ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่อะไร มีลักษณะอย่างไร มีบทบาทแค่ไหนในร่างกาย และจะดูแลอย่างไรให้แข็งแรง มีสุขภาพดีไม่เป็นโรค
ลําไส้ใหญ่ มีลักษณะอย่างไร
หลายคนสงสัยว่าลำไส้ใหญ่ย่อยอะไร แม้ว่าลำไส้ใหญ่จะอยู่ในระบบย่อยอาหาร แต่ลำไส้ใหญ่ไม่ได้มีหน้าที่ย่อยอาหารเลย ถ้าอยากทำความรู้จักกับลำไส้ใหญ่ให้มากขึ้นตามมาดูหน้าที่ของลำไส้ใหญ่กัน
1. รับกากอาหารที่ย่อยเสร็จแล้วจากลำไส้เล็กมากักเก็บไว้ที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายเป็นก้อนอุจจาระ เพื่อขับถ่ายออกจากร่างกาย2. ดูดซึมน้ำ วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำตาลกลูโคส ออกจากกากอาหาร กลับเข้าสู่ร่างกายผ่านกระแสเลือด
3. ผลักดันกากอาหารให้ไปสู่ไส้ตรง และสร้างน้ำเมือกจากผนังลำไส้ใหญ่ด้านในออกมาหล่อลื่น เพื่อให้ขับถ่ายสะดวก
4. เป็นที่อยู่ของแบคทีเรียหลายชนิดที่มีประโยชน์และไม่เกิดโทษ เช่น แบคทีเรียที่ช่วยสังเคราะห์วิตามินบีหลายชนิด วิตามินเค โพรไบโอติก เป็นต้น ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้มีประโยชน์มากมาย ทั้งช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่เกิดโทษ สร้างสมดุลของกรดและด่าง ช่วยดูดซึมสารอาหาร ดูดซึมคอเลสเตอรอล ช่วยย่อยอาหารบางประเภทที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ หรือย่อยได้ไม่หมด
ลำไส้ใหญ่อักเสบ
ลำไส้อักเสบ อาการแสดงหลัก ๆ คือ ท้องเสียหรือท้องร่วงร่วมกับปวดท้อง โดยอาการปวดท้องนั้นจะมีลักษณะแบบปวดบีบ ๆ รวมทั้งอาจมีลักษณะอุจจาระเหลว เป็นน้ำ เป็นมูกหรือเป็นมูกเลือด ถ่ายบ่อย 5-10 ครั้งต่อวัน หรือบางครั้งปวดแต่ถ่ายไม่ออก มีไข้สูงหรือไข้ต่ำ รู้สึกหนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนเพลีย
เช็กอาการลำไส้อักเสบ ถ่ายบ่อย ปวดท้องบิด มีสิทธิ์เป็นโรคนี้ ?
โรคลำไส้แปรปรวน
โรคลำไส้รั่ว
โรคลำไส้อุดตัน
เกิดจากมีสิ่งอุดตันการทำงานของลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนผ่านไม่ได้ ซึ่งอาจเกิดการอุดตันในลำไส้บางส่วนหรืออุดตันทั้งหมด มีได้หลายอาการขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่อุดตัน เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูกเป็นเวลานาน อุจจาระมีลักษณะลีบลง
ท้องอืด อึดอัด ไม่ถนัดขับถ่าย อาจเสี่ยงอุจจาระอุดตันในลำไส้ !
มะเร็งลำไส้ใหญ่
มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดผิดปกติ คลำก้อนได้บริเวณท้อง อุจจาระมีสีคล้ำ อาจมีมูกเลือดปะปนมากับอุจจาระ รวมถึงอาจขับถ่ายลำบาก มีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย หรือมีอาการถ่ายอุจจาระไม่สุด มักพบในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการระยะต่าง ๆ เป็นอย่างไร โรคร้ายจากไลฟ์สไตล์อันเร่งรีบ
เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับลำไส้ใหญ่ เราควรดูแลสุขภาพตัวเองตามนี้
1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ผัก ผลไม้ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายดี2. รับประทานโยเกิร์ตและนมเปรี้ยว เพื่อเพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้
3. หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ส่วนที่ไหม้เกรียมจากการปิ้ง ย่าง ทอด รมควัน เนื่องจากมีสารก่อมะเร็งไนโตรซามีน ซึ่งทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ รวมทั้งลดการรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารรสจัดเกินไป
4. เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน เพื่อลดการทำงานของระบบทางเดินอาหาร
5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะสามารถกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้ ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับน้อยเกินไปจะส่งผลให้จุลินทรีย์ในลำไส้ลดลง
7. พยายามลดความเครียดด้วยการหากิจกรรมที่ทำแล้วช่วยผ่อนคลาย เพราะความเครียดจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวผิดปกติ และเป็นสาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวนได้
8. งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสารเคมีและสารพิษที่ได้รับจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายส่งผ่านไปยังลำไส้ และก่อเกิดเป็นเซลล์มะเร็ง
9. ควรขับถ่ายในช่วงเวลา 05.00-07.00 น. ที่เป็นเวลาทำงานของลำไส้ใหญ่ ทำให้ของเสียและกากอาหารถูกขับได้ดีที่สุด หรือถ้าปกติเคยขับถ่ายเวลาไหนก็พยายามขับถ่ายเวลาเดิมให้ได้ทุกวัน แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องการขับถ่าย แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้อง 1-2 แก้ว หลังตื่นนอนทันที จะช่วยกระตุ้นลำไส้ให้ทำงานและขับถ่ายได้สะดวก
10. ควรตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือคนที่เคยมีประวัติหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือเคยตรวจพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่มาก่อน รวมทั้งคนที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง และคนที่สูบบุหรี่ คนที่ดื่มสุราเป็นประจำบทความที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ใหญ่
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการระยะต่าง ๆ เป็นอย่างไร โรคร้ายจากไลฟ์สไตล์อันเร่งรีบ
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แค่เปลี่ยนก็ลดความเสี่ยงได้
- ท้องอืด อึดอัด ไม่ถนัดขับถ่าย อาจเสี่ยงอุจจาระอุดตันในลำไส้ !
- ดีท็อกซ์ลำไส้ 7 สูตรควรใส่ให้กลายเป็นน้ำดีท็อกซ์
- 10 สูตรระบายท้องทำง่าย ช่วยถ่ายคล่อง แก้ท้องผูกได้อยู่หมัด !
- 3 สูตรแก้ท้องผูกด้วยของใกล้ตัว กินเป็นยาช่วยระบาย
- 9 ผลไม้ช่วยขับถ่าย หากินง่าย แก้ท้องผูกได้อยู่หมัด
- 10 เมนูอาหารไทยแก้ท้องผูก กินแล้วปลุกระบบขับถ่าย
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงพยาบาลเพชรเวช
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
โรงพยาบาลนครธน
วงการแพทย์
สสส.