ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) คืออะไร
ภาวะสิ้นยินดี หรือ Anhedonia เป็นคำที่ใช้อธิบายภาวะของคนที่มีความสนใจต่อสิ่งที่คุ้นเคยลดลง มีความสนุกในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยทำลดลง อีกทั้งยังหาความสุข ความพอใจในชีวิตได้ยากขึ้น เรียกได้ว่าใช้ชีวิตอยู่กับความว่างเปล่าไปวัน ๆ โดยภาวะสิ้นยินดีจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ภาวะสิ้นยินดีทางสังคม (Social Anhedonia) ผู้ป่วยจะไม่อยากพบเจอ พูดคุย ไม่ได้ต้องการสร้างสัมพันธ์กับบุคคลใด
2. ภาวะสิ้นยินดีทางร่างกาย (Physical Anhedonia) ผู้ป่วยจะไม่มีความรู้สึกเพลิดเพลินกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ไปกินอาหาร ไปดูหนัง ก็ไม่ได้แฮปปี้เหมือนที่เคย
ทั้งนี้ ภาวะสิ้นยินดีเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง แต่ก็อาจเป็นหนึ่งในอาการของโรคทางจิตเวชอื่น ๆ หรือโรคเรื้อรัง เช่น พาร์กินสัน ได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าคนที่เป็นภาวะสิ้นยินดีจะต้องป่วยด้วยโรคจิตเวชกันทุกคนนะคะ เพราะมีเคสที่ไม่รู้สึกยินดียินร้าย แต่ก็ตรวจไม่พบโรคทางจิตเวชใด ๆ เช่นกัน
ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) เกิดจากสาเหตุอะไร
สาเหตุของภาวะสิ้นยินดี เกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น
- การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่เสียสมดุลไปจากเดิม และกระทบกับการหลั่งโดปามีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข
- โรคจิตเวชที่เป็นอยู่ก่อน เช่น โรคซึมเศร้า, โรคไบโพลาร์, โรคจิตเภท, อาการป่วยทางใจหลังเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง (โรค PTSD) หรือโรคกินผิดปกติ (Eating Disorder)
- โรคเรื้อรังทางสมองที่เจ็บป่วยมานาน เช่น โรคพาร์กินสัน หรือโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต
- การพบเจอเหตุการณ์ที่รุนแรง เช่น ถูกทำร้ายทางร่างกายหรือจิตใจ การถูกคุกคามทางเพศ
- คนที่ใช้ชีวิตด้วยความเคร่งเครียด มีความเครียดต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน
- การใช้สารเสพติดต่าง ๆ
ทั้งนี้ พันธุกรรมก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงของภาวะสิ้นยินดีให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่พ่อแม่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก็มีโอกาสที่ลูกจะประสบปัญหาสุขภาพจิตและนำไปสู่ภาวะสิ้นยินดีได้
ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) อาการเป็นอย่างไร
เช็กกันหน่อยว่าอาการแบบไหนเข้าข่ายภาวะสิ้นยินดี
- รู้สึกเฉย ๆ ต่อกิจกรรมที่ชอบ เช่น เคยชอบดูซีรีส์มาก แต่หลัง ๆ กลับไม่สนใจที่จะดูเลย หรือดูแล้วก็รู้สึกว่าไม่สนุกสักเรื่อง
- ไม่มีความรู้สึกตื่นเต้นที่จะไปเจอใคร ไม่อยากคุยกับเพื่อน ไม่อยากข้องเกี่ยวกับคนรอบข้าง ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียวเงียบ ๆ
- แสดงสีหน้า แสดงอารมณ์ได้น้อยลง ไม่มีอารมณ์ขัน มีแต่อารมณ์เบื่อ ๆ
- ไม่ค่อยมี Passion ในการท่องเที่ยว หรือทำกิจกรรมแฮงก์เอาต์อื่น ๆ ที่เคยสนุกกับมัน
- รู้สึกเฉย ๆ กับคนรักมากขึ้น พร้อมกับมีความต้องการทางเพศลดลง
- เริ่มคิดลบต่อตัวเองและสิ่งรอบตัว
- รู้สึกว่างเปล่า ไม่ทุกข์ แต่ก็ไม่สุข เน้นใช้ชีวิตให้ผ่านไปวัน ๆ
- บางครั้งก็รู้สึกสิ้นหวัง หมดกำลังใจ
- ไม่กลัวความตาย เริ่มคิดหรือมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง
ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) รักษาได้ไหม
ภาวะสิ้นยินดี (Anhedonia) ป้องกันได้ไหม
บทความที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิต
- รู้สึกเนือย ๆ ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร อาจเข้าข่ายภาวะ Languishing ที่หลายคนเป็นอยู่
- Sunday Blues อารมณ์หดหู่ในคืนวันอาทิตย์ เพราะพรุ่งนี้วันจันทร์อีกแล้ว !
- พารานอยด์ หรือคิดมากไปเอง มาเช็กอาการที่เป็น เข้าใจตัวเองให้มากขึ้น
- เช็กสัญญาณโรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) หัวร้อนง่าย อะไรก็ไม่ทันใจ เราป่วยอยู่ไหมนะ
- รู้จัก Erotomania ภาวะหลงผิดว่าเขารัก มโนว่าเป็นแฟนกัน ทั้งที่แค่คิดไปเอง
- แบบทดสอบโรคซึมเศร้า เช็กดูว่าเราเสี่ยงป่วยหรือไม่ ?
- โรคทางจิตเวช หรืออาการป่วยทางจิต มีอะไรบ้าง ทำไมคนยุคนี้ป่วยกันเยอะ ?