1. เนื้อสัตว์
คีโตสามารถกินเนื้อสัตว์ทุกชนิดได้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ ปลา กุ้ง ปลาหมึก อาหารทะเล เบคอน ก็กินได้หมด เพราะไขมันจากสัตว์เป็นไขมันอิ่มตัวจากธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่ง แต่ควรระวังเนื้อสัตว์แปรรูปที่ผสมแป้ง
* หมายเหตุ: ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม และสลับกินไขมันจากหลายแหล่งควบคู่กันไป
2. ไข่
ไข่เป็นอาหารที่หากินง่าย และเปี่ยมไปด้วยสารอาหารที่ดี ดังนั้น กินไข่ต้ม ไข่ลวก ได้ตามสบายเลยค่ะ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรกินไข่เกินวันละ 6 ฟอง เพราะถึงแม้จะไม่เกิดโทษต่อร่างกาย แต่การกินไข่มากขนาดนั้นอาจทำให้เราไม่สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ยังเป็นการตัดโอกาสในการรับสารอาหารจากแหล่งอื่น แถมยังได้รับคอเลสเตอรอลจากไข่แดงมากเกินไปด้วย
3. ปลาที่มีกรดไขมัน
4. น้ำมันต่าง ๆ
น้ำมันในที่นี้ก็คือน้ำมันหมู หรือไขมันจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมันอะโวคาโด หรือน้ำมันงาก็ได้
* หมายเหตุ : ใช้น้ำมันในการทำกับข้าว ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม และสลับกินไขมันจากหลายแหล่งควบคู่กันไป
5. เนย ชีส
เนย ครีมชีส ชีส เชดดาร์ชีส มอสซาเรลล่า รับประทานได้ แต่ยกเว้นเนยเทียม มาร์การีน
6. ถั่ว และธัญพืชชนิดต่าง ๆ
เมล็ดเจีย เมล็ดฟักทอง งา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วเมล็ดเดี่ยว อย่างแมคคาเดเมีย อัลมอนด์ วอลนัท พิสตาชิโอ เหล่านี้ก็เป็นแหล่งไขมันชนิดดี กินเป็นของว่างระหว่างวันได้เลย แต่อย่ากินเพลิน เดี๋ยวคาร์บจะเยอะเกินไป
- ถั่ว 5 สี ธัญพืชประโยชน์ดี ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
- เมล็ดเจีย ธัญพืชมากประโยชน์ ขุมทรัพย์แห่งสุขภาพ
- เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ของดีน่าปลื้ม ดาษดื่นด้วยคุณค่าทางอาหาร
7. ผักใบเขียว
8. มะเขือเทศ
มะเขือเทศก็จัดเป็นผัก Low-carb อีกชนิดที่อุดมไปด้วยสารอาหารมีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่สำคัญก็อย่างที่รู้ ๆ ว่ามะเขือเทศมีสรรพคุณบำรุงผิวพรรณได้ด้วย
9. หอมใหญ่
10. อะโวคาโด
อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่มีกรดไขมันชนิดดีค่อนข้างสูง และยังมีไฟเบอร์ รวมทั้งสารอาหารอีกหลากหลายเลยทีเดียว
11. เส้นบุก เส้นแก้ว
อาหารประเภทข้าวและเส้นที่กินได้ จะเป็นจำพวกเส้นบุก เส้นแก้ว หรือข้าวกะหล่ำ ข้าวบุก ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ผลิตจากคาร์บแบบจัดเต็ม
12. นมอัลมอนด์
ถ้าอยากดื่มนม ก็สามารถดื่มนมอัลมอนด์ได้ แต่ควรเลือกดื่มนมอัลมอนด์แท้ ๆ ที่ไม่ผสมนมวัว หรือนมถั่วเหลือง
13. ดาร์กช็อกโกแลต
หากอยากกินของว่างระหว่างมื้อ ดาร์กช็อกโกแลตก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
14. กรีกโยเกิร์ต
เช็กลิสต์เครื่องดื่มคีโตจากด้านล่างนี้ได้เลย
- กาแฟดำ
- กาแฟใส่กะทิ
- กาแฟใส่เนย
- กาแฟใส่วิปครีม (แทนนม)
- ชาไม่ใส่น้ำตาลและนม
- โซดา
- น้ำมะนาว
- น้ำด่าง (น้ำเปล่าผสมมะนาวหรือเลมอน)
- น้ำแร่
- นมอัลมอนด์ ไม่เติมน้ำตาล
- กะทิ / น้ำมะพร้าว
- น้ำส้มสายชูข้าว
- น้ำส้มสายชู
- ซอสทาบัสโก (Tabasco)
- วาซาบิแท้
- น้ำปลา
- ซีอิ๊วขาว
- ซอสพริก
- ผงโกโก้ปราศจากน้ำตาล
- ผงคาเคา (Cacao)
- มายองเนส
- น้ำซุปกระดูก
- มัสตาร์ด
- น้ำสลัด
- หญ้าหวาน / อิริทริทอล / น้ำตาลหล่อฮั้งก้วย
- วิปครีม
- ครีมชีส
อาหารคีโตควรเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ และน้ำตาลน้อย เพราะต้องจำกัดการรับคาร์โบไฮเดรตประมาณ 20-50 กรัมต่อวัน ซึ่งก็มีคร่าว ๆ ดังนี้
- ข้าวและแป้งต่าง ๆ
- ข้าวบาร์เลย์
- ข้าวสาลี
- ข้าวไรย์
- ข้าวโพด
- ข้าวโอ๊ต
- พาสต้า
- มักกะโรนี
- เส้นสปาเกตตี
- เส้นก๋วยเตี๋ยว
- ขนมจีน
- พิซซ่า
- ขนมปัง
- เค้ก
- คุกกี้
- เบเกอรี่ทุกชนิด
- ผักประเภทหัวใต้ดินต่าง ๆ เช่น มันฝรั่ง เผือก มันเทศ มันหวาน แครอต ฟักทอง เป็นต้น
- ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วลิสง เพราะคาร์บเยอะ
- ผลไม้ทุกชนิด ยกเว้นอะโวคาโด เนื้อมะพร้าว มะนาว เลมอน มะกอก และผลไม้ตระกูลเบอร์รี (จำกัดปริมาณ)
- ส่องปริมาณน้ำตาลในผลไม้แต่ละชนิด
- เนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม ลูกชิ้น หมูยอ เป็นต้น เพราะมีแป้งเป็นส่วนผสม
- ไขมันทรานส์ จากครีมเทียม เนยเทียม มาร์การีน ชีสเหลว ชีสแผ่น
- เครื่องดื่มที่มีนมวัวเป็นส่วนประกอบ เพราะนมวัวมีแลคโตส และคาร์โบไฮเดรตสูง
- น้ำผลไม้ รวมทั้งผลไม้ดอง แช่อิ่มทุกชนิด เพราะมีน้ำตาลสูง
- น้ำผึ้ง
- มิโซะ (เพราะทำจากถั่วเหลือง)
- ผงชูรส รวมทั้งอาหารที่ใส่ผงชูรส เช่น น้ำจิ้มต่าง ๆ
- น้ำอัดลมทุกชนิด แม้แต่ Diet Drinks
- เวย์โปรตีน เพราะอาจมีส่วนประกอบของน้ำตาล หรือสารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลที่อาจกระตุ้นอินซูลิน
- อาหาร Low fat
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- 8 สูตรอาหารคีโต ทั้งคาวหวาน ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล สำหรับคนอยากหุ่นดี
- เค้กวานิลลาคีโต ทำง่าย ๆ ด้วยหม้อทอดไร้น้ำมัน-อบลมร้อน
- พุดดิ้งมะพร้าวคั่ว สูตรขนมคีโต อร่อยเด้งดึ๋งทำง่าย
- เค้กครีมมะนาว สูตรคีโต เปรี้ยวอมหวานสดชื่นแบบไร้แป้งและน้ำตาล
- สตรอว์เบอร์รีโยเกิร์ตมูสเค้ก สูตรคีโต ไม่ใส่น้ำตาล ไม่ง้อเตาอบ
การกินคีโตไม่ได้ช่วยในการลดน้ำหนักเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวทางการกินของผู้ป่วยโรคลมชัก โรคเบาหวาน และการรักษาสุขภาพแบบอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ดี การกินคีโตไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางชนิด นอกจากนี้ หากใครจะกินคีโตควรกินแค่เพียงชั่วคราว เพราะในระยะยาวก็มีผลข้างเคียงที่ต้องระวังเหมือนกัน ดังนั้น แนะนำให้ศึกษาให้ดี ๆ ก่อนจะกินคีโตนะคะ
Ketogenic Diet สูตรลดน้ำหนักแบบโลว์คาร์บ ดีจริงไหม มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง ?
กรมอนามัย
โรงพยาบาลสมิติเวช
thaiketopa
ชีวจิต
รามา ชาแนล
รามา ชาแนล
มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย
healthline