
วิตามินบำรุงไต มีอะไรบ้าง
1. วิตามินบี 9

2. วิตามินบี 12

ประโยชน์ของวิตามินบี 12 หรือโคลาบามิน คือ ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง กระตุ้นกระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง และช่วยดูแลการทำงานของไตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แหล่งอาหารของวิตามินบี 12 สามารถหาได้จากปลาทะเล, ไข่ไก่, เนื้อแดง, สาหร่าย, เทมเป้ เป็นต้น
อาหารที่มีวิตามินบี 12 สูง มีอะไรบ้าง เสริมวิตามินจากธรรมชาติด้วยอาหารอร่อย ๆ
3. วิตามินซี

วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องไตจากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ แหล่งอาหารที่ดีของวิตามินซี ได้แก่ ผลไม้ตระกูลส้ม, สตรอว์เบอร์รี, ฝรั่ง, กะหล่ำปลี, บรอกโคลี, ผักใบเขียว ทั้งนี้ เพื่อสุขภาพไตที่ดีแนะนำให้รับวิตามินซีจากอาหารนะคะ เพราะถ้ารับวิตามินซีในรูปแบบอาหารเสริมอาจจะเพิ่มความเสี่ยงนิ่วในไตได้
14 ผักวิตามินซีสูง เสริมภูมิคุ้มกัน ประโยชน์อนันต์จากของกินใกล้ตัว
4. วิตามินดี

วิตามินดีมีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป อีกทั้งยังช่วยควบคุมความสมดุลของธาตุ 2 ชนิดนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ให้มีแคลเซียมหรือฟอสฟอรัสในร่างกายมากเกินไปจนเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไตได้ โดยแหล่งที่มีวิตามินดีสูงคือแสงแดดในช่วง 06.00-09.00 น. และหลัง 16.00 น. หรือจากการรับประทานอาหาร เช่น ปลาชนิดต่าง ๆ, เห็ด, ไข่แดง, ซีเรียล รวมไปถึงนม
5. กรดไขมันโอเมก้า 3

โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพไต เนื่องด้วยมีสรรพคุณต้านการอักเสบ ช่วยปกป้องเซลล์ต่าง ๆ จากการถูกทำลาย และยังช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ดีต่อการไหลเวียนโลหิต ช่วยรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ จึงป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดในไต
ทั้งนี้ เราสามารถรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูง อย่างปลาทะเล, ปลาทู, ปลาสวาย, ปลาดุก, ปลาช่อน, ปลาทูน่า หรือปลาซาร์ดีน ได้เลย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The BMJ ด้วยว่า การรับประทานอาหารทะเลอย่างเพียงพออาจช่วยลดความเสี่ยงโรคไตเรื้อรังลงได้
บทความที่เกี่ยวข้องกับไต
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.), healthline.com, khccares.com, bmj.com