ตรีผลา คืออะไร
ตรีผลา สรรพคุณดีอย่างไร
ตรีผลาเป็นการรวมกันของผลไม้ 3 ชนิด ซึ่งมีสรรพคุณดี ๆ ในตัวเอง ได้แก่
- สมอพิเภก : รสฝาด มีสรรพคุณขับเสมหะในลำคอ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคตา แก้ธาตุกำเริบ บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวง แก้ท้องร่วง ท้องเดิน และรักษาโรคท้องมาน
- สมอไทย : มีรสขมและร้อน แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้ลมป่วง แก้พิษร้อนภายใน และเป็นยาระบาย
- มะขามป้อม : อุดมไปด้วยวิตามินซี แก้อาการท้องเสีย แก้กระหาย แก้หวัด แก้ไอ แทนยาแก้ไอได้ ช่วยละลายเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคบิด ช่วยรักษาเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ
เมื่อนำผลไม้ทั้ง 3 ชนิด มารวมกันเป็นตำรับยาตรีผลา จึงเป็นยาสมุนไพรที่มีประโยชน์อนันต์ ดังนี้
1. ช่วยแก้ไข้ แก้หวัด ขับเสมหะ
2. ช่วยลดความร้อน รักษาสมดุลธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย
3. ล้างพิษ โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด และระบบน้ำเหลือง
4. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
5. เป็นยาระบายที่ช่วยให้ถ่ายและช่วยให้หยุดขับถ่ายอย่างรู้จังหวะเวลา เพราะมีสารแทนนินช่วยหยุดการระบาย ไม่ทำให้ร่างกายขับถ่ายจนรู้สึกเพลีย
6. แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย หรือมีการอุดตันของอุจจาระหรือปัสสาวะ
7. ช่วยให้ปัสสาวะใสและออกง่าย
8. แก้อาการลิ้นไม่รับรสอาหาร
นอกจากนี้ในตรีผลายังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ให้คุณประโยชน์ดี ๆ ต่อร่างกายอีกด้วย
ตรีผลา กับสรรพคุณจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เผยบทความวิชาการเกี่ยวกับสารสำคัญทางเภสัชวิทยาของพิกัดยาตรีผลา (การต้มตรีผลาแล้วสกัดเอาแต่น้ำมาใช้) ระบุว่าตรีผลามีสารกลุ่มฟีนอลิกและแทนนิน แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ
1. กรดเชบูลิกและสารกลุ่มอัลลาจิแทนนินชนิดที่มีกรดเชบูลิกในโครงสร้าง
2. สารกลุ่มอัลลาจิแทนนินชนิดที่ไม่มีกรดเชบูลิกในโครงสร้าง
3. กรดแกลลิกและสารกลุ่มแกลเลตเอสเตอร์
ซึ่งสารสำคัญเหล่านี้ในตรีผลา ทำให้ตรีผลามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ดีต่อสุขภาพ ดังนี้1. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
2. บรรเทาอาการท้องผูก
3. ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด
จากการศึกษาในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงที่รับประทานผงตรีผลาขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร นาน 4 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก พบว่า กลุ่มที่รับประทานผงตรีผลามีระดับคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL ลดลง ต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับตรีผลาอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
แต่ทั้งนี้กลุ่มที่ใช้ตรีผลาก็พบอาการข้างเคียงเล็กน้อย คือ มีอาการถ่ายอุจจาระเหลว ซึ่งสามารถหายได้เองหลังหยุดรับประทานตรีผลา ขณะที่ค่าเอนไซม์ในตับ (AST, ALT, ALP) การทำงานของไต และค่าโลหิตวิทยาของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน
4. ต้านแบคทีเรียและลดการอักเสบในช่องปาก
ผลการศึกษาในเด็กอายุ 8 ขวบ-12 ปี ที่ใช้น้ำยาบ้วนปากตรีผลา ความเข้มข้นร้อยละ 0.6 กับน้ำยาบ้วนปากจากสารละลายคลอเฮกซิดินความเข้มข้นร้อยละ 0.1 พบว่า น้ำยาบ้วนปากทั้งสองตัวมีผลลดคราบแบคทีเรียเกาะตัวที่ฟันไม่แตกต่างกัน แต่น้ำยาบ้วนปากตรีผลามีผลลดจำนวนแบคทีเรียในช่องปากได้ดีกว่า และการบ้วนปากด้วยสารละลายตรีผลาที่ความเข้มข้นร้อยละ 6 มีผลลดปริมาณเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส (Streptococcus) ในช่องปากเทียบเท่ากับการใช้สารละลายคลอเฮกซิดินที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.2 เลยทีเดียว
นอกจากสรรพคุณหลัก ๆ ตามตำรับยาสมุนไพรแล้ว ตรีผลาก็ยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่น่าสนใจไม่เบา ที่สำคัญกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ยังแนะนำให้ใช้ตรีผลาเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงในช่วงโควิด 19 ด้วย
ตรีผลา สรรพคุณดีอย่างไรในช่วงโควิด 19
ตำรับยาตรีผลา มีกี่สูตร อะไรบ้าง
1. สูตรพิกัดตรีผลา
- มะขามป้อม 1 ส่วน ( 200 กรัม)
- ลูกสมอพิเภก 1 ส่วน ( 200 กรัม)
- ลูกสมอไทย 1 ส่วน ( 200 กรัม)
- น้ำเปล่า 1 ลิตร
2. นำส่วนผสมทุกอย่างใส่หม้อ ยกขึ้นตั้งไฟให้เดือด ใช้เวลาต้ม 30 นาที
3. กรองเอามาแต่น้ำ
4. แต่งรสชาติด้วยหญ้าหวานหรือน้ำผึ้งเพียงเล็กน้อย
2. สูตรตำรับมหาพิกัดตรีผลา
- มะขามป้อม 12 ส่วน (ประมาณ 45 กรัม) โดยมะขามป้อมมีรสเปรี้ยว ฝาด ขม จะช่วยกัดเสมหะ ละลายเสมหะได้ดี
- ลูกสมอพิเภก 8 ส่วน (ประมาณ 30 กรัม) ช่วยเรื่องแก้ไข้ ตัวร้อน
- ลูกสมอไทย 4 ส่วน (ประมาณ 15 กรัม) แก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย สาเหตุจากวาตะ หรือลมผิดปกติ
- น้ำเปล่า 3 ลิตร
2. หากเป็นสมุนไพรแห้งให้แช่ในน้ำเปล่า 3 ลิตร ประมาณ 3 ชั่วโมง แต่หากเป็นสมุนไพรสด ให้เติมน้ำ 3 ลิตร
3. ยกขึ้นตั้งไฟให้เดือด ใช้เวลาต้ม 30 นาที
4. กรองเอามาแต่น้ำ
5. แต่งรสชาติด้วยเกลือ หญ้าหวานหรือน้ำผึ้งเพียงเล็กน้อย
3. สูตรน้ำตรีผลา ยาอายุวัฒนะ
- ผลมะขามป้อมแห้ง 100 กรัม
- ผลสมอไทยแห้ง 50 กรัม
- ผลสมอพิเภกแห้ง 30 กรัม
- น้ำสะอาด 3 ลิตร
- น้ำผึ้ง 30 มิลลิลิตร
- น้ำมะนาว 10 มิลลิลิตร
- เกลือ 1/8 ช้อนชา
1. นำสมุนไพรแห้งทั้ง 3 ชนิดมาต้มในน้ำสะอาด 3 ลิตร
2. ต้มเคี่ยวจนเหลือ 1 ลิตร จากนั้นกรองด้วยผ้าขาวบาง
3. พักให้หายร้อนสักครู่ แล้วปรุงรสด้วยเกลือ น้ำผึ้ง น้ำมะนาว เพียงเล็กน้อย
ตรีผลา กินแบบไหนดีกว่ากัน
ตรีผลา มีข้อห้ามหรือข้อควรระวังไหม
สมุนไพรไม่ว่าจะชนิดไหนก็ควรกินและใช้อย่างระมัดระวัง กับตรีผลาเองก็เช่นกัน ที่มีข้อห้ามและข้อควรระวัง ดังนี้
* ไม่ควรใช้ตรีผลาติดต่อกันนานเกิน 7-10 วัน โดยเฉพาะการกินในรูปแบบสารสกัด หรือตำรับยา เพราะอาจมีความเข้นข้นที่สูงเกินไป และอาจก่ออันตรายกับตับและไตได้
* สตรีในช่วงมีประจำเดือนควรงดรับประทานตรีผลา เพราะอาจจะทำให้ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
* ผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่ควรรับประทานตรีผลา รวมถึงผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานตรีผลาด้วย
บทความเกี่ยวกับสมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน
- 13 สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน ควรมีติดบ้านในช่วงโควิด 19
- วิธีกินฟ้าทะลายโจรเสริมภูมิคุ้มกันในช่วงโควิด 19 คนป่วย-ไม่ป่วย กินได้แค่ไหน
- วิธีกินกระชายขาว สำหรับคนติดโควิดหรือยังไม่ป่วย รู้ไว้ใช้ให้ปลอดภัย
- โกฐจุฬาลัมพา สมุนไพรยับยั้งโควิด 19 สรรพคุณดีอย่างไร รักษาโรคอะไรได้บ้าง
- ฟ้าทะลายโจร กระชายขาว กินคู่กันได้ไหม ไขข้อสงสัยเรื่องสมุนไพรรักษาโควิด
- กระชายขาว ต้านโควิด 19 ได้จริงไหม พร้อมสรรพคุณที่น่าสนใจ
- มะขามป้อม ผลไม้วิตามินซีสูงปรี๊ด ประโยชน์จี๊ดกว่าแก้ไอ !
- 12 ยาสมุนไพรดูแลตัวเองในเบื้องต้น เมื่อติดโควิดแล้วต้องรักษาตัวที่บ้าน Home isolation
ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์, กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, สถาบันการแพทย์แผนไทย, คลินิกยักษ์, เฟซบุ๊ก สมุนไพรอภัยภูเบศร, รายการโหนกระแส, Spring