เปิดลิสต์อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของตับอ่อน ฟื้นฟูการทำงานของตับอ่อนให้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด แค่ปรับการกินเล็ก ๆ น้อย ๆ
ส่วนหน้าที่ของตับอ่อนมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกเป็นอวัยวะที่สร้างน้ำย่อยให้ลำไส้เล็กย่อยอาหารที่เรากินเข้าไป แล้วนำสารอาหารที่ได้จากการย่อยมาเปลี่ยนเป็นสารอาหารที่เหมาะกับการใช้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ประการที่สองคือการสร้างอินซูลินเพื่อใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
อย่างไรก็ตาม หากเรามีพฤติกรรมกินอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย เช่น กินอาหารน้ำตาลสูง อาหารไขมันสูงมากเกินไป ตับอ่อนก็จะต้องทำงานหนัก และอาจเสื่อมสภาพได้ ซึ่งก็จะเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน จากการที่ร่างกายไม่สามารถจัดการกับอินซูลินได้ หรือโรคตับอักเสบ เป็นต้น ดังนั้นเราควรเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพตับอ่อน ลองมาดูกันว่าอาหารบำรุงตับอ่อนมีอะไรบ้าง
1. น้ำเปล่า
น้ำจะเข้าไปช่วยชะล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่นขึ้น ดังนั้นเราควรดื่มน้ำให้ได้ประมาณ 8 แก้วต่อวัน หรือไม่น้อยไปกว่า 1.5 ลิตรต่อวัน
2. ไขมันดี
ไขมันดีจากอาหารก็คือพวกกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ได้จากไข่ไก่ ปลา ถั่วชนิดต่าง ๆ และน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา รวมทั้งกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันจากเมล็ดพืชต่าง ๆ ปลาไขมันสูง และกรดไขมันโอเมก้า 6 ที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงตับ โดยสามารถหาโอเมก้า 6 ได้จากอะโวคาโด น้ำมันพืชแทบทุกชนิด แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรกินไขมันเกินวันละ 50 กรัม เพื่อให้ร่างกายสามารถใช้พลังงานจากไขมันที่เรากินเข้าไปได้หมด ไม่เหลือค้างจนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพได้
3. ผลไม้
โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลเบอร์รี เชอร์รี หรือผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง จัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย หรือจะเลือกกินผลไม้น้ำตาลต่ำในปริมาณเหมาะสมก็ได้ ไม่กระทบกับการหลั่งอินซูลินของร่างกายมากจนส่งผลเสียให้ตับอ่อน
4. ผักตระกูลกะหล่ำ
ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บรอกโคลี เป็นแหล่งที่ดีของสารอาหาร ไฟเบอร์ และในกะหล่ำยังมีกลูโคซิโนเลต (Glucosinolates) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านมะเร็งที่เกิดจากสารเคมีต่าง ๆ แต่ก็ควรจะเลือกรับประทานผักที่ปลอดสารพิษเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่รับเอาสารเคมีที่ตกค้างจากการปลูกเข้าสู่ร่างกาย
ประโยชน์กะหล่ำปลี ผักดีน่ารับประทาน กับคุณค่าทางโภชนาการอันยอดเยี่ยม
5. กระเทียม
งานวิจัยจาก National Cancer เผยว่า คนที่ชอบกินกระเทียมมีความเสี่ยงโรคมะเร็งตับอ่อนลดลงถึง 54% เพราะกระเทียมมีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง ช่วยป้องกันเซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย และบำรุงตับอ่อนไปในตัว อีกทั้งกระเทียมยังช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนสร้างอินซูลิน และลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ ดังนั้นพยายามกินกระเทียมสดวันละ 2 กลีบ หรืออย่างน้อยกินกระเทียมจากอาหารในแต่ละมื้อก็ยังดี
6. เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
7. ถั่ว
นอกจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์แล้ว เรายังกินโปรตีนจากพืช อย่างถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ถั่วหวาน ถั่วแระ ถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น
10 อาหารโปรตีนสูงที่ควรกินช่วงลดน้ำหนัก คุณค่าระดับท็อปของคนอยากผอม
8. วอลนัท
วอลนัทจัดเป็นถั่วชนิดหนึ่ง ที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ค่อนข้างสูง และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ สามารถกินเป็นของว่างระหว่างวันได้เพลิน ๆ เลย
9. นมอัลมอนด์
การดื่มนมอัลมอนด์จะช่วยให้เราได้กรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าการดื่มนมวัวทั่วไป และนอกจากนี้ยังได้สารต้านอนุมูลอิสระจากอัลมอนด์เพิ่มด้วย แต่เลือกชนิดที่น้ำตาลน้อย ๆ นะคะ
10. โยเกิร์ต
การศึกษาที่ถูกตีพิมพ์โดยสถาบัน National Cancer แนะนำว่า ร่างกายควรได้รับโยเกิร์ตไขมันต่ำในปริมาณ 3 เสิร์ฟต่อวัน เพราะโยเกิร์ตมีแบคทีเรียชนิดดีต่อร่างกาย ช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งตับอ่อน และมีส่วนปกป้องระบบการทำงานของลำไส้และตับอ่อนได้อีกทาง ทั้งนี้การกินเพื่อบำรุงตับอ่อนก็ควรเลือกกินโยเกิร์ตไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย อย่างกรีกโยเกิร์ต หรือโยเกิร์ตรสธรรมชาติ แบบ Low fat
10 โยเกิร์ตรสธรรมชาติไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย อร่อยไม่เกิน 100 แคล
11. โฮลเกรน
นอกจากอาหารที่ควรกินเพื่อบำรุงตับอ่อนแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำลายตับอ่อนดังต่อไปนี้ด้วย
- อาหารประเภททอด
- อาหารไขมันสูง รวมทั้งเนื้อสัตว์ติดมัน เนย
- อาหารรสจัด ทั้งหวานจัด เค็มจัด มันจัด
- อาหารที่มีน้ำตาลสูง ทั้งขนม และเครื่องดื่ม
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- ผลิตภัณฑ์นม (จำกัดปริมาณ) หากต้องการดื่มนมควรเลือกนมไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมัน
นอกจากนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารมื้อใหญ่จัดเต็ม เพราะการรับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ อาจเพิ่มภาระให้ตับอ่อนทำงานหนักเกินความจำเป็นได้ ดังนั้นพยายามกินแต่พออิ่ม หรือแบ่งกินอาหารมื้อเล็ก ๆ วันละ 5-6 มื้อ เป็นต้น
การดูแลสุขภาพตับอ่อนจริง ๆ แล้วไม่ยากเลย เพียงหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากเนื้อสัตว์ และลดการบริโภคน้ำตาล ไม่ให้มากเกินปริมาณที่ร่างกายนำไปใช้งาน หรือง่าย ๆ ก็คือควบคุมน้ำหนักของตัวเองให้ไม่เกินมาตรฐาน ไม่ให้มีภาวะไขมันในเลือดสูง หรือน้ำตาลในเลือดสูง รวมไปถึงหมั่นออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มการเผาผลาญไขมันและน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ก็ลดความเสี่ยงสุขภาพไปได้หลายต่อหลายอย่างแล้ว
เช็ก 12 โรคตับที่พบได้บ่อย เครื่องในที่ป่วยเล็กน้อย ก็ไม่น่าไว้ใจ
มูลนิธิหมอชาวบ้าน, Stanford Health Care, Healthline, verywellhealth, medicalnewstoday, doctor.ndtv, draxe, medium