เราอาจจะรู้กันดีว่าถ้ากินอาหารรสเค็มมาก ๆ จะเสี่ยงเป็นโรคไต ทว่าอาหารที่กินแล้วช่วยบำรุงไตละมีอะไรบ้างเชื่อว่าหลายคนยังไม่เคยรู้มาก่อน ดังนั้นเพื่อสุขภาพไตและตัวเราเอง วันนี้กระปุกดอทคอมขอนำเสนออาหารบำรุงไต กินแล้วช่วย#saveไต ของเราให้อยู่ไปนาน ๆ
1. น้ำเปล่า

เราควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 6-8 แก้ว เพราะน้ำเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้อย่างราบรื่น เป็นตัวช่วยกรองสารพิษจากเลือดและขับสารพิษออกทางปัสสาวะ ทว่าหากมีอาการโรคไตอยู่แล้ว และมีอาการบวมน้ำ ควรบริโภคน้ำตามความเหมาะสม เช่น 3-4 แก้วต่อวัน เพราะความสามารถในการขับปัสสาวะของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะลดลง ซึ่งปริมาณน้ำที่ควรดื่มต่อวันก็ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้นะคะ
2. ปลาทะเล

3. อกไก่ไร้หนัง

การรับประทานโปรตีนคุณภาพดีจะช่วยให้ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีของเสียตกค้างในไตน้อย เป็นการช่วยลดภาระการทำงานให้ไต และถ้าพูดถึงโปรตีนคุณภาพดีต้องมีอกไก่ไร้หนังอยู่ในลิสต์นั้นด้วย โดยเนื้ออกไก่ล้วนอุดมไปด้วยโปรตีนลีน ๆ มีฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียมต่ำกว่าเนื้อไก่ติดหนัง และเป็นเนื้อสัตว์ไขมันต่ำด้วยนะ
4. ไข่ขาว

นอกจากอกไก่ที่มีโปรตีนคุณภาพดีแล้ว ไข่ขาวก็เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนอัลบูมิน ที่เป็นโปรตีนคุณภาพสูงเช่นกัน ร่างกายสามารถดูดซึมได้มากเกือบ 100% และยังย่อยง่าย ที่สำคัญในไข่ขาวมีฟอสฟอรัสน้อยกว่าไข่แดงมาก แถมยังเปี่ยมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุอื่น ๆ อีกมากมาย
5. ไขมันดี

ไขมันที่ดีต่อสุขภาพไต คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) ซึ่งหาได้จากน้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น เพราะไขมันชนิดดีเหล่านี้มีกรดไขมันโอเลอิก (Oleic) ที่มีสรรพคุณต้านการอักเสบต่าง ๆ และยังเป็นไขมันที่ปราศจากฟอสฟอรัส ผู้ป่วยโรคไตที่มีปริมาณฟอสฟอรัสในเลือดสูงก็รับประทานได้ในปริมาณที่เหมาะสม
6. ลูกเดือย

7. เห็ดชิตาเกะ

นอกจากอาหารเหล่านี้แล้ว ยังมีผัก-ผลไม้ที่ช่วยบำรุงไตอีกหลายชนิดที่อยากแนะนำ
1. กะหล่ำปลี

กะหล่ำปลีจัดเป็นผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ ไม่เพิ่มภาระให้ไต ทั้งยังมีกรดฟอลิก วิตามินซี ไฟเบอร์ พร้อมสรรพคุณช่วยขับสารพิษและกรดยูริกออกจากร่างกาย
2. บวบ

บวบเป็นผักที่มีไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำอยู่ในปริมาณมาก มีคุณสมบัติช่วยดักจับและเจือจางสารพิษตกค้างในร่างกาย ทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณและน้ำหนักอุจจาระ จึงกระตุ้นให้ร่างกายขับถ่ายของเสียได้เร็วขึ้น แก้ปัญหาท้องผูกได้อีกทาง
3. แตงกวา

ผักฉ่ำน้ำอย่างแตงกวาเป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามินที่หลากหลาย และยังเป็นผักที่มีไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำอยู่ในตัว ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติดักจับและกำจัดของเสียตกค้างในร่างกายเช่นกัน
4. กระเทียม

กระเทียมเป็นแหล่งที่ดีของแมงกานีส ซัลเฟอร์ วิตามินซี วิตามินบี 6 และยังจัดเป็นเครื่องเทศเพิ่มรสชาติอาหาร ช่วยให้อาหารอร่อย มีรสชาติเข้มข้นขึ้น ดังนั้นจึงช่วยลดการใส่เครื่องปรุงอาหารไปได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้กระเทียมยังมีสารอัลลิซิน สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา มีสรรพคุณลดความเสี่ยงโรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิต รวมทั้งช่วยลดการอักเสบต่าง ๆ
5. หอมหัวใหญ่

6. พริกหวาน

7. สับปะรด

สับปะรดเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานได้ และคนที่ยังไม่ป่วยโรคไต สับปะรดก็จะช่วยลดการอักเสบต่าง ๆ ได้ เพราะมีเอนไซม์บรอมีเลนที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ลดการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยป้องกันการเกิดนิ่ว อีกทั้งยังมีไฟเบอร์สูง มีวิตามินซีสูง และมีแมงกานีสด้วย
8. บลูเบอร์รี

9. แครนเบอร์รี

10. องุ่นแดง

องุ่นแดงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระชนิดฟลาโวนอยด์ มีวิตามินซีสูง จึงช่วยต้านการอักเสบ นอกจากนี้ในองุ่นแดงยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ ป้องกันโรคเบาหวาน และลดความเสี่ยงความจำเสื่อม
11. แอปเปิล

แอปเปิลเป็นผลไม้ที่มีเพกติน เส้นใยอาหารที่มีสรรพคุณเพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่าย และยังช่วยจับคอเลสเตอรอลไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ป้องกันโรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไต
12. เก๋ากี้ หรือโกจิเบอร์รี

ในตำรับยาโบราณตามศาสตร์แพทย์แผนจีนมีการกล่าวถึงเก๋ากี้ว่าช่วยบำรุงตับ ทำให้ไตชุ่มชื้น ช่วยบรรเทาอาการโรคเบาหวาน ดีต่อสุขภาพดวงตา นอกจากนี้ในโกจิเบอร์รีหรือเก๋ากี้ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยปรับสมดุลความดันโลหิต และสรรพคุณที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกเพียบ
โกจิเบอร์รี (เก๋ากี้) กินอย่างไร ลดน้ำหนักได้ไหม เช็กให้เคลียร์
บทความที่เกี่ยวข้องกับโรคไต
- อาหารผู้ป่วยโรคไต เลือกกินอะไรดี มีอะไรบ้างที่ควรระวัง
- ผลไม้ที่ผู้ป่วยโรคไตกินได้ โพแทสเซียมต่ำ ปลอดภัย อาการไตไม่กำเริบ
- ผักสำหรับผู้ป่วยโรคไต กินอะไรได้บ้าง ผักชนิดไหนควรเลี่ยง
- มะม่วงน้ำปลาหวานรสชาติอร่อยลิ้น กินเพลิน ๆ เสี่ยงไตวาย !
- โรคไต ป่วยแล้วยุ่ง มาเช็กสัญญาณโรคไตก่อนดีกว่า
- นิ่วในไต อาการไหนบอกชัด รู้จักปัจจัยเสี่ยงป่วย
- ไตวายเฉียบพลัน อาการแทรกซ้อนอันตราย รักษาไม่ทัน อาจถึงชีวิต !
- กรวยไตอักเสบ อาการนี้บอกชัด กลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ ยิ่งเสี่ยง !
- ปัสสาวะบอกโรค ลองสังเกตตัวเองดูสิ
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ
โรงพยาบาลราชวิถี
รามา แชนแนล
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
healthline.com
medicalnewstoday.com