รักษาโควิดฟรีที่ไหนได้บ้าง สรุปให้เคลียร์ทั้งสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม ข้าราชการ

ผู้ป่วยสีเขียว ได้แก่
ผู้ป่วยสีเหลือง ได้แก่
-
มีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย
-
ปอดอักเสบ ไอแล้วเหนื่อย
-
อ่อนเพลีย ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
-
อาการแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว
-
ในเด็กเล็ก มีอาการซึม หายใจลำบาก กินนม/อาหารน้อยลง
-
กลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, หัวใจและหลอดเลือด, ไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน น้ำหนักมากกว่า 90 กก., มะเร็ง, เบาหวาน และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป)
ผู้ป่วยสีแดง ได้แก่
-
มีอาการหอบเหนื่อยมาก พูดไม่เป็นประโยค
-
แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก
-
ปอดอักเสบรุนแรง
-
อ่อนเพลีย ตอบสนองช้า ไม่รู้สึกตัว มีภาวะช็อก/โคม่า ซึมลง
-
ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ต่อเนื่อง
-
ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94

สิทธิบัตรทอง
-
รักษากับสถานพยาบาลที่ตัวเองขึ้นทะเบียนบัตรทองไว้ ซึ่งจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยนอกที่แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ (เจอ แจก จบ) และให้กลับไปแยกกักตัวที่บ้าน หรือใช้วิธีรักษาที่บ้าน (Home Isolation) กรณีนี้สามารถเข้าระบบได้ด้วยการโทร. 1330 กด 14
-
รักษากับหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว เช่น สถานีอนามัย, รพ.สต., หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึงคลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น
-
โรงพยาบาลเอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19 กลุ่มสีเขียว กับ สปสช. โดยโรงพยาบาลที่เข้าร่วมจะมีประกาศแจ้งว่าให้ผู้ใช้สิทธิบัตรทองรักษาโควิดได้ฟรี (เช็กรายชื่อโรงพยาบาลทั้งหมดที่นี่)
สิทธิประกันสังคม
-
รักษาได้ฟรีที่โรงพยาบาลตามสิทธิที่ตัวเองลงทะเบียนไว้ รวมทั้งสถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคมทุกแห่ง
-
สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง
สิทธิข้าราชการ
-
สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง
-
โรงพยาบาลเอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19 กลุ่มสีเขียว กับ สปสช. โดยโรงพยาบาลที่เข้าร่วมจะมีประกาศแจ้งว่าให้ผู้ใช้สิทธิข้าราชการรักษาโควิดได้ฟรี (เช็กรายชื่อโรงพยาบาลทั้งหมดที่นี่)
ถือเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงขึ้น หรือเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง จึงสามารถใช้สิทธิ UCEP Plus ได้ ทุกสิทธิการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นบัตรทอง ประกันสังคม ข้าราชการ ตามเงื่อนไขดังนี้
-
รักษาฟรีในโรงพยาบาลที่ตัวเองมีสิทธิอยู่
-
รักษาฟรีในโรงพยาบาลใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ทั้งรัฐและเอกชน โดยโรงพยาบาลจะดูแลรักษาจนหาย หรือส่งตัวต่อไปโรงพยาบาลอื่นได้หากศักยภาพไม่เพียงพอ หรือส่งต่อให้โรงพยาบาลในเครือข่ายที่จัดไว้ ซึ่งถ้าผู้ป่วยหรือญาติปฏิเสธ ต้องออกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง
ทั้งนี้ โรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่ให้การรักษาผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดงจะเบิกจ่ายได้ตามเกณฑ์ UCEP Plus ซึ่งถ้าผู้ป่วยคนไหนมีประกันสุขภาพ ประกันชีวิต จะให้ใช้สิทธิตามประกันก่อน

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ส่วนจะสามารถเบิกประกันสุขภาพได้ไหม ถ้ากรณีเข้าระบบ Home Isolation ต้องดูว่าตรงกับเงื่อนไขหรือไม่ คือ
-
คนที่มีประกันผู้ป่วยนอกอย่างเดียว : ประกันจะจ่ายตามจริง แต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองแบบผู้ป่วยนอก
-
คนที่มีประกันผู้ป่วยในอย่างเดียว : ประกันจะจ่ายตามจริง แต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองแบบผู้ป่วยใน และต้องไม่เกิน 12,000 บาท
- คนที่มีประกันทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก : ประกันจะจ่ายตามจริง แต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองแบบผู้ป่วยนอก หากมีค่าใช้จ่ายที่เกินกว่าวงเงินความคุ้มครองแบบผู้ป่วยนอก ประกันจะจ่ายในวงเงินไม่เกินความคุ้มครองแบบผู้ป่วยใน และไม่เกิน 12,000 บาท
สำหรับเงินชดเชยรายวันจะได้รับก็ต่อเมื่อเป็นผู้ป่วยในที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องนอนพักในโรงพยาบาลเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง
ถ้าใครยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการเบิกประกัน ลองอ่านต่อได้ที่บทความนี้
อัปเดตเงื่อนไข ปี 2565 เคลมประกันโควิด-ประกันสุขภาพได้ไหม ถ้ารักษาตัวที่บ้าน
บทความที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและรักษาโควิด 19
- สังเกตให้ไว ! อาการโอมิครอน ติดเชื้อแล้วกี่วันถึงแสดงอาการป่วยโควิด
- ตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก ทำไงดี นี่เราติดโควิดชัวร์แล้วหรือยัง ?
- ตรวจ PCR ราคาเท่าไหร่ ปี 2565 อัปเดตแต่ละโรงพยาบาล พร้อมเช็กจุดตรวจ RT-PCR ฟรี !
- เตรียมตัวไป Hospitel เมื่อป่วยโควิด ควรพกของอะไรติดตัวไปบ้าง
- วิธีรักษาโควิดด้วยตัวเองเบื้องต้น เมื่อต้อง Home Isolation กักตัวที่บ้าน
- ติดโควิด 19 ต้องกินยาอะไร ฟาวิพิราเวียร์ควรกินไหม
- วิธีกินฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด 19 ควรใช้อย่างไร ต้องกินวันละเท่าไร
- ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ต้านไวรัส รักษาโควิด 19 รู้จักสักนิด ทำไมถึงไม่ใช้กับผู้ป่วยทุกคน
- ติดโควิด 19 รอบ 2 อันตรายขึ้นไหม อาการป่วยจะรุนแรงกว่าเดิมหรือเปล่า ?
ขอบคุณภาพจาก : เฟซบุ๊ก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, เฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ