ปรสิต คืออะไร
1. ปรสิตที่อาศัยในลำไส้ของมนุษย์หรือสัตว์
เช่น คริปโตสปอริเดียม (Cryptosporidium), ไกอาเดีย (Giardia), เชื้อบิดชนิดมีตัว (Entamoeba), ไมโครสปอริเดีย (Microsporidia), ไอโซสปอรา (Isospora) และปรสิตจำพวกหนอนพยาธิ อย่างพยาธิตืดหมู, พยาธิไส้เดือน, พยาธิตัวกลม, พยาธิใบไม้ เป็นต้น
โดยปรสิตกลุ่มนี้จะปนเปื้อนมากับอุจจาระของคนและสัตว์ ซึ่งอาจจะแพร่กระจายไปตามดิน แหล่งน้ำ หากคนรับประทานผักสดที่ล้างไม่สะอาด หรือดื่มน้ำที่กรองไม่สะอาด ปรสิตเหล่านี้ก็จะเข้าสู่ร่างกาย และก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ แก่โฮสต์ได้
2. ปรสิตที่อยู่ภายนอกร่างกาย
3. โปรโตซัวจำพวกอะมีบา
เช่น นีเกลอเรีย (Naegleria) และอะแคนทามีบา (Acanthamoeba) ซึ่งเป็นอะมีบาดำรงชีพอิสระ คือมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเองตามแหล่งธรรมชาติ เช่น แอ่งน้ำ ลำคลอง แต่หากเข้าสู่ร่างกายคนแล้วก็จะอาศัยคนเป็นโฮสต์และก่อโรคให้กับเราได้
ปรสิต ติดต่อผ่านทางไหนได้บ้าง
โรคที่เกิดจากปรสิตสามารถติดต่อได้หลายทาง โดยที่พบได้บ่อย คือ
-
การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน โดยเฉพาะอาหารสด ผักสด ผลไม้สดที่ล้างไม่สะอาด การดื่มน้ำจากแหล่งธรรมชาติที่ไม่ผ่านการกรอง รวมไปถึงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
-
ติดเชื้อทางผิวหนัง จากการสัมผัสดินหรือน้ำที่ปนเปื้อน เช่น การเดินเท้าเปล่าบนดิน หรือพื้นที่มีปรสิต การลงเล่นน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่สะอาด การสัมผัสน้ำที่ไม่สะอาดสาดขณะเล่นสงกรานต์ เป็นต้น
-
การถูกกัดโดยยุง เห็บ หมัด เหา ที่แฝงอยู่ในสัตว์ เช่น สุนัข แมว กระต่าย หมู วัว เป็นต้น
-
การสัมผัสสัตว์หรือคนที่มีปรสิตเกาะอยู่ เช่น เห็บ เหา หมัด เรือด ซึ่งสามารถกระโดดเข้ามาอาศัยในร่างกายมนุษย์ได้
-
การพลัดตกลงไปในแอ่งน้ำ โคลน บ่อ ที่มีน้ำไม่สะอาด และสำลักน้ำทางจมูก
อาการของโรคที่เกิดจากปรสิต
เป็นยังไง
อาการที่พบบ่อยของโรคที่เกิดจากปรสิต เช่น หิวบ่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสียบ่อย กินเยอะแต่น้ำหนักไม่ขึ้น หรือมีอาการทางผิวหนัง เป็นตุ่มนูน บวมแดง มีผื่นคันบริเวณที่โดนปรสิตกัด เช่น เห็บ ไรฝุ่น เหา
อย่างไรก็ตาม อาการของโรคปรสิตขึ้นอยู่กับชนิดของปรสิต แหล่งที่มา และวิธีการติดเชื้อ อย่างเชื้ออะมีบาก็ทำให้เกิดการอักเสบที่เยื่อหุ้มสมองได้ รวมไปถึงเชื้อโปรโตซัวบางชนิดที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย เป็นต้นโรคที่เกิดจากปรสิต มีอะไรบ้าง
1. โรคบิดอะมีบาในลำไส้ หรือโรคบิดมีตัว
2. ภาวะติดเชื้อไกอาเดีย (Giardia lamblia)
3. โรคพยาธิใบไม้ตับ
เป็นพยาธิที่พบมากในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมักจะได้รับปรสิตเข้าร่างกายผ่านการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะเนื้อปลาน้ำจืด ตระกูลปลาตะเพียน ปลาซิว ปลาสร้อย เป็นต้น เมื่อปรสิตเข้าสู่ร่างกาย จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในท่อน้ำดีในตับ
ส่วนอาการของโรคนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนพยาธิที่มีอยู่ในร่างกาย ถ้ามีพยาธิไม่มาก อาการก็จะไม่แสดงเด่นชัด แต่หากมีจำนวนพยาธิใบไม้ตับมาก จะมีอาการตัวเหลือง อาหารไม่ย่อย ตับโต เป็นต้น
4. โรคพยาธิไส้เดือน
5. พยาธิใบไม้ปอด
6. โรคพยาธิตัวจี๊ด
7. พยาธิตัวตืด
พยาธิตัวตืดที่พบได้บ่อยในประเทศไทย คือ พยาธิตัวตืดวัวและพยาธิตัวตืดหมู ซึ่งได้มาจากการกินเนื้อสัตว์ที่มีตัวอ่อนของพยาธิ (ลักษณะคล้ายเม็ดสาคู) แบบปรุงไม่สุก โดยเฉพาะเมนูลาบหมู ลาบวัว ก้อย แหนม ส้าเนื้อ และเมื่อพยาธิเข้าสู่ร่างกาย ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้เล็กของมนุษย์ ก่อให้เกิดอาการหิวบ่อย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
8. ไข้มาลาเรีย
ไข้มาลาเรีย หรือไข้ป่า-ไข้จับสั่น เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากปรสิตพลาสโมเดียม (Plasmodium) โดยมียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะนำโรค อาการของโรคนี้จะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หากมีอาการรุนแรงก็อาจจะมีภาวะซีด อ่อนเพลีย หายใจลำบาก ชัก หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้
9. โรคเท้าช้าง
อีกหนึ่งโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค โดยนำเอาปรสิตชนิดหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรียมาก่อโรคในระบบน้ำเหลืองของคน ทำให้น้ำเหลืองอุดตัน เกิดอาการบวมบริเวณขา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโต
10. โรคทริคิโนซิส (Trichinosis)
11. เหา
เหาเป็นแมลงในกลุ่มปรสิตที่อาศัยอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะบนหนังศีรษะ และสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้หากอยู่ใกล้ชิดกัน คนที่ติดเหาจะมีอาการคันในบริเวณที่เหาอาศัยอยู่ ซึ่งถ้าไม่รีบรักษาอาจเกิดอาการอักเสบตามมาได้
12. โลน
โลนก็คือเหาอีกชนิดหนึ่ง แต่ขึ้นตามอวัยวะเพศ โดยเกาะอยู่กับเส้นขนและดูดกินเลือดบริเวณหัวหน่าวหรือขาหนีบ ทำให้มีอาการคันอวัยวะเพศและมีตุ่มขึ้น สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และจากการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน การรักษาทำได้โดยโกนขนบริเวณที่โลนอาศัยอยู่ออกให้หมด
13. กระจกตาติดเชื้อไมโครสปอริเดีย
14. โรคพยาธิอะนิซาคิเอซิส (Anisakiasis)
15. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา
หรือที่เรียกว่า อะมีบากินสมอง เกิดจากเชื้ออะมีบาสายพันธุ์นีเกลอเรีย (Naegleria fowleri) ที่อยู่ในน้ำเข้าสู่ร่างกายทางจมูก จากการสำลักน้ำ ดำน้ำ ก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากการติดเชื้อ อะมีบาสายพันธุ์อะแคนทามีบา (Acanthamoeba) ที่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลต่าง ๆ ตามผิวหนัง รวมทั้งกระจกตา เยื่อบุตา เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็จะไปที่สมอง ส่งผลให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลันได้
อะมีบากินสมอง อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ รู้ตัวสายไปอาจตายเฉียบพลัน !
โรคที่เกิดจากปรสิต รักษาอย่างไร
วิธีป้องกันโรคที่เกิดจากปรสิต
เราสามารถป้องกันตัวเองจากโรคที่มีปรสิตเป็นพาหะได้ง่าย ๆ ดังนี้
-
รับประทานอาหารปรุงสุกด้วยความร้อนทั้งเนื้อสัตว์และผักต่าง ๆ
-
ดื่มน้ำที่สะอาด หากไม่แน่ใจกับการกรองน้ำ ควรดื่มน้ำต้มสุก
-
หมั่นล้างมือให้สะอาด โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร
-
ขับถ่ายในห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ
-
หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าบนพื้นหญ้าหรือพื้นดินต่าง ๆ
-
หากมีแผลบนร่างกาย ควรงดสัมผัสแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือแอ่งดินโคลนต่าง ๆ
-
หลีกเลี่ยงการสัมผัสคนหรือสัตว์ที่เป็นโรค รวมทั้งสัตว์ป่า
-
ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม แก้วน้ำ และหมั่นทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวอยู่เสมอ
-
รักษาสุขอนามัยของตัวเองและรอบ ๆ ที่อยู่อาศัย
บทความที่เกี่ยวข้องกับปรสิต
- ล้างตาด้วยน้ำประปา อันตรายไหม เสี่ยงเชื้อปรสิตขึ้นตา จริงหรือ ?
- รู้จักไวรัสเห็บ (SFTS) โรคที่ติดต่อจากคนสู่คนได้ !
- เปิดเหตุผลที่คนไทยไม่ควรบี้เห็บหมา ไม่ใช่เพราะยิ่งบี้ยิ่งแพร่พันธุ์ เข้าใจผิดมาตลอด
- รู้เรื่องพยาธิ อาการแบบไหนต้องสงสัยว่ามีพยาธิ ใช้ยาถ่ายพยาธิดีไหม ?
- พยาธิปอดหนู กินเมนูไหนเสี่ยงพลาดท่าพยาธิไชตา ทำตาบอดได้ !