1. การระคายเคืองในลำคอ
2. โรคจมูกอักเสบทั้งจากภูมิแพ้และไม่ใช่ภูมิแพ้
สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวคือโรคนี้ ก็มักจะมีอาการไอ จาม มีน้ำมูกบ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเจอสิ่งระคายเคือง หรือแค่อากาศเปลี่ยนก็มีอาการได้ ซึ่งน้ำมูกอาจไหลลงคอแล้วกลายเป็นเสมหะในภายหลัง ยิ่งในตอนกลางคืนที่เรานอน ร่างกายไม่ได้ดื่มน้ำ กระบวนการขับเสมหะไม่ได้ทำงานตามปกติ เช้ามาก็อาจเจอกับเสมหะสีเหลือง ๆ ในลำคอตั้งแต่ตื่นนอนเลยก็ได้
โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ไอ จาม บ่อยเพราะแพ้อากาศ ดูแลตัวเองยังไงดี
3. ไซนัสอักเสบ
ไซนัสอักเสบเป็นอีกโรคที่ผู้ป่วยมักจะมีน้ำมูกเป็นจำนวนมากจนอาจไหลลงคอและกลายเป็นเสมหะในลำคอได้ และอาจพบว่าเสมหะมีสีเขียวหรือเหลือง ร่วมกับอาการระคายคอ โดยเฉพาะช่วงที่ล้มตัวลงนอนหรือตื่นนอน จะรู้สึกว่าเสมหะในลำคอมีมากจนต้องกระแอมไอบ่อย ๆ ต่างจากช่วงระหว่างวันที่จะไม่ค่อยมีเสมหะมากนัก
4. โรคกรดไหลย้อน
กรดจากหลอดอาหารที่ไหลย้อนไปยังคอหอยจะกระตุ้นให้ต่อมสร้างน้ำมูกผลิตน้ำมูกมากขึ้น และกรดดังกล่าวอาจทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุลำคอ ทำให้กลไกในการกำจัดเสมหะของเยื่อบุลำคอผิดปกติไป ดังนั้นหากอาการกรดไหลย้อนกำเริบในช่วงเย็นไปจนถึงค่ำ ก็เป็นไปได้ที่น้ำมูกจะไหลลงคอและกลายเป็นเสมหะค้างอยู่ในลำคอไปจนถึงตอนตื่นนอน
5. โรคหอบหืด
ไม่ใช่แค่มีเสมหะหลังตื่นนอนเท่านั้น แต่คนเป็นหอบหืดอาจมีเสมหะในลำคอตลอดเวลาเลยก็ได้ เพราะเป็นโรคที่เยื่อบุหลอดลมมีอาการอักเสบเรื้อรัง ทำให้ไวต่อสิ่งเร้า ร่างกายผลิตน้ำมูกและเสมหะได้มากกว่าปกติ นอกจากนี้ยังมีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อยร่วมด้วย
6. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
7. การติดเชื้อเรื้อรังบริเวณลำคอ
ไม่ว่าจะเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อซิฟิลิส หรือเชื้อวัณโรค หากร่างกายมีการติดเชื้อดังกล่าวแบบเรื้อรัง อาจทำให้มีน้ำมูกและเสมหะในลำคอมาก และอาจรู้สึกว่ามีเสมหะในลำคอตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าเลยทีเดียว
แน่นอนว่าเสมหะในลำคอเป็นอะไรที่น่ารำคาญมาก ยิ่งตื่นมาแล้วเจอเสมหะค้างอยู่ในลำคอก็คงเป็นเช้าที่ไม่สดใสเท่าไร ดังนั้นเรามาหาวิธีกำจัดเสมหะกันดีกว่า
มาทำให้เช้าวันใหม่สดใสไร้เสมหะในลำคอกัน ตามวิธีกำจัดเสมหะ ดังนี้
1. ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดการระคายเคืองและช่วยละลายเสมหะ
2. ดื่มเครื่องดื่มช่วยกำจัดเสมหะ เช่น เครื่องดื่มอุ่น ๆ น้ำขิง น้ำสับปะรด น้ำผสมน้ำผึ้ง ชาคาโมมายล์ หรือชาพริกไทยดำผสมน้ำผึ้ง เป็นต้น
3. กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ โดยผสมเกลือ 1/4 ช้อนชา กับน้ำอุ่นแก้วใหญ่ จากนั้นนำมากลั้วคอเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียและละลายเสมหะ
4. หายใจเข้า-ออกลึก ๆ ติดกัน 5-7 ลมหายใจ เพื่อกระตุ้นให้เสมหะหลุดออกจากถุงลม
5. พยายามไอเพื่อขับเสมหะ
6. หากมีเสมหะมากและมีอาการหลายวัน สามารถรับประทานยาละลายเสมหะได้
ถ้ากำจัดเสมหะตามนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์หู คอ จมูก เพื่อตรวจร่างกายสักหน่อย หรือจะสังเกตอาการและดูแลตัวเองไปก่อนสัก 1 สัปดาห์ก็ได้
ถ้าดูจากสาเหตุที่ทำให้มีเสมหะหลังตื่นนอนจะเห็นได้ว่าเราสามารถหลีกเลี่ยงภาวะนี้ได้อยู่บ้าง เช่น
* หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองที่ทำให้เกิดเสมหะ
ไม่ว่าจะอากาศเย็น ฝุ่น กลิ่นฉุน บุหรี่ หรือหากแพ้ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ ก็ควรเลี่ยงให้ไกล และควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอนด้วย
* ไม่ควรกินมื้อเย็นจนอิ่มจัด
โดยเฉพาะคนที่มีอาการกรดไหลย้อนอยู่แล้ว ควรกินมื้อเย็นเบา ๆ และเว้นระยะเวลาระหว่างมื้อเย็นกับช่วงเวลานอนสัก 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ก็ควรหนุนหมอนสูงอย่างน้อย 6 นิ้วตอนนอนหลับด้วย
* หลีกเลี่ยงการหายใจทางปาก
ฝึกหายใจทางจมูกให้เป็นปกติ เพื่อลดความเสี่ยงลำคอขาดความชุ่มชื้นจนร่างกายต้องผลิตน้ำมูกออกมามากกว่าปกติ
* ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หมั่นออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายจะได้แข็งแรง ไม่ติดเชื้อหรือป่วยง่าย
* พบแพทย์
หากมีเสมหะตอนเช้าหลายวันไม่หาย หรือเป็นเกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุจะดีกว่า
อ้อ ! และหมั่นสังเกตสีเสมหะของตัวเองอยู่เสมอด้วยนะคะ เพราะสีเสมหะก็บอกโรคได้