ตับทำหน้าที่อะไร คำถามที่หลายคนสงสัย แต่ยังไม่เคยไปถึงคำตอบสักที ว่าจริง ๆ แล้วหน้าที่ของตับคืออะไร มีบทบาทแค่ไหนในร่างกายของเรา
ถ้าพูดถึงอวัยวะข้างในร่างกาย ตับถือว่าเป็นเครื่องในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญมาก ทว่าหลายคนก็ยังคงมองข้ามเครื่องในอย่างตับไป และไม่เคยรู้ว่าตับสำคัญอย่างไร ตับมีหน้าที่อะไรในร่างกายเรา จนกระทั่งเมื่อมีปัญหาสุขภาพอันเกี่ยวเนื่องมาจากตับนั่นแหละถึงเริ่มใส่ใจตับกันมากขึ้น ซึ่งก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น เรามารู้หน้าที่ของตับดีกว่าว่า ตับทำหน้าที่อะไร แล้วเราควรดูแลตับยังไงให้โรคภัยไม่ถามหา
หน้าที่ของตับ
การทำงานของตับค่อนข้างซับซ้อน และอย่างที่บอกว่าตับเป็นอวัยวะภายในที่สำคัญมาก ตับจึงแบกภาระหน้าที่ไว้เยอะ โดยจะอธิบายหน้าที่ของตับได้ดังนี้
1. ตับเป็นผู้สร้าง
อาหารทุกชนิดที่เรากินเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (แป้ง, น้ำตาล) ไขมัน โปรตีน วิตามิน ยา หรืออาหารใด ๆ ก็ตาม ร่างกายเราไม่สามารถดูดซึมสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้ทันที ต้องผ่านกระบวนการย่อยโดยกระเพาะและลำไส้เล็ก และหลังจากย่อยอาหารจนอยู่ในรูปอณูที่เล็กพอให้ร่างกายดูดซึมเข้าหลอดเลือดดำได้แล้ว ตับจะทำหน้าที่จัดเก็บสารอาหารต่าง ๆ ไว้ตามสมควร แล้วนำมาสร้างสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย เช่น สร้างโปรตีนอัลบูมิน (Albumin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยอุ้มน้ำและเกลือแร่เอาไว้ในหลอดเลือด นอกจากนี้ตับยังสร้างสารอื่น ๆ อีกมาก รวมไปถึงการสร้างโปรตีนที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดด้วย
2. ตับเป็นคลังสารอาหาร
ตับทำหน้าที่สะสมสารอาหารต่าง ๆ เอาไว้ใช้เมื่อร่างกายต้องการ เช่น เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นไกลโคเจน และเก็บไว้ในตับ และเมื่อร่างกายต้องการพลังงาน ตับก็จะดึงไกลโคเจนกลับมาเป็นกลูโคส จากนั้นก็ส่งต่อให้ร่างกายนำไปใช้เสริมการทำงานส่วนต่าง ๆ ต่อไป
นอกจากนี้ตับยังเก็บสารอาหารอย่างวิตามิน และสารอาหารจำเป็นต่อร่างกายชนิดอื่น ๆ ไว้ให้ร่างกายดึงไปใช้ในยามขาดแคลน หรือใช้ในการละลายไขมัน ช่วยให้ย่อยอาหารง่ายขึ้น
3. ตับมีหน้าที่สร้างเกลือน้ำดีและน้ำดี
เกลือน้ำดีและน้ำดีที่ถูกสร้างโดยตับจะคอยทำหน้าที่ละลายไขมัน จึงช่วยให้การย่อยอาหารสะดวกยิ่งขึ้น จากนั้นน้ำดีที่ถูกใช้ย่อยอาหารไปแล้ว จะโดนขับออกมาทางท่อน้ำดี ผ่านต่อมายังลำไส้เล็ก และถูกขับถ่ายมาพร้อมกับอุจจาระ
ทว่าหากมีการอุดกั้นทางท่อน้ำดีเกิดขึ้นในร่างกาย สารต่าง ๆ ที่ผ่านการย่อยจะเกิดการอุดตัน และตัวน้ำดีก็จะย้อนกลับเข้าเส้นเลือด ก่อให้เกิดภาวะดีซ่านได้
การทำงานของตับค่อนข้างซับซ้อน และอย่างที่บอกว่าตับเป็นอวัยวะภายในที่สำคัญมาก ตับจึงแบกภาระหน้าที่ไว้เยอะ โดยจะอธิบายหน้าที่ของตับได้ดังนี้
1. ตับเป็นผู้สร้าง
อาหารทุกชนิดที่เรากินเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (แป้ง, น้ำตาล) ไขมัน โปรตีน วิตามิน ยา หรืออาหารใด ๆ ก็ตาม ร่างกายเราไม่สามารถดูดซึมสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้ทันที ต้องผ่านกระบวนการย่อยโดยกระเพาะและลำไส้เล็ก และหลังจากย่อยอาหารจนอยู่ในรูปอณูที่เล็กพอให้ร่างกายดูดซึมเข้าหลอดเลือดดำได้แล้ว ตับจะทำหน้าที่จัดเก็บสารอาหารต่าง ๆ ไว้ตามสมควร แล้วนำมาสร้างสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย เช่น สร้างโปรตีนอัลบูมิน (Albumin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยอุ้มน้ำและเกลือแร่เอาไว้ในหลอดเลือด นอกจากนี้ตับยังสร้างสารอื่น ๆ อีกมาก รวมไปถึงการสร้างโปรตีนที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดด้วย
2. ตับเป็นคลังสารอาหาร
ตับทำหน้าที่สะสมสารอาหารต่าง ๆ เอาไว้ใช้เมื่อร่างกายต้องการ เช่น เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นไกลโคเจน และเก็บไว้ในตับ และเมื่อร่างกายต้องการพลังงาน ตับก็จะดึงไกลโคเจนกลับมาเป็นกลูโคส จากนั้นก็ส่งต่อให้ร่างกายนำไปใช้เสริมการทำงานส่วนต่าง ๆ ต่อไป
นอกจากนี้ตับยังเก็บสารอาหารอย่างวิตามิน และสารอาหารจำเป็นต่อร่างกายชนิดอื่น ๆ ไว้ให้ร่างกายดึงไปใช้ในยามขาดแคลน หรือใช้ในการละลายไขมัน ช่วยให้ย่อยอาหารง่ายขึ้น
3. ตับมีหน้าที่สร้างเกลือน้ำดีและน้ำดี
เกลือน้ำดีและน้ำดีที่ถูกสร้างโดยตับจะคอยทำหน้าที่ละลายไขมัน จึงช่วยให้การย่อยอาหารสะดวกยิ่งขึ้น จากนั้นน้ำดีที่ถูกใช้ย่อยอาหารไปแล้ว จะโดนขับออกมาทางท่อน้ำดี ผ่านต่อมายังลำไส้เล็ก และถูกขับถ่ายมาพร้อมกับอุจจาระ
ทว่าหากมีการอุดกั้นทางท่อน้ำดีเกิดขึ้นในร่างกาย สารต่าง ๆ ที่ผ่านการย่อยจะเกิดการอุดตัน และตัวน้ำดีก็จะย้อนกลับเข้าเส้นเลือด ก่อให้เกิดภาวะดีซ่านได้
4. ตับทำหน้าที่เป็นศูนย์รีไซเคิล
นอกจากตับจะคอยเก็บสะสมสารอาหารเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานป้อนให้ร่างกายแล้ว ตับยังมีหน้าที่ดึงเอาโปรตีนเก่า ๆ มาหมุนวนกลับไปใช้ได้ใหม่อีกด้วยนะ
5. ตับมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียและสารพิษต่าง ๆ
ทั้งยาหรือสมุนไพรชนิดใด ๆ ที่เรารับประทานเข้าไป ตับจะคอยกรองสารอาหารเก็บไว้ในร่างกาย ส่วนที่เป็นสารพิษต่อร่างกายตับจะพยายามขับออกไปทางปัสสาวะ หรือไม่ก็ขับถ่ายมากับน้ำดี
ทว่าหากรับประทานยาที่ไม่มีความจำเป็นต่อร่างกาย หรือแม้แต่อาหารเสริม และสมุนไพรบางชนิด ตับก็อาจจะไม่รู้ประโยชน์ของสมุนไพรและยาเหล่านี้ จึงมีความเสี่ยงที่ตับจะเปลี่ยนสารจากยา อาหารเสริม และสมุนไพร เป็นสารพิษที่อันตรายต่อร่างกาย ก่อให้เกิดโรคตับอักเสบในภายหลัง
6. ตับเป็นเกราะกำบังชั้นดีของร่างกาย
ตับไม่เพียงแต่ช่วยขับสารพิษจากอาหารที่เรากินเข้าไปเท่านั้น แต่ตับยังคอยทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันและทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในร่างกาย ถือว่าเป็นเกราะกำบังที่สำคัญของร่างกายเลยทีเดียว
ทั้งนี้หน้าที่ของตับยังช่วยร่างกายสร้างโปรตีนวิตามิน วิตามินเอ และคอยเก็บธาตุเหล็กที่เกิดจากการที่เม็ดเลือดถูกทำลายอีกด้วยนะคะ
การตรวจการทำงานของตับ
เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย เราจึงสังเกตการทำงานของตับได้ยาก โดยเฉพาะหากเกิดความผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ ร่างกายอาจไม่รู้สึกหรือไม่สามารถจับความผิดปกตินั้นได้เลย ดังนั้นการเช็กความเป็นไปของตับจึงต้องอาศัยการสืบซักประวัติ เช่น ดื่มสุราหรือเปล่า กินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ไหม หรือประวัติการกินยาเป็นอย่างไร รวมไปถึงการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับร่วมด้วย
นอกจากนี้อาจสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เห็นได้ชัด เช่น อ่อนเพลียง่าย เบื่ออาหาร ตาเหลือง ตัวเหลือง ตัวบวม ท้องมาน หรือภาวะเลือดออกผิดปกติ เป็นต้น หรือแพทย์อาจใช้วิธีตรวจทางรังสีวิทยา หรือตรวจจากชิ้นเนื้อเพื่อประเมินสาเหตุของโรค และระยะของโรคที่เป็นอยู่ก็เป็นไปได้
ถ้าตับทำงานผิดปกติ จะก่อให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง
หากตับทำงานผิดปกติ อาจก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับตับได้ดังนี้
- ตับแข็ง
- โรคตับอักเสบ
- ดีซ่าน
- โรคมะเร็งตับ
การดูแลสุขภาพตับ
คงพอรู้กันมาบ้างว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตับเกิดความผิดปกติ และอย่างที่บอกกันไปว่าเหล่าอาหารเสริมหรือแม้แต่สมุนไพรบางชนิดก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อตับเท่าที่คิดด้วยเช่นกัน
ดังนั้นงดไปเลยกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะรับประทานอาหารเสริมหรือสมุนไพรใด ๆ รวมทั้งอย่าลืมดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย พร้อมทั้งหมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอเสมอ หรือถ้าจะให้ดีอาจจะลองรับประทานอาหารบำรุงตับด้วยก็ได้
คราวนี้ก็ได้รู้กันแล้วว่าตับมีหน้าที่อะไร มีความสำคัญยังไงกับร่างกายของเรา ซึ่งก็เชื่อว่าข้อมูลข้างต้นน่าจะทำให้เรารัก และดูแลตับกันมากขึ้นนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
, มูลนิธิตับแห่งประเทศไทย