ตรวจ ATK ไม่พบเชื้อ แต่มีอาการป่วย แบบนี้ติดโควิดหรือไม่ ควรทำยังไงต่อ

มีอาการไม่สบายคล้าย ๆ โควิด 19 แต่ตรวจ ATK แล้วเป็นลบ ไม่ติดชัวร์ไหม

         เมื่อมีอาการไม่สบายคล้ายหวัด หรือเจ็บคอ ไอ จาม ช่วงนี้เชื่อว่าทุกคนจะหาชุดตรวจ ATK มาคัดกรองตัวเองก่อนเบื้องต้น ทว่าตรวจไปกี่อัน ผล ATK ก็เป็นลบ แต่อาการป่วยก็ยังไม่หายดี แบบนี้ ATK ให้ผลลวง หรือเราไม่ติดโควิด 19 แล้วจริง ๆ ลองมาหาความเป็นไปได้กัน พร้อมเช็กให้แน่ใจกรณีนี้ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ต้องตรวจ RT-PCR ไหม หรือต้องกักตัวกี่วัน

ตรวจ ATK ผลเป็นลบ แต่มีอาการ เป็นเพราะอะไร

ตรวจ ATK เป็นลบ

         เหตุผลที่เรามีอาการป่วย แต่ตรวจ ATK แล้วเป็นลบ อาจเกิดจากสาเหตุนี้

1. ไม่ได้ติดโควิด 19 แต่อาจป่วยด้วยโรคอื่น ๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ภูมิแพ้อากาศ หรือไข้เลือดออก
 

อาการโอมิครอน VS ภูมิแพ้อากาศ ต่างกันยังไง รีบเช็กป่วยอะไรกันแน่

2. ติดโควิดแล้ว แต่ตรวจ ATK เป็นลบ อาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้

  • เพิ่งได้รับเชื้อมาใหม่ ๆ และปริมาณเชื้อยังต่ำ กำลังรอฟักตัว อย่างสายพันธุ์โอมิครอนจะใช้เวลาประมาณ 5-14 วัน จึงจะตรวจพบได้ ดังนั้นถ้าเพิ่งสัมผัสคนติดโควิดมา 1-2 วัน แล้วมาตรวจ ATK เลย อาจจะยังไม่เจอเชื้อ สอดคล้องกับที่ รศ. นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า การตรวจ ATK นั้น กว่าจะเป็นผลบวกต้องมีปริมาณไวรัสสูงถึงระดับหนึ่ง ซึ่งสูงกว่า RT-PCR 10 เท่า ดังนั้นแม้จะติดเชื้อแล้ว แต่อาจตรวจ ATK ได้ผลลบ

  • อาจติดเชื้อโควิด 19 มาสักพัก และร่างกายจัดการเชื้อได้ในระดับหนึ่งแล้ว ทำให้เชื้อหลงเหลืออยู่น้อย ซึ่งอาจตรวจ ATK แล้วผลเป็นลบได้

  • อาจตรวจ ATK ผิดวิธี เช่น แหย่จมูกไม่ถูกต้อง เป็นต้น

  • ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ไม่อ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด หรือปริมาณตัวอย่างที่หยดไม่เป็นไปตามที่กำหนด
     

ตรวจ ATK วันไหนถึงได้ผลแม่นยำ หลังใกล้ชิดคนติดโควิด มาเช็กให้ชัวร์ !

ผล ATK เป็นลบ แต่คิดว่าติดแน่ ๆ ต้องทำอย่างไร

ตรวจ ATK เป็นลบ

          สำหรับคนที่รู้ตัวว่าเสี่ยง แถมมีอาการ ทว่าตรวจ ATK แล้วเป็นลบตลอด แนวทางปฏิบัติตัวให้ทำตามนี้

  • แยกกักตัวทันที หากอยู่ร่วมกับคนอื่นควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา แยกห้องน้ำและของใช้

  • รอตรวจ ATK ในวันที่ 5 และวันที่ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อมา

  • ถ้าต้องการความแน่ชัดว่าติดเชื้อจริงหรือไม่ อาจจะต้องไปตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ซ้ำที่โรงพยาบาลอีกครั้ง เพราะเป็นการตรวจหาเชื้อโควิด 19 ที่แม่นยำและได้มาตรฐานกว่า

          อย่างไรก็ตาม หากยังไม่ได้ตรวจ RT-PCR แต่ในระหว่างกักตัว ได้ตรวจ ATK ซ้ำอีกครั้ง แล้วขึ้นเป็นผลบวก ก็สามารถไปรักษาได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิของตัวเอง ดังนี้

สิทธิบัตรทอง

  • รักษากับสถานพยาบาลที่ตัวเองขึ้นทะเบียนบัตรทองไว้ ซึ่งจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยนอกที่แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ (เจอ แจก จบ) และให้กลับไปแยกกักตัวที่บ้าน 

  • รักษากับหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว เช่น สถานีอนามัย, รพ.สต., หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึงคลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น

  • โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร (คลิกลงทะเบียน)

  • โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (คลิกดูรายชื่อ)

  • ร้านยาในโครงการ "เจอ แจก จบ" (รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด 19 สีเขียว และใช้สิทธิบัตรทอง) เช็กรายชื่อร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ ที่นี่ หรือดูแผนที่ดิจิทัล ร้านยาใกล้ฉัน Nostra Map  

  • ลงทะเบียนพบหมอผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อให้แพทย์ซักถามและจ่ายยาตามอาการ พร้อมจัดส่งยาให้ถึงบ้าน ฟรี โดยเลือกลงทะเบียนได้ที่
    • 1. แอปพลิเคชัน Clicknic (คลิกนิก) ให้บริการโดย บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด (คลิกที่นี่) รับผู้ป่วยโควิด 19 ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มสีเขียวและกลุ่ม 608
    • หรือ 2. แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ให้บริการโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด (คลิกที่นี่) รับเฉพาะผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม.-ปริมณฑล 5 จังหวัด นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เท่านั้น
    • หรือ 3. Good Doctor Technology ให้บริการโดย บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (คลิกที่นี่) รับเฉพาะผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เท่านั้น

สิทธิประกันสังคม

  • รักษาได้ฟรีที่โรงพยาบาลตามสิทธิที่ตัวเองลงทะเบียนไว้ รวมทั้งสถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคมทุกแห่ง

  • สถานพยาบาลของรัฐและเอกชนที่ร่วมให้บริการ 

  • โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร (คลิกลงทะเบียน)

  • โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (คลิกดูรายชื่อ)

  • ร้านยาในโครงการ "เจอ แจก จบ" (รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด 19 สีเขียว และใช้สิทธิบัตรทอง) เช็กรายชื่อร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ ที่นี่ หรือดูแผนที่ดิจิทัล ร้านยาใกล้ฉัน Nostra Map  

  • ลงทะเบียนพบหมอผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อให้แพทย์ประเมินอาการเบื้องต้นพร้อมให้คำแนะนำการดูแลตัวเอง โดยเลือกลงทะเบียนได้ที่
    • 1. แอปพลิเคชัน Clicknic (คลิกนิก) ให้บริการโดย บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด (คลิกที่นี่) รับผู้ป่วยโควิด 19 ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มสีเขียวและกลุ่ม 608
    • หรือ 2. แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ให้บริการโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด (คลิกที่นี่) รับเฉพาะผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม.-ปริมณฑล 5 จังหวัด นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เท่านั้น
    • หรือ 3. Good Doctor Technology ให้บริการโดย บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (คลิกที่นี่) รับเฉพาะผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เท่านั้น

สิทธิ​ข้าราชการ

  • สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง

  • โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร (คลิกลงทะเบียน)

  • โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (คลิกดูรายชื่อ)

  • ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป ผู้ใช้สิทธิข้าราชการสามารถลงทะเบียนพบหมอผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อให้แพทย์ซักถามและจ่ายยาตามอาการ พร้อมจัดส่งยาให้ถึงบ้าน ฟรี โดยเลือกลงทะเบียนได้ที่
    • 1. แอปพลิเคชัน Clicknic (คลิกนิก) ให้บริการโดย บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด (คลิกที่นี่) รับผู้ป่วยโควิด 19 ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มสีเขียวและกลุ่ม 608
    • หรือ 2. แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ให้บริการโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด (คลิกที่นี่) รับเฉพาะผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม.-ปริมณฑล 5 จังหวัด นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เท่านั้น
    • หรือ 3. Good Doctor Technology ให้บริการโดย บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (คลิกที่นี่) รับเฉพาะผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว (ไม่รับกลุ่ม 608) ที่อยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เท่านั้น
โควิด 19

ภาพจาก : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

รักษาโควิด

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

โควิด 19

ภาพจาก : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

          อย่างไรก็ตาม กรณีเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีแดง คือมีอาการหอบเหนื่อยหนักมาก พูดไม่เป็นประโยค แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก ปอดอักเสบรุนแรง อ่อนเพลีย ตอบสนองช้า ไม่รู้สึกตัว มีภาวะช็อก/โคม่า ซึมลง ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94 สามารถใช้สิทธิ UCEP เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิรักษาทุกที่ เข้ารักษาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

          ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ โทร. สายด่วน 1669 กด 2 หรือ สายด่วน สปสช. 1330 กด 14 สำหรับประชาชนทั่วไป และกด 18 สำหรับกลุ่ม 608, ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ

โควิด 19

ภาพจาก : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

         แม้จะตรวจ ATK แล้วผลเป็นลบ ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจว่าเรายังไม่ติดโควิด 19 นะคะ แต่ควรใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังมากขึ้น หากกักตัวได้ ก็ควรกักตัว เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่น

บทความที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ ATK

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ ATK ไม่พบเชื้อ แต่มีอาการป่วย แบบนี้ติดโควิดหรือไม่ ควรทำยังไงต่อ อัปเดตล่าสุด 29 พฤศจิกายน 2565 เวลา 17:36:39 104,649 อ่าน
TOP
x close