีน หรือสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้แฝงอยู่ ฉะนั้นใครที่มีเสมหะอยู่ในลำคอตลอดเวลา โดยไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย ลองสำรวจตัวเองดูก็ได้ค่ะว่าเราจะมีเสมหะมากผิดปกติหลังรับประทานอาหารประเภทไหน ซึ่งนั่นอาจสันนิษฐานได้ว่าเรามีอาการแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ อยู่ก็เป็นได้ ทว่าหากเสมหะในลำคอไม่ยอมหายสักที เคสนี้คงต้องแนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
- อาการแพ้อาหาร อันตรายถึงตาย ใช่แค่เรื่องเล่น ๆ
นอกจากนี้พฤติกรรมที่ใช้เสียงผิดวิธี เช่น พฤติกรรรมอ้าปากพูดมาก ๆ ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เรามีเสมหะในลำคอตลอดเวลา เนื่องจากเมื่อเราอ้าปากพูดมาก ๆ ร่างกายจะปรับให้เราหายใจทั้งทางจมูกและปาก ส่งผลให้อากาศมีโอกาสผ่านเข้าสู่ลำคอเรามากขึ้น และทำให้ลำคอเกิดภาวะแห้งและเย็น จนร่างกายต้องปรับตัวเพื่อให้ลำคอมีความชุ่มชื้น ด้วยการสร้างเสมหะมากขึ้น ส่งผลให้เรามีเสมหะในลำคอได้
การจะกำจัดเสมหะให้หมดไป ต้องรักษาโรคต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้วให้หาย แต่นอกเหนือจาก 9 โรคนั้น จริง ๆ เสมหะยังสามารถเกิดขึ้นได้จากไข้หวัด ซึ่งมาพร้อมอาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหล หรือบางคนอาจมีอาการไอ ปวดศีรษะ เป็นไข้ร่วมด้วย แต่โดยปกติแล้วอาการเสมหะที่เกิดขึ้นจากสาเหตุนี้จะหายไปภายในไม่กี่วัน และไม่ได้เป็นเรื้อรัง ซึ่งเราสามารถกำจัดเสมหะจากอาการหวัดให้หายไปได้เร็วขึ้นด้วยการใช้ยาละลายเสมหะ หรือใช้วิธีต่อไปนี้ค่ะ
- สมุนไพรแก้ไอ ขจัดเสมหะ ของดีใกล้ตัว ในครัวก็หาได้
- 9 อาหารช่วยลดน้ำมูก กำจัดเสมหะ แก้หวัดได้ในตัว
- 8 วิธีกำจัดเสมหะ เคลียร์กันจะจะให้หายใจสะดวกขึ้น
ต้องขอย้ำอีกครั้งว่า เสมหะที่บอกโรคได้ หรือบ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงโรคต่าง ๆ ในเบื้องต้น ต้องเป็นอาการมีเสมหะเรื้อรัง หรือมีเสมหะติดต่อกันนานเกิน 3 สัปดาห์เป็นต้นไป ฉะนั้นใครที่เพิ่งจะมีเสมหะ ก็ไม่ต้องกังวลมากไป เพราะอาจจะเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา ไปพบหมอสักหน่อยก็สามารถรักษาให้หายได้ง่าย ๆ แล้ว นอกจากนี้ ก่อนจะไปพบหมอ เราอาจลองสังเกตอาการเบื้องต้นของตัวเองดูก่อนก็ได้ว่าเสมหะของเรามีสีอะไร เพื่อวินิจฉัยตัวเองได้ในเบื้องต้น และจะได้แจ้งให้หมอทราบ เพื่อการรักษาได้ตรงจุดค่ะ
- สีเสมหะบอกโรคได้ รู้ไว้เป็นสัญญาณเตือน
เสมหะ คือ
สารคัดหลั่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจากต่อมสร้างสารคัดหลั่ง
ซึ่งอยู่ในเยื่อบุทางเดินหายใจ
โดยเมื่อมีเสมหะในลำคอหรือในระบบทางเดินหายใจก็จะสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เป็นอย่างมาก
หลาย ๆ คนจึงพยายามกำจัดออกด้วยการกระแอมหรือไอ ซึ่งตามปกติแล้ว
เสมหะทั่วไปจะเกิดเพียง 2-3 ครั้งต่อวัน แต่หากใครที่มีเสมหะบ่อย ๆ หลาย ๆ
ครั้งในหนึ่งชั่วโมง หรือมีความรู้สึกว่า มีเสมหะในลำคอตลอดเวลา รวมทั้งสังเกตสีของเสมหะว่าค่อนข้างไม่ปกติ อาจจะต้องเข้าพบหมอโดยด่วน เพราะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหรืออาการต่อไปนี้
มีเสมหะเรื้อรัง เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง
1. โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic rhinitis)
โรคอันดับต้น ๆ ที่คนมีเสมหะในลำคอตลอดเวลามักจะเป็นก็คือ โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โดยลักษณะของผู้ที่เป็นโรคนี้ จะมีเยื่อบุจมูกที่ค่อนข้างจะไวต่อสิ่งแวดล้อม คือ เมื่อสัมผัสกับสารที่ทำให้แพ้หรือสิ่งที่ทำให้ระคายเคือง ก็จะกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในจมูก ทำให้มีน้ำมูกไหลลงคอได้ โดยน้ำมูกที่ไหลลงคอก็จะกลายเป็นเสมหะ ซึ่งก็ตรงกับอาการมีเสมหะค้างในลำคอตลอดเวลาที่หลาย ๆ คนเป็นนั่นเอง โดยส่วนมากเสมหะมักจะมีสีขาวใส หรือขาวขุ่น ยกเว้นเวลาตื่นมาตอนเช้า เสมหะอาจจะมีสีเหลืองขุ่นได้ เนื่องจากน้ำมูกหรือเสมหะคั่งค้างอยู่ในจมูกและลำคอเป็นเวลานาน
และนอกจากอาการมีเสมหะตลอดเวลาแล้ว อาการอื่น ๆ ที่สังเกตได้ชัดก็คือ มักมีอาการคันจมูก คัดจมูก จามติด ๆ กันหลายครั้ง และมีน้ำมูกใส ๆ แต่จะไม่มีไข้ค่ะ ในบางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณหน้าผากและดั้งจมูก หรือหูอื้อร่วมด้วย หากอยากรักษาให้หายขาด เราก็ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดจากการแพ้ฝุ่นในบ้าน หรือกลิ่นควัน ฯลฯ แต่หากเป็นมานานแล้วไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์จ่ายยาแก้แพ้ให้
- โรคภูมิแพ้ อาการแพ้ที่ควรระวัง ชะล่าใจอาจถึงชีวิต
2. โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ (Non-allergic rhinitis)
นอกจากจะเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ได้แล้ว อาการมีเสมหะเรื้อรังยังอาจเกิดจากโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ได้เช่นกัน แม้ว่าจริง ๆ แล้วโรคทั้งสองจะมีอาการเหมือนกัน แต่โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ เป็นโรคที่เกิดจากการระคายเคืองจากสิ่งแวดล้อม ทำให้มีน้ำมูกไหลลงคอจนเป็นเสมหะเฉย ๆ ไม่ได้มีอาการภูมิแพ้ร่วมด้วย โดยโรคนี้จะมีอาการคัดจมูกเป็นอาการนำ แต่มักจะไม่พบอาการคันจมูก จาม หรืออาการทางตาที่เป็นอาการของโรคจมูกอักเสบชนิดภูมิแพ้ร่วมด้วย
จะว่าไปโรคนี้ค่อนข้างยากต่อการวินิจฉัย เพราะอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถหาได้ชัดเจน อาจเกิดได้จากอารมณ์ที่เปลี่ยนไป อากาศที่เปลี่ยนแปลง ฝุ่น ควัน กลิ่น การกินอาหารเผ็ดจัด ความผิดปกติของร่างกายที่ทำให้เยื่อบุจมูกตอบสนองมากผิดปกติต่อสารระคายเคืองต่าง ๆ ฯลฯ ต่างจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่บอกสาเหตุได้แน่ชัดว่าแพ้สารอะไร จึงรักษาได้ง่ายกว่า
ดังนั้น การจะรักษาโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้นั้น แพทย์มักจะรักษาตามอาการ คือ ให้ยาแก้คัดจมูก น้ำมูกไหล เพื่อไม่ให้มีเสมหะไหลลงคอ พร้อมกับแนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองให้ได้มากที่สุด หากมีอาการคัดจมูกมาก ๆ ก็ควรนอนหนุนหมอนที่สูงขึ้น แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์ก็จะรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อให้ช่องจมูกโล่งมากขึ้น
3. โรคไซนัสอักเสบ (Rhinosinusitis)
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไซนัสอักเสบจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็ควรรักษาให้หายด้วยการกินยาตามแพทย์สั่ง เพราะหากปล่อยไว้การติดเชื้อในไซนัสอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตา และสมอง ทำให้อาการรุนแรงและเรื้อรัง จนส่งผลให้เกิดโรคทางปอด หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง ตามมาได้ แต่ถ้าใครกำลังสงสัยว่าอาการที่เราเป็นจะใช่ไซนัสหรือโรคหวัด ก็ลองเปรียบเทียบอาการกันดูที่กระทู้นี้ค่ะ
- ไซนัสอักเสบ แตกต่างจาก หวัด อย่างไร
4. โรคหืด (Asthma)
โรคหืด เป็นโรคที่เกิดจากอาการอักเสบเรื้อรังที่เยื่อบุหลอดลม ส่งผลให้เยื่อบุหลอดลมของผู้ป่วยโรคนี้ไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ เวลาสัมผัสกับสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือภูมิแพ้ จะไปกระตุ้นต่อมผลิตเสมหะในเยื่อบุหลอดลมให้สร้างเสมหะเป็นจำนวนมาก ทำให้มีเสมหะค้างอยู่ในลำคอตลอดเวลาได้ ทางที่ดีถ้าคุณมีเสมหะตลอดเวลา ร่วมกับอาการแน่นหน้าอกและหายใจลำบาก ให้รีบไปพบหมอ เพื่อตรวจให้แน่ใจว่าคุณเป็นโรคหืดหรือเปล่าจะดีที่สุดค่ะ โดยการรักษาโรคหอบหืดจะต่างกันในคนไข้แต่ละคน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อายุคนไข้ และภาวะที่เกิดร่วมกับโรคหอบหืดด้วยเหมือนกัน และถึงแม้ว่าโรคนี้จะรักษาให้หายไม่ได้ แต่หากดูแลตัวเองดีก็จะช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของอาการได้
- โรคหอบหืด คืออะไร อาการร้ายแรงไหม ?
- สมุนไพรรักษาหอบหืด อีกหนึ่งทางเลือกของคนแพ้
5. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis)
ผู้ที่มีอาการไอแบบมีเสมหะบ่อย ๆ ควรต้องสงสัยถึงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังเอาไว้เป็นอันดับแรก ๆ เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้ มักจะมีอาการไอแบบมีเสมหะเรื้อรังหนักมาก ถึงขนาดที่บางรายอาจมีอาการไอเป็นเลือดร่วมด้วย ยิ่งไปกว่านั้น โรคหลอดลมอักเสบถือเป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ด้วยการรักษาไปตามอาการ พร้อมทั้งปรับสภาพของร่างกายให้สมดุล และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้หลอดลมระคายเคือง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้แข็งแรงเพื่อจะได้ไม่เป็นหวัดง่าย เพราะจะทำให้หลอดลมอักเสบได้ง่าย ไม่เช่นนั้นเชื้อต่าง ๆ อาจจะลามไปที่ปอด จนเป็นโรคปอดอักเสบหรือถุงลมโป่งพองได้
6. ภาวะติดเชื้อเรื้อรังบริเวณคอ (Chronic infectious pharyngitis)
หากมีเสมหะอยู่ในลำคอเป็นเวลานานเกินปกติ เราขอแนะนำให้รีบไปตรวจบริเวณลำคอโดยด่วน เพราะคุณอาจมีอาการติดเชื้อเรื้อรัง ทั้งจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อซิฟิลิส หรือเชื้อวัณโรคได้ โดยเชื้อเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ลำคอของเราแล้ว จะไปทำให้เกิดอาการอักเสบ พอคออักเสบมาก ๆ ก็จะไปกระตุ้นให้ต่อมสร้างเสมหะทำงานมากขึ้น จนส่งผลให้เรามีเสมหะเรื้อรังในที่สุด ส่วนการรักษาโรคนี้ส่วนมากจะใช้การประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ดื่มน้ำมาก ๆ กินยาแก้ปวด กินยาต้านเชื้อรา หรือกินยาปฏิชีวนะในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรีย
7. ภาวะระคายเคืองหรือบาดเจ็บเรื้อรังบริเวณลำคอ (Chronic irritative and/or traumatic pharyngitis)
อีกหนึ่งสาเหตุยอดฮิตที่ทำให้ผู้คนมากมายมีอาการเสมหะเรื้อรัง ก็มาจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ไอหนัก อาเจียนบ่อย มีแผลในลำคอ อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศเย็นมาก รวมถึงได้รับสารเคมีและมลพิษ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้เรามีอาการระคายเคืองหรือบาดเจ็บเรื้อรังบริเวณลำคอ และจะไปกระตุ้นต่อมสร้างเสมหะในคอ ทำให้ผลิตเสมหะออกมามากกว่าปกติ ซึ่งหากอยากทราบสาเหตุที่แน่ชัดก็ต้องให้แพทย์หู คอ จมูก ตรวจวินิจฉัยค่ะ
8. โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease : GERD)
โรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยมักจะมีกรดจากหลอดอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่คอหอย ซึ่งจะกระตุ้นต่อมสร้างเสมหะในลำคอให้ทำงานมากขึ้น จึงทำให้มีเสมหะในลำคอตลอดเวลาได้ ยิ่งไปกว่านั้น กรดไหลย้อนที่ไหลขึ้นมาที่คอ ยังสามารถทำให้เยื่อบุลำคออักเสบ จนทำให้กลไกในการกำจัดเสมหะของเยื่อบุลำคอผิดปกติไป ส่งผลให้มีเสมหะค้างอยู่บริเวณลำคอ ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองจนต้องกระแอมไอ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร หรือช่วงที่กำลังจะล้มตัวลงนอน
นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง (Laryngopharyngeal reflux) กรดไหลย้อนที่ออกไปนอกหลอดอาหาร อาจไปถึงเยื่อบุจมูกทางด้านบน และกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในโพรงจมูกให้ทำงานมากขึ้น ทำให้มีน้ำมูกหรือมีเสมหะไหลลงคอได้ด้วยนะคะ ฉะนั้นอาการเสมหะเรื้อรังที่หลาย ๆ คนเป็นแล้วไม่หายสักที ก็อาจส่อถึงโรคนี้อยู่ก็เป็นได้ ซึ่งถ้าอยากกำจัดเสมหะที่เกิดจากกรดไหลย้อน ก็ต้องรักษาโรคกรดไหลย้อนให้หาย ด้วยการปรับพฤติกรรมตัวเองตามนี้ค่ะ
- โรคกรดไหลย้อน–โรคกระเพาะ ความเหมือนที่แตกต่าง
- โรคกรดไหลย้อนห้ามกินอะไร ไม่อยากลำบากกายต้องเลี่ยง !
9. โรคแพ้อาหาร (Food allergy)
รู้หรือไม่ว่าการแพ้อาหารก็ทำให้เกิดเสมหะได้ เพราะเมื่อเรารับประทานอาหารที่แพ้เข้าไป อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุลำคอ กระตุ้นให้ต่อมสร้างเสมหะมากขึ้นได้ โดยเฉพาะอาการแพ้อาหารประเภทผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม (โยเกิร์ต) ชีส ไข่ ข้าว นมถั่วเหลือง ปลากะตัก อะโวคาโด เห็ด รวมไปถึงอาหารประเภทอบแห้งหรืออาหารปิ้งย่าง ซึ่งอาจมีสารฮีสตามีน หรือสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้แฝงอยู่ ฉะนั้นใครที่มีเสมหะอยู่ในลำคอตลอดเวลา โดยไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย ลองสำรวจตัวเองดูก็ได้ค่ะว่าเราจะมีเสมหะมากผิดปกติหลังรับประทานอาหารประเภทไหน ซึ่งนั่นอาจสันนิษฐานได้ว่าเรามีอาการแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ อยู่ก็เป็นได้ ทว่าหากเสมหะในลำคอไม่ยอมหายสักที เคสนี้คงต้องแนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
- อาการแพ้อาหาร อันตรายถึงตาย ใช่แค่เรื่องเล่น ๆ
ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้มีเสมหะในลำคอตลอดเวลา !
นอกจากนี้พฤติกรรมที่ใช้เสียงผิดวิธี เช่น พฤติกรรรมอ้าปากพูดมาก ๆ ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เรามีเสมหะในลำคอตลอดเวลา เนื่องจากเมื่อเราอ้าปากพูดมาก ๆ ร่างกายจะปรับให้เราหายใจทั้งทางจมูกและปาก ส่งผลให้อากาศมีโอกาสผ่านเข้าสู่ลำคอเรามากขึ้น และทำให้ลำคอเกิดภาวะแห้งและเย็น จนร่างกายต้องปรับตัวเพื่อให้ลำคอมีความชุ่มชื้น ด้วยการสร้างเสมหะมากขึ้น ส่งผลให้เรามีเสมหะในลำคอได้
วิธีแก้เสมหะ ขจัดปัญหาน่ารำคาญของลำคอ
การจะกำจัดเสมหะให้หมดไป ต้องรักษาโรคต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้วให้หาย แต่นอกเหนือจาก 9 โรคนั้น จริง ๆ เสมหะยังสามารถเกิดขึ้นได้จากไข้หวัด ซึ่งมาพร้อมอาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหล หรือบางคนอาจมีอาการไอ ปวดศีรษะ เป็นไข้ร่วมด้วย แต่โดยปกติแล้วอาการเสมหะที่เกิดขึ้นจากสาเหตุนี้จะหายไปภายในไม่กี่วัน และไม่ได้เป็นเรื้อรัง ซึ่งเราสามารถกำจัดเสมหะจากอาการหวัดให้หายไปได้เร็วขึ้นด้วยการใช้ยาละลายเสมหะ หรือใช้วิธีต่อไปนี้ค่ะ
- สมุนไพรแก้ไอ ขจัดเสมหะ ของดีใกล้ตัว ในครัวก็หาได้
- 9 อาหารช่วยลดน้ำมูก กำจัดเสมหะ แก้หวัดได้ในตัว
- 8 วิธีกำจัดเสมหะ เคลียร์กันจะจะให้หายใจสะดวกขึ้น
ต้องขอย้ำอีกครั้งว่า เสมหะที่บอกโรคได้ หรือบ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงโรคต่าง ๆ ในเบื้องต้น ต้องเป็นอาการมีเสมหะเรื้อรัง หรือมีเสมหะติดต่อกันนานเกิน 3 สัปดาห์เป็นต้นไป ฉะนั้นใครที่เพิ่งจะมีเสมหะ ก็ไม่ต้องกังวลมากไป เพราะอาจจะเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา ไปพบหมอสักหน่อยก็สามารถรักษาให้หายได้ง่าย ๆ แล้ว นอกจากนี้ ก่อนจะไปพบหมอ เราอาจลองสังเกตอาการเบื้องต้นของตัวเองดูก่อนก็ได้ว่าเสมหะของเรามีสีอะไร เพื่อวินิจฉัยตัวเองได้ในเบื้องต้น และจะได้แจ้งให้หมอทราบ เพื่อการรักษาได้ตรงจุดค่ะ
- สีเสมหะบอกโรคได้ รู้ไว้เป็นสัญญาณเตือน
ขอบคุณข้อมูลจาก : หมอชาวบ้าน, สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิก แห่งประเทศไทย, livestrong