ปวดหัวข้างซ้าย
เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง
1. ไมเกรน
2. ไซนัสอักเสบ
อาการปวดศีรษะจากไซนัสอาจพบได้ไม่บ่อยนัก และมักจะเกิดการสับสนระหว่างไมเกรนด้วยนะคะ เพราะบางคนก็มีอาการปวดหัวข้างเดียว แต่โดยส่วนใหญ่แล้วหากเป็นไซนัสอักเสบจะปวดศีรษะทั้งสองข้าง ร่วมกับอาการปวดกกหู ปวดกระบอกตา หรือปวดไปยันกราม และมีอาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหล ได้ด้วย
3. การติดเชื้อไวรัส
4. โรคปวดหัวข้างเดียวเรื้อรัง (Hemicrania continua)
5. โรคปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache)
6. โรคปวดศีรษะเรื้อรังจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อคอ (Cervicogenic headaches)
โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างของกระดูกสันหลังส่วนคอ ในส่วนของข้อต่อ หมอนรองกระดูก เอ็นยึดข้อต่อ กล้ามเนื้อ หรือเยื่อหุ้มไขสันหลังส่วนนอกของข้อต่อคอ โดยอาการของโรคจะค่อนข้างคล้ายกับโรคไมเกรน คือ ปวดศีรษะข้างเดียวกับข้างที่มีความผิดปกติ แต่มักจะเริ่มปวดท้ายทอย ปวดคอก่อน แล้วกระจายมาที่ศีรษะ ก่อนลามไปปวดกระบอกตา หน้าผาก ขมับ และอาการปวดจะเป็นเรื้อรังแบบเป็น ๆ หาย ๆ เป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงจนถึงทั้งวัน หรือปวดหัวตุ้บ ๆ ตลอดเวลา สลับกับปวดมาก ๆ ปวดจี๊ด ๆ ขึ้นมาในบางจังหวะเป็นเวลาสั้น ๆ อาการมักจะกำเริบขึ้นในขณะที่มีการเคลื่อนไหวของคอ หรืออยู่ท่าใดท่าหนึ่งที่ผิดปกติ รวมถึงการไอและจาม
7. ต้อหิน
8. เนื้องอกในสมอง
ถ้าอาการปวดหัวข้างซ้ายเป็นแบบเรื้อรังมานาน และมีอาการไม่สบายอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหัวจี๊ด ๆ ในระดับรุนแรงจนสะดุ้งตื่น ปวดหัวเป็นเวลา โดยเฉพาะตอนตื่นนอน แต่พอสาย ๆ อาการปวดจะทุเลาลง หรือจะรู้สึกปวดมากขึ้นตอนเอนตัวลงนอน ตอนไอ จาม ตอนเบ่งอุจจาระ และเริ่มมองเห็นภาพซ้อน มุมมองการมองเห็นผิดปกติไป เริ่มมองด้านข้างไม่ค่อยเห็น เริ่มเดินชนข้าวของ เดินสะดุดบ่อย หรือปวดหัวจนอาเจียน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายโดยด่วนนะคะ เพราะอาการเหล่านี้เข้าข่ายมีเนื้องอกในสมองได้
9. หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนท์ เซลล์ (Giant cell arteritis)
หรือเรียกสั้น ๆ ว่า GCA เป็นโรคหลอดเลือดอักเสบที่ผนังหลอดเลือด บริเวณแขนงหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (External carotid artery หรือหลอดเลือดเทมโพรัล : Temporal) ที่จะเห็นได้ชัดเวลาขบสันกราม หรือเป็นเส้นเลือดปูดตรงขมับของบางคนนั่นเอง โดยหลอดเลือดนี้เป็นหนึ่งในเส้นทางการลำเลียงเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและอวัยวะบนศีรษะและใบหน้านอกกะโหลก ซึ่งหากหลอดเลือดนี้อักเสบหรือเกิดความผิดปกติขึ้นมาก็จะแสดงอาการปวดศีรษะข้างใดข้างหนึ่งอย่างรุนแรงเฉียบพลัน ร่วมกับอาการปวดกราม ปวดลิ้น และเป็นอย่างเรื้อรัง แต่ที่สำคัญต้องตรวจพบค่าเลือด ESR (Erythrocyte Sedimentation Rate) หรือ CRP (C-Reactive Protein) ในระดับสูงด้วยนะคะ
นั่นหมายความว่าถ้าอยากรู้ชัดว่าอาการปวดหัวข้างซ้ายเข้าข่ายโรคนี้ไหม ควรไปตรวจร่างกายกับแพทย์จะดีที่สุด โดยเฉพาะหากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงป่วยโรคนี้ได้มากกว่าวัยอื่น
10. หลอดเลือดสมองโป่งพอง (Brain aneurysm)
หลอดเลือดสมองโป่งพอง หรือเส้นเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm) เป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของผนังหลอดเลือดสมอง ที่เกิดการโป่งพองคล้ายบอลลูนและแตกออกง่าย จากสาเหตุกระตุ้น เช่น โรคทางพันธุกรรมบางชนิด ผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน และการเสื่อมของเซลล์ร่างกายในผู้สูงวัย
ทั้งนี้ หลอดเลือดสมองโป่งพองมักจะเกิดในตำแหน่งฐานกะโหลกศีรษะ แต่ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ เว้นแต่กรณีที่หลอดเลือดสมองโป่งพองมีขนาดใหญ่จนทับเส้นประสาทข้างเคียงก็อาจมีอาการ เช่น ปวดร้าวบริเวณใบหน้า หนังตาตก หรือมองเห็นภาพซ้อน แต่หากเป็นกรณีที่หลอดเลือดสมองโป่งพองเกิดแตกขึ้นมาจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงและเฉียบพลัน โดยเฉพาะบริเวณต้นคอ และก้มคอไม่ได้ ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือบางรายอาจชักหมดสติ ไม่รู้สึกตัว และเสี่ยงเสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทันท่วงที
11. โรคหลอดเลือดสมอง หรือสโตรก
ปวดหัวข้างซ้าย
จากสาเหตุที่ไม่ใช่โรค
อาการปวดหัวข้างซ้ายอาจเกิดจากสาเหตุหรือปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคได้ด้วย เช่น
- การดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งกระตุ้นอาการปวดหัวได้
- ความเครียด
- การอดนอน หรือภาวะนอนไม่หลับ
- การอดอาหาร ซึ่งจะทำให้สมองขาดน้ำตาล และกระตุ้นอาการปวดหัวได้
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะช่วงก่อนเป็นประจำเดือน ฮอร์โมนจะสวิงจนส่งผลต่อระดับเซโรโทนินและสารสื่อประสาทอื่น ๆ ในร่างกาย ทำให้ผู้หญิงมีอาการปวดหัว รวมไปถึงอาการไม่สบายกายอื่น ๆ อย่างปวดท้อง ปวดหน่วง ๆ ที่อวัยวะเพศ หรือมีอาการหงุดหงิดได้
- อากาศที่ร้อนจนเกินไปอาจทำให้ปวดศีรษะได้
- ถูกกระตุ้นด้วยสภาพแวดล้อมบางอย่าง เช่น แสงจ้า เสียงดัง สภาพแวดล้อมที่วุ่นวาย ขวักไขว่ หรือภาพเคลื่อนไหวเร็ว ๆ รวมทั้งกลิ่นฉุน กลิ่นไหม้ ควันบุหรี่ ควันท่อไอเสีย
- การสวมใส่เครื่องประดับบนศีรษะ หรือสวมหมวกกันน็อกที่คับแน่นเป็นเวลานาน
- การใช้ยาบางชนิดเกินขนาด เช่น ยาแอสไพริน ยาพาราเซตามอล ยาไอบูโพรเฟน ยานาพรอกเซน หรือยาแก้ปวดไมเกรนบางชนิด เป็นต้น
- การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น ถั่ว ช็อกโกแลต อาหารหมักดอง เบเกอรี่ อาหารรมควัน อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส เป็นต้น อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้ในบางคน
- ภาวะความดันโลหิตสูง
ปวดหัวข้างซ้าย
วิธีแก้ทำยังไงได้บ้าง
หากมีอาการปวดหัวข้างซ้าย วิธีแก้ที่ทำได้ในเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการ ได้แก่
-
ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนสะดวกขึ้น
-
นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ
-
ประคบร้อนหรือประคบเย็นบริเวณศีรษะ ต้นคอ เพื่อบรรเทาอาการปวดเกร็ง
-
ผ่อนคลายร่างกาย อาจด้วยกลิ่นอโรมา การทำสปาเท้า การนวดผ่อนคลาย หรือนั่งสมาธิ อยู่นิ่ง ๆ ในพื้นที่อากาศโปร่ง ๆ ฝึกลมหายใจ หรือฟังเพลงที่ชอบ
-
สังเกตว่าตัวเองมีอาการปวดหัวตอนทำกิจกรรมอะไร เช่น ปวดหัวตอนเล่นมือถือ ดูทีวี ปวดหัวเมื่ออยู่ในที่อบอ้าว อากาศร้อน หรือเจอคนเยอะ ๆ ปวดหัวเมื่อเจอแสงจ้า ก็ควรพาตัวเองให้ห่างจากปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้
-
รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ตามขนาดที่เภสัชกรแนะนำ หรือตามน้ำหนักตัว
อย่างไรก็ดี หากอาการปวดหัวข้างซ้ายไม่ทุเลา แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสมนะคะ
ปวดหัวข้างซ้ายแบบไหน
ควรไปพบแพทย์
-
เห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว มุมมองการมองเห็นเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน
-
ตาแดง ปวดตา
-
มีไข้
-
เหงื่อออก
-
คลื่นไส้ อาเจียน
-
ชา อ่อนแรง โดยเฉพาะหากเป็นแค่ซีกเดียวของร่างกาย
-
อาการปวดหัวเกิดขึ้นโดยเฉียบพลัน และเกิดกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
-
อาการปวดหัวมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ปวดหัวสลับข้าง เปลี่ยนมาปวดทั่วศีรษะ หรือปวดจี๊ด ๆ ปวดตุ้บ ๆ ในจุดที่ไม่เคยปวดมาก่อน เป็นต้น
-
มีอาการปวดเมื่อขยับศีรษะ
-
คอแข็ง ก้มหน้าไม่ได้
-
มึนงง สับสน
-
อาการปวดหัวมีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะตอนไอ จาม เบ่งอุจจาระ หรือขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ
-
อาการปวดหัวข้างซ้ายเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
-
หมดสติ
ปวดหัวข้างซ้าย ป้องกันได้ไหม
อาการปวดหัวข้างซ้ายที่ไม่ได้เกิดจากโรคสามารถป้องกันได้ด้วยตัวเอง โดยทำตามนี้เลยค่ะ
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
-
อยู่ให้ไกลความเครียด
-
หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอาการปวดศีรษะ เช่น แสงที่จ้าเกินไป ภาพเคลื่อนไหวเร็ว ๆ อย่างการดูทีวี การจ้องจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือนาน ๆ รวมไปถึงอากาศที่ร้อนอบอ้าว และสภาพแวดล้อมที่วุ่นวาย
-
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
-
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-7 ชั่วโมง
-
หมั่นออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี
บทความที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหัว
- อาการปวดหัว 14 ชนิด รักษาแบบนี้สิถึงตรงจุด
- ปวดหัวแบบไหนผิดปกติ เช็กสักนิดแล้วรีบไปหาหมอ
- วิธีนวดรักษาไมเกรนด้วยตัวเอง แถมอาการปวดตา ตีนกา ก็หายด้วย !
- เนื้องอกในสมอง มะเร็งสมอง สังเกตได้จากอาการปวดหัวเรื้อรัง
- ก้มหน้าแล้วปวดหัว เวียนหัวเวลาหัน รู้ให้ทัน อาการนี้อาจไม่ปกติ
- นอนตอนเย็นแล้วปวดหัว เป็นเพราะอะไรกันนะ ?
- ดื่มน้ำเย็นแล้วปวดหัวจี๊ด เคสนี้อันตรายไหม แก้ยังไงให้รู้สึกสบายขึ้น