แล้วถ้าเราเป็นหนึ่งในผู้ป่วยโควิดที่ต้องกักตัวที่บ้านเราต้องทำอะไรบ้าง ดูแลตัวเองและป้องกันคนรอบข้างไม่ให้สัมผัสเชื้อไวรัสได้อย่างไร มาดูคำแนะนำกัน
ตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก ทำไงดี นี่เราติดโควิดชัวร์แล้วหรือยัง ?
ผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว คือ ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ไอ มีน้ำมูก มีผื่น ถ่ายเหลว ตาแดง มีไข้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป สามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยการไปรับยาที่โรงพยาบาลตามสิทธิและแยกกักตัวที่บ้าน (เจอ แจก จบ)
แต่หากใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยง คือเป็นผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง อาจได้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือ Hospitel ตามการพิจารณาของแพทย์ ซึ่งคนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่
-
มีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย
-
ปอดอักเสบ ไอแล้วเหนื่อย
-
อ่อนเพลีย ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
-
มีอาการแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว
-
ในเด็กเล็ก มีอาการซึม หายใจลำบาก กินนม/อาหารน้อยลง
-
กลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, หัวใจและหลอดเลือด, ไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน น้ำหนักมากกว่า 90 กก., มะเร็ง, เบาหวาน และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป)
ติดโควิด โทร. แจ้งที่ไหน ลงทะเบียนยังไง
สิทธิบัตรทอง
-
รักษากับสถานพยาบาลที่ตัวเองขึ้นทะเบียนบัตรทองไว้ ซึ่งจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยนอกที่แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ (เจอ แจก จบ) และให้กลับไปแยกกักตัวที่บ้าน
-
รักษากับหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว เช่น สถานีอนามัย, รพ.สต., หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึงคลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น
-
ร้านยาในโครงการ "เจอ แจก จบ" (รับเฉพาะผู้ป่วยโควิด 19 สีเขียว และใช้สิทธิบัตรทอง) เช็กรายชื่อร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ ที่นี่
- ลงทะเบียนพบหมอผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อให้แพทย์ซักถามและจ่ายยาตามอาการ พร้อมจัดส่งยาให้ถึงบ้าน ฟรี รับเฉพาะผู้ป่วยโควิดสีเขียวที่ใช้สิทธิบัตรทองใน กทม. นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เท่านั้น โดยเลือกลงทะเบียนได้ที่
- 1. แอปพลิเคชัน Good Doctor Technology ให้บริการโดย บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (คลิกที่นี่)
- หรือ 2. แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ให้บริการโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด (คลิกที่นี่)
สิทธิประกันสังคม
สิทธิข้าราชการ
รักษาโควิดฟรีที่ไหนได้บ้าง สรุปให้เคลียร์ทั้งสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม ข้าราชการ
ผู้ป่วยจะเริ่มแพร่เชื้อก่อนมีอาการประมาณ 2-3 วัน ไปจนถึงสิ้นสุดสัปดาห์แรกของการเจ็บป่วยนับจากวันที่เริ่มมีอาการ แม้อาการดีขึ้นแล้วก็ยังมีเชื้อไวรัสหลงเหลือในน้ำมูก น้ำลาย ซึ่งแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อีกประมาณ 10 วัน หลังจากเริ่มป่วย
ดังนั้น คนที่กักตัวที่บ้านต้องแยกตัวเองจากผู้อื่นขณะอยู่ที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มป่วยหรือตรวจพบเชื้อ (นับวันที่ตรวจพบเชื้อ หรือวันที่มีอาการเป็นวันที่ 0) หากครบ 10 วันแล้วยังมีอาการอยู่ ควรแยกกักตัวต่อจนกว่าอาการจะหายไม่น้อยกว่า 24-48 ชั่วโมง
หากมีไข้ขึ้นสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
-
รับประทานยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง หรือกินตามน้ำหนัก โดยสามารถกินได้ 10-15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ห้ามเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อครั้ง แต่ถ้าแพ้ยาพาราเซตามอลให้เช็ดตัวแทน
-
ไม่ควรรับประทานยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน ยากลุ่ม NSAID อื่น ๆ เพราะอาจส่งผลกระทบต่ออาการโควิด 19
-
เช็ดตัวบ่อย ๆ เพื่อลดไข้
-
ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 1.5-2 ลิตรต่อวัน
-
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น
หากมีอาการไอ เจ็บคอ
-
รับประทานยาแก้ไอ หรือยาอมบรรเทาอาการไอ
-
จิบน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่น
-
ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อช่วยในการละลายเสมหะ ขับเสมหะออกง่าย
-
ควรนอนตะแคง หรือนอนหมอนสูง
-
หลีกเลี่ยงอาหารระคายคอ เช่น ของทอด ของมัน
หากมีอาการหวัด คัดจมูก หายใจไม่สะดวก
-
หายใจช้า ๆ ลึก ๆ ทางจมูกและปาก เหมือนกำลังจะเป่าเทียน
-
นั่งตัวตรง ไม่นั่งหลังค่อม ผ่อนคลายบริเวณหัวไหล่
-
เอนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย โดยใช้มือวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง และหายใจลึก ๆ ยาว ๆ
-
รับประทานยาลดน้ำมูกได้
หากมีอาการท้องเสีย
- ดื่มน้ำมาก ๆ และผสมน้ำเกลือ เพื่อให้ได้สารน้ำและเกลือแร่ชดเชย
- ในเด็กอาจจผสมน้ำเกลือแร่และผสมน้ำหวานทำเป็นไอศกรีมแช่แข็งก็ช่วยให้กินได้ แต่ถ้าเด็กมีอาการซึมลงให้รีบปรึกษาแพทย์
หากอาเจียน
- จิบน้ำเกลือแร่ หรือน้ำข้าวต้ม
- หลีกเลี่ยงอาหารย่อยยาก อาหารรสจัด
หากสงสัยว่าโควิดลงปอดหรือยัง ?
ให้เช็กตัวเองดังนี้
-
ทำกิจกรรมตามปกติแล้วรู้สึกเหนื่อยเร็วกว่าเดิม หรือมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจลำบากมากขึ้น
-
ใช้เครื่องตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดที่ปลายนิ้ว (Pulse Oximeter) หากมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 96% จะแสดงถึงความผิดปกติที่ปอด
-
ทดลองเดินเร็ว ๆ เป็นเวลา 6 นาที หากมีภาวะปอดอักเสบจะรู้สึกเหนื่อยง่าย รวมทั้งระดับออกซิเจนในเลือดอาจลดต่ำลงเหลือน้อยกว่า 96%
-
ทดสอบด้วยการออกกำลังกายด้วยการลุก-นั่ง 1 นาที แล้วลองวัดออกซิเจน ถ้าตกลงเกิน 3% หรือถ้าวัดชีพจรแล้วเกิน 120 ครั้งต่อนาที หรือคนไข้หายใจหอบเหนื่อยมาก พูดเป็นคำไม่ได้ แสดงว่าน่าจะมีปัญหาในปอด ทำให้ออกซิเจนไม่พอ
-
ถ้ามีอาการดังกล่าวให้นอนคว่ำ เพื่อให้เนื้อปอดส่วนหลังที่ถูกหัวใจกดทับขยายได้ดีขึ้น การแลกเปลี่ยนก๊าซของปอดดีขึ้น ระบายเสมหะได้ดีขึ้น ถ้านอนคว่ำไม่ได้ เช่น มีภาวะอ้วน หรือตั้งครรภ์ ให้นอนตะแคงเอาด้านซ้ายลง
-
ถ้าอยู่ในท่านอนนาน ๆ ให้ขยับขาบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
อาการโควิดลงปอดเป็นยังไง พร้อมวิธีเช็กเบื้องต้น สัญญาณไหนต้องรีบรักษา
การใช้ฟ้าทะลายโจร
-
สำหรับคนติดเชื้อโควิดที่มีอาการไข้ หวัด เจ็บคอ ครั่นเนื้อครั่นตัว และไอ สามารถใช้ฟ้าทะลายโจรได้ โดยรับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่มีแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ในปริมาณ 180 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งกินวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน และไม่เกินนี้
-
ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีความดันต่ำ ผู้ที่แพ้ฟ้าทะลายโจร คนที่มีปัญหาเรื่องตับ เป็นต้น
วิธีกินฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด 19 ควรใช้อย่างไร ต้องกินวันละเท่าไร
1. ไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมที่บ้าน และงดออกจากบ้าน
2. อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา หากยังไอ จาม ต้องสวมหน้ากากอนามัยแม้อยู่ในห้อง (ควรสวมหน้ากากอนามัย ไม่ใช้หน้ากากผ้า)
3. ไม่อยู่ใกล้ชิดบุคคลอื่นในบ้าน ถ้าจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร
4. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ ทั้งหลังจากเข้าห้องน้ำ หรือก่อนสัมผัสจุดเสี่ยงที่ใช้ร่วมกันในบ้าน
5. กรณีผู้ป่วยเป็นมารดาให้นมบุตร สามารถให้นมบุตรได้ แต่ต้องสวมหน้ากากอนามัย
6. ใช้ห้องน้ำแยกจากคนอื่น แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรเข้าเป็นคนสุดท้าย ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ ทำความสะอาดห้องน้ำ พื้นผิว โถสุขภัณฑ์ ด้วยน้ำและน้ำยาฟอกขาว หรือโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5% (เช่น ไฮเตอร์, คลอรอกซ์)
7. แยกห้องพัก และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น จาน แก้วน้ำ ช้อน-ส้อม ผ้าเช็ดตัว คอมพิวเตอร์
8. ไม่ร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น
9. ทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วและขยะปนเปื้อนในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง และล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทันที
10. วัดไข้และออกซิเจนในเลือดทุกวัน
ในกรณีที่รักษาตัวอยู่บ้านแล้วมีอาการรุนแรงขึ้นดังต่อไปนี้ ให้รีบติดต่อโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประสานเข้าระบบการรักษาในโรงพยาบาล โดยเกณฑ์ในการนำส่งต่อผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล คือ
1. เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
2. หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาที ในผู้ใหญ่
3. ค่าออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วต่ำกว่า 94%
4. โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์
5. สำหรับในเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือรับประทานอาหารน้อยลง
บทความที่เกี่ยวข้องกับโควิด 19
◆ เช็กลิสต์ยาที่ควรมีช่วงโควิด ติดบ้านไว้ใช้ดูแลตัวเอง-รักษาอาการเบื้องต้น
◆ โควิดหายเองได้ไหม ดูแลตัวเองยังไงเมื่อติดเชื้อ
◆ อาหารสำหรับผู้ป่วยโควิด กินอะไรช่วยบรรเทาและไม่ซ้ำเติมอาการให้ยิ่งหนัก
◆ ติดโควิดห้ามกินอะไร เครื่องดื่ม-อาหารแบบไหนควรเลี่ยง
◆ 12 ยาสมุนไพรดูแลตัวเองในเบื้องต้น เมื่อติดโควิดแล้วต้องรักษาตัวที่บ้าน Home isolation
◆ วิธีสุมยาสมุนไพร สูดดมไอระเหยบรรเทาอาการไม่สบายจากหวัดและโควิด 19
◆ อาหารฟื้นฟูร่างกายหลังหายป่วยโควิด กินอะไรช่วยบำรุง พร้อมวิธีฟื้นฟูร่างกาย
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 15 กรกฎาคม 2565
ขอบคุณภาพจาก : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (2), (3), กรมควบคุมโรค
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการแพทย์, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, เฟซบุ๊ก เราต้องรอด, กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์