อย่างไรดี
คนที่ยังไม่ได้ฉีดทั้งวัคซีนโควิด และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถวางแผนการฉีดได้ดังนี้
ถ้าฉีดซิโนแวค โดยวันที่จองคิวฉีดไว้ ไม่เกิน 1 เดือนนับจากนี้ : ให้ฉีดวัคซีนซิโนแวคก่อนให้ครบ 2 เข็ม แล้วรออีก 1 เดือน ค่อยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
ถ้าฉีดซิโนแวค โดยวันที่จองคิวฉีดไว้ เกิน 1 เดือนนับจากนี้ : สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก่อนได้ แล้วค่อยไปฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ตามนัด
ถ้าฉีดแอสตร้าเซนเนก้า : เลือกได้ 2 วิธี คือ
1. ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก่อน แล้วเว้นระยะอีก 1 เดือน ค่อยฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ตามนัด
2. ฉีดแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 1 ก่อน แล้วเว้นระยะ 1 เดือน จึงไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จากนั้นค่อยไปฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 2 ตามนัด
ทั้งนี้ เนื่องจากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จะฉีดเข็มที่ 1 ห่างจากเข็มที่ 2 ประมาณ 10-12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน จึงมีช่วงระยะเวลาระหว่างรอเข็มที่ 2 ให้เราสามารถแทรกฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้
คนที่ฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่ 1 ไปแล้ว
ถ้าฉีดซิโนแวค เข็มที่ 1 แล้ว : ให้ฉีดวัคซีนโควิดซิโนแวคให้ครบ 2 เข็มก่อน แล้วเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เดือน ค่อยไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพราะวัคซีนซิโนแวคจะมีระยะเวลาฉีดเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ห่างกันประมาณ 2-4 สัปดาห์ คือ 1 เดือนเท่านั้น จึงต้องฉีดให้ครบทั้ง 2 เข็มก่อน จากนั้นค่อยฉีดวัคซีนชนิดอื่น
ถ้าฉีดแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 1 แล้ว : ให้รออีก 1 เดือน ค่อยไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แล้วค่อยไปฉีดแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 2 ตามนัด
คนที่ฉีดวัคซีนโควิด ครบทั้ง 2 เข็มแล้ว
การฉีดวัคซีนโควิดและวัคซีนไข้หวัดใหญ่
แบบที่ 1 เลือกฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก่อนวัคซีนโควิด
สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก่อนได้เลย แล้วค่อยไปฉีดวัคซีนโควิด เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ตามนัดหมาย
แบบที่ 2 ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ระหว่าง วัคซีนโควิด (เฉพาะผู้ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเท่านั้น)
โดยให้ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 1 ก่อน แล้วรอ 1 เดือน จึงค่อยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
แบบที่ 3 ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หลังฉีดวัคซีนโควิด
ให้ฉีดวัคซีนโควิดครบ 2 เข็มก่อน แล้วรออีก 1 เดือน จึงไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ข้อดีของวิธีนี้คือจะง่ายต่อการจำ
หมายเหตุ :
- กลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ คือ เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ขวบ, ผู้พิการทางสมอง, ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง, ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป, หญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป, ผู้ที่มีน้ำหนัก 100 กก. ขึ้นไป หรือดัชนีมวลกายมากกว่า 35, ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, หืด, หัวใจ, หลอดเลือดสมอง, ไตวาย, ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน)
- กลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีดวัคซีนโควิด 19 คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเสี่ยง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และเบาหวาน
บทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนโควิด 19
- พาส่องราคาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2564 ของแต่ละโรงพยาบาล
- ไข้หวัดใหญ่ อาการใกล้ตัวที่ไม่ใช่เรื่องเล็ก ย้ำให้ชัดว่าต้องระวัง
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไขข้อสงสัยทุกคำถามที่อยากรู้
- ดูที่นี่ 3 วิธีลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด สำหรับคนวัยทำงาน ง่าย ๆ ผ่านหมอพร้อม
- ส่องขั้นตอน ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด 19 ผ่านแอปฯ หมอพร้อม อีกช่องทางนอกจากไลน์
- วัคซีนโควิดฉีดดีไหม คนมีโรคประจำตัวแบบไหน ใครฉีดได้-ไม่ได้
- ก่อนฉีดวัคซีนโควิดต้องเตรียมตัวอย่างไร ห้ามกินอะไรบ้าง
- เช็กให้พร้อม ! ต้องทำอะไรบ้างในวันนัดฉีดวัคซีนโควิด 19
- เช็กอาการหลังฉีดวัคซีนโควิด แบบไหนหายเองได้ หรืออันตรายต้องรีบหาหมอ !
- 12 วิธีดูแลตัวเองหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ห้ามกินอะไรบ้าง
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมควบคุมโรค, ทวิตเตอร์กรมควบคุมโรค, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ