วิ้ง ๆ ฟู่ ๆ เสียงดังในหูเหมือนเสียงลม เสียงจิ้งหรีดร้อง ที่นอกจากจะสร้างความรำคาญแล้ว ยังทำให้กังวลด้วยว่าเสียงดังในหูอันตรายหรือไม่
บางครั้งก็มีเสียงดังในหูวิ้ง ๆ หรือเสียงวี้ดในหูดังมาก ยิ่งตอนดึก ๆ หรืออยู่ในที่เงียบ ๆ ก็จะยิ่งได้ยินเสียงในหูอย่างชัดเจน เอ๊ะ...นี่เราเป็นอะไร แล้วอาการเสียงดังในหูอันตรายไหม ใครมีเสียงวิ้งในหู หรือบางทีมีอาการเวียนหัวร่วมด้วย วิธีแก้หูอื้อจากเสียงเหล่านี้ต้องทำอย่างไร มาไขคำตอบกันค่ะว่าเสียงดังในหูเกิดจากอะไร รักษาหายไหมเนี่ย
เสียงดังในหู เสียงวิ้ง ๆ ฟู่ ๆ ในหูคืออะไร
เสียงดังในหูจัดเป็นความผิดปกติทางหูอย่างหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีอาการได้ยินเสียงวิ้งในหู หรือได้ยินเสียงตึก ๆ หึ่ง ๆ ในหูก็มี โดยอาจได้ยินเสียงในหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ นอกจากนี้ในบางคนยังมีเสียงดังในหูพร้อมด้วยอาการอื่น ๆ อย่างหูอื้อ หูหนวก ปวดหู เวียนศีรษะ หรือบ้านหมุนร่วมด้วย
ทั้งนี้อาการเสียงดังในหูจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เสียงดังในหูแบบที่ผู้ป่วยได้ยินเพียงคนเดียว หรือเสียงดังในหูแบบที่ผู้อื่นได้ยินด้วย ซึ่งกรณีหลังมักเป็นเสียงที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ทั้งหลอดแดงใหญ่, หลอดเลือดดำ บริเวณสมองและคอ
เสียงดังในหูเกิดจากอะไร
อาการเสียงดังในหูมีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน โดยสามารถแบ่งสาเหตุได้ตามลักษณะเสียงที่ได้ยิน ดังนี้
- เสียงวิ้ง ๆ ในหู คล้ายจิ้งหรีดร้อง
บางคนมีอาการเสียงวิ้ง ๆ ในหู เหมือนเสียงจิ้งหรีดร้องอยู่ตลอดเวลา หรือได้ยินเสียงวี้ดในหูเมื่ออยู่ในที่มีเสียงดังและมีคลื่นความถี่เสียงสูง โดยอาการเสียงวิ้ง ๆ ในหูมักจะเกิดจากความเสื่อมของหูชั้นในตามอายุขัย หรือเกิดจากการได้ยินเสียงดังมาก ๆ เป็นเวลานาน เช่น เสียงประทัด เสียงระเบิด เสียงดนตรีที่ดังมาก ๆ หากได้ยินต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเกิดเสียงวิ้ง ๆ ในหูและอาจสูญเสียการได้ยินชั่วคราวด้วย
- เสียงลมในหู
เสียงลมในหูลักษณะเหมือนเสียงฟู่ ๆ ฟิ้ว ๆ ในหู เกิดจากการทำงานของท่อปรับความดันหูผิดปกติ
- เสียงอื้อในหู
ในกรณีที่ได้ยินเสียงอื้อในหู หรือเสียงหึ่ง ๆ ในหู อาจเกิดจากภาวะหินปูนเกาะที่ฐานกระดูกโกลน ซึ่งอยู่บริเวณหูชั้นกลาง
- เสียงก้องในหู
เสียงดังก้องในหู หรือได้ยินเสียงสะท้อนในหู เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากการสั่นของขี้หูที่อยู่ใกล้แก้วหู เมื่อมีการรับเสียงจากภายนอกเข้ามา
- เสียงดังในหู เวียนหัว บ้านหมุน
อาการเสียงดังหึ่ง ๆ อื้อ ๆ ในหู ร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน และได้ยินเสียงภายนอกลดลง มักเกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
- เสียงคลิกในหู
อาการเสียงดังหึ่ง ๆ อื้อ ๆ ในหู ร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน และได้ยินเสียงภายนอกลดลง มักเกิดจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
- เสียงคลิกในหู
เสียงติ๊ก ๆ หรือเสียงคลิกในหู อาจเกิดจากการหดเกร็งของเอ็นยึดกระดูกโกลนของหูชั้นกลาง
- เสียงฟู่ในหู
- เสียงฟู่ในหู
เสียงฟู่ในหูที่ดังตามจังหวะชีพจรเต้นและอาจได้ยินเสียงนี้เป็นพัก ๆ อาจเกิดจากการที่หลอดเลือดดำใหญ่อยู่สูงและใกล้กับกระดูกกกหู ซึ่งเมื่อลองกดกระดูกกกหู เสียงดังในหูจะเงียบไป
- เสียงตุบ ๆ ในหู
หากได้ยินเสียงตุบ ๆ ดังในหูตามจังหวะชีพจร อาจเป็นเพราะหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอตีบ จากภาวะที่มีคราบไขมันเกาะผนังหลอดเลือด ทั้งนี้ยังเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะผิดปกติของไทรอยด์ หรือภาวะซีดที่ส่งผลให้หัวใจมีการบีบตัวแรงขึ้น
- เสียงตุบ ๆ ในหู
หากได้ยินเสียงตุบ ๆ ดังในหูตามจังหวะชีพจร อาจเป็นเพราะหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอตีบ จากภาวะที่มีคราบไขมันเกาะผนังหลอดเลือด ทั้งนี้ยังเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะผิดปกติของไทรอยด์ หรือภาวะซีดที่ส่งผลให้หัวใจมีการบีบตัวแรงขึ้น
เสียงดังในหู บอกโรคได้
นอกจากเสียงดังในหูจะเกิดจากสาเหตุที่ได้กล่าวไปแล้ว อาการเสียงดังในหูยังอาจเป็นผลจากภาวะผิดปกติของร่างกาย หรือเกิดจากผลพวงของโรคต่าง ๆ ดังนี้
- ภาวะขี้หูอุดตัน
- เยื่อแก้วหูทะลุ
- หูอักเสบ
- เนื้องอกหูชั้นนอก
- น้ำขังในหูชั้นกลาง
- ประสาทหูเสื่อม
- การติดเชื้อในหูชั้นใน
- โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
- การบาดเจ็บของกะโหลกศีรษะซึ่งมีผลต่อหูชั้นใน
- โรคเนื้องอกในหูชั้นนอก
- ภาวะรูรั่วในหูชั้นกลางหรือหูชั้นใน
- โรคเส้นเลือดในสมองตีบ
- ภาวะเลือดออกในสมอง
- ไขมันในเลือดสูง
- เนื้องอกในสมอง
- เนื้องอกของเส้นประสาทหู
- โรคโลหิตจาง
- โรคแพ้ภูมิตัวเอง
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- โรคเกล็ดเลือดสูงผิดปกติ
- ภาวะระดับยูริกในเลือดสูง
- โรคไต
- โรคเบาหวาน
- ความดันโลหิตต่ำ
- ความดันโลหิตสูง
- ไทรอยด์
เสียงดังในหูไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้ามได้เลย เพราะอาจบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้หลายโรคเลยนะคะ คราวนี้ลองมาดูกันว่า เสียงดังในหู รักษาได้ไหม
เสียงดังในหู รักษาได้ไหม
หากมีอาการเสียงดังในหู แพทย์จะทำการวินิจฉัยและตรวจดูความผิดปกติในหู หรือหากไม่เจอความผิดปกติที่หูก็อาจตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจการได้ยิน ตรวจคลื่นสมองและเอกซเรย์ เป็นต้น
ส่วนการรักษาอาการเสียงดังในหู สามารถรักษาได้ด้วยการรักษาตามสาเหตุนั้น เช่น การทำความสะอาดเพื่อเอาขี้หูออก ใช้ยาบำรุงประสาทหู ยาลดความไวของประสาทหู ยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น ยาคลายกังวล ยานอนหลับ หรือในบางกรณีการผ่าตัดก็ช่วยได้ แต่ในกรณีที่อาการเสียงดังในหูเกิดจากประสาทหูเสื่อม เส้นประสาทหู หรือความผิดปกติของหูชั้นใน อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้นะคะ
เสียงดังในหู จัดการยังไงดี
หากตรวจกับแพทย์แล้วพบว่า เสียงดังในหูที่เป็นอยู่ไม่ได้อันตรายต่อสุขภาพ เพียงแต่สร้างความรำคาญให้เท่านั้น เราก็มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติตามเพื่อบรรเทาอาการเสียงดังในหู ตามนี้เลยค่ะ
1. เปิดเพลงเบา ๆ ก่อนนอน เพื่อกลบเสียงดังในหู
2. หลีกเลี่ยงเสียงดัง
3. ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี
4. ระมัดระวังตัวเองจากอุบัติเหตุที่อาจกระทบกระเทือนต่อประสาทหู
5. ดูแลสุขภาพให้ดีเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่หูหรือทางเดินหายใจส่วนบน
6. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดอาหารเค็ม เครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นระบบประสาท เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เป็นต้น
7. ไม่ควรสูบบุหรี่
8. หมั่นออกกำลังกาย
9. พักผ่อนให้เพียงพอ
จะเห็นได้ว่า อาการเสียงดังในหูเราสามารถป้องกันได้ ด้วยการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงอุบัติเหตุ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ หรือการฟังเพลง ฟังเสียงเกมในระดับความดังที่สูงมากเกินพอดี ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อเสียงวิ้ง ๆ ในหูได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
สสส.
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรงพยาบาลบางปะกอก 9
1. เปิดเพลงเบา ๆ ก่อนนอน เพื่อกลบเสียงดังในหู
2. หลีกเลี่ยงเสียงดัง
3. ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี
4. ระมัดระวังตัวเองจากอุบัติเหตุที่อาจกระทบกระเทือนต่อประสาทหู
5. ดูแลสุขภาพให้ดีเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่หูหรือทางเดินหายใจส่วนบน
6. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดอาหารเค็ม เครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นระบบประสาท เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เป็นต้น
7. ไม่ควรสูบบุหรี่
8. หมั่นออกกำลังกาย
9. พักผ่อนให้เพียงพอ
จะเห็นได้ว่า อาการเสียงดังในหูเราสามารถป้องกันได้ ด้วยการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงอุบัติเหตุ รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ หรือการฟังเพลง ฟังเสียงเกมในระดับความดังที่สูงมากเกินพอดี ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อเสียงวิ้ง ๆ ในหูได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
สสส.
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรงพยาบาลบางปะกอก 9