ยาที่ควรมีช่วงโควิด 19 และสิ่งของที่ควรมีติดบ้านไว้ในช่วงที่ COVID-19 ยังระบาดอยู่ เพื่อดูแลตัวเอง มีอะไรบ้าง มาเช็กลิสต์กันหน่อย
1. ที่วัดไข้
ที่วัดไข้เป็นอุปกรณ์ด่านแรกที่จะบ่งชี้อุณหภูมิของร่างกายว่าถึงจุดที่มีไข้แล้วหรือยัง มีไข้มากหรือน้อยแค่ไหน เพื่อให้เรากินยาบรรเทาอาการได้อย่างตรงจุด ซึ่งปัจจุบันเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายก็มีอยู่หลายแบบด้วยกัน และสามารถหาซื้อได้ง่าย
2. เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด
ผู้ติดโควิดหลายเคสไม่แสดงอาการป่วย ทว่าเมื่อตรวจวัดออกซิเจนในเลือดแล้วกลับพบว่าอยู่ในระดับ 95-96 ซึ่งแสดงถึงภาวะปอดอักเสบแล้ว หรือบางคนไม่รู้อาการตัวเองว่าแบบนี้คือค่าออกซิเจนต่ำ เสี่ยงที่อาการจะแย่ลง ดังนั้นจึงควรมีเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดติดไว้บ้าง โดยเครื่องวัดออกซิเจนที่ใช้ง่าย สะดวก ราคาไม่แพง ก็แนะนำเป็นเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วเลยค่ะ
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว สำหรับวัดค่าออกซิเจนในเลือด ซื้อยี่ห้อไหนดี
3. เครื่องวัดความดันโลหิต
โควิดมีผลต่อระดับความดันโลหิตของผู้ติดเชื้อด้วยเช่นกัน โดยตัวเชื้อจะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ กระทบมาถึงความดันโลหิตในร่างกายได้ ดังนั้นเครื่องมือที่ควรมีติดบ้านไว้อีกอย่างก็คือ เครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งเจ้าเครื่องนี้จะช่วยวัดอัตราการเต้นของหัวใจและชีพจรของร่างกายไปในตัวด้วย
เครื่องวัดความดัน ยี่ห้อไหนดี ราคาไม่เกิน 2,000 บาท ใช้งานง่าย ฟังก์ชันครบ
1. ฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจรเป็นยาสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัด เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ และนอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการโควิดในระดับที่ไม่รุนแรงได้ โดยจะไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส แต่ทั้งนี้ควรกินฟ้าทะลายโจรอย่างเหมาะสมนะคะ และหากมีโรคประจำตัว เป็นโรคตับ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานฟ้าทะลายโจร
ข้อควรระวัง : การรับประทานฟ้าทะลายโจรอาจมีผลข้างเคียง เช่น ปวดท้อง ท้องเดิน ปวดเอว วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น ตัวเย็น ในผู้ป่วยบางราย
2. ยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม
เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ช่วยลดไข้ ลดปวด โดยรับประทานเมื่อมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ครั้งละ 1 เม็ด ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ สำหรับเด็กให้เลือกยาชนิดน้ำเชื่อม หรือใช้เจลลดไข้
ข้อควรระวัง : กินเกินขนาดหรือกินพาราเซตามอลติดต่อกันนาน ๆ อาจเสี่ยงโรคตับอักเสบได้
3. ยาอมแก้เจ็บคอ หรือสเปรย์พ่นคอ
เมื่อเป็นโควิดอาจมีอาการเจ็บคอ ซึ่งสามารถอมยาบรรเทาอาการได้ โดยอาจจะเลือกใช้ยาอมมะแว้ง ยาอมมะขามป้อม ยาอมรสมะนาวน้ำผึ้งหวาน ๆ หรือยาอมที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ทำให้เย็นคอ เช่น เมนทอล หรือยูคาลิปตัส นอกจากนี้อาจใช้สเปรย์สำหรับช่องปากและลำคอ พ่นแก้อาการเจ็บคอก็ได้เหมือนกัน
ข้อควรระวัง : ควรหลีกเลี่ยงยาอมที่มีส่วนประกอบของนีโอมัยซิน, บาซิทราซิน, Chlortetracycline, Tyrothricin เพราะมีข้อมูลว่ายาอมที่มีส่วนประกอบของยาปฏิชีวนะนั้นไม่ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ แต่จะยิ่งทำให้ดื้อยา
4. ยาแก้ไอ
ยาแก้ไอเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีไว้ หากมีอาการไอแห้ง ไอเยอะ จะได้รับประทานยาแก้ไอตามขนาดที่แนะนำบนฉลากยา หรือตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร แต่หากไม่ได้ไอก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานนะคะ หรือถ้าบ้านไหนมีเด็ก ก็ให้เตรียมยาแก้ไอน้ำเชื่อมสำหรับเด็กไว้
ข้อควรระวัง : ในผู้ป่วยโควิดที่มีปอดอักเสบ ซึ่งจะมีอาการไอหนัก มีเสมหะในปอด หากรับประทานยาแก้ไออาจไปกดอาการไอ ทำให้ร่างกายไม่ได้ขับเสมหะ ไม่ได้ขับเอาเชื้อออกมาตามกลไกธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นอันตรายมากกว่า ดังนั้นเคสนี้ควรกินยารักษาอาการภายใต้คำแนะนำของแพทย์จะดีกว่า
5. ยาละลายเสมหะ
การอักเสบของทางเดินหายใจไม่ว่าจะอักเสบจากภูมิแพ้หรือการติดเชื้อต่าง ๆ จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเสมหะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รู้สึกระคายคอ กระตุ้นอาการไอ ทำให้หายใจลำบากมากขึ้น ดังนั้นหากมีอาการไอร่วมกับเสมหะก็สามารถใช้ยาเพื่อขับเสมหะออกมา โดยปัจจุบันก็มีทั้งยาละลายเสมหะชนิดเม็ดฟู่ ชนิดผง หรือยาน้ำละลายเสมหะ และนอกจากการกินยาก็ยังสามารถกำจัดเสมหะด้วยวิธีอื่น ๆ ได้อีกนะ
6. ยาลดน้ำมูก หรือยาแก้แพ้
ยาลดน้ำมูก หรือยาแก้แพ้ มีไว้บรรเทาอาการในกรณีที่มีน้ำมูกเยอะจากการติดเชื้อไวรัสจนหายใจได้ไม่สะดวก รวมไปถึงช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น ภูมิแพ้อากาศ ลมพิษ ดังนั้นคนที่มีอาการแพ้บ่อย ๆ ก็ควรมียานี้ติดบ้านไว้เช่นกัน เมื่อมีอาการแพ้จะได้ใช้ยาบรรเทาอาการตัวเองในเบื้องต้น
แต่ทั้งนี้ก็ควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เภสัชกร และใช้ยาเท่าที่จำเป็นนะคะ โดยเฉพาะคนที่มีโรคตับ โรคไต มีโรคประจำตัวที่มีข้อห้ามใช้ยาลดน้ำมูก ควรต้องระวัง และควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนว่าควรใช้ยาลดน้ำมูกตัวไหนจึงจะช่วยบรรเทาอาการได้อย่างปลอดภัย
ข้อควรระวัง : การใช้ยาแก้แพ้มากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น น้ำมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง และง่วงซึม
7. ยาแก้ท้องเสีย
8. เกลือแร่ ORS
ภาพจาก Sonal Shrivastav / Shutterstock.com
การมีเกลือแร่แก้ท้องเสียชนิดผงชงดื่มกับน้ำติดบ้านไว้ก็เป็นเรื่องดี เพราะแม้เราจะยังไม่ติดโควิด แต่หากวันไหนกินอะไรผิดสำแดงแล้วเกิดท้องเสียหนัก ๆ ขึ้นมา ก็ชงดื่มทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป ลดความเสี่ยงร่างกายขาดน้ำจนอ่อนเพลีย ช็อก หมดสติได้ หรือถ้าไม่มีผงเกลือแร่ ORS ก็ให้ผสมน้ำต้มสุก 750 มล. กับน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือครึ่งช้อนชา คนให้เข้ากันแล้วจิบบ่อย ๆ
เกลือแร่ แก้ท้องเสีย VS ออกกำลังกาย ต่างกันตรงไหน กินแทนกันได้ไหม ?
9. ยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน
ผู้ป่วยโควิดจำนวนไม่น้อยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน จึงแนะนำให้เตรียมยาดอมเพอริโดน (Domperidone) ไว้ด้วย เพื่อช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง โดยมีทั้งชนิดเม็ดและน้ำ ถ้ามีอาการให้รับประทาน 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 15-30 นาที
ข้อควรระวัง : ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคลำไส้ชนิดรุนแรง ส่วนสตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ หรือใช้ยาตัวอื่น ๆ อยู่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวควรเตรียมยารักษาโรคให้มีไว้รับประทานต่อเนื่อง 1-2 เดือน เพื่อลดการเดินทางไปโรงพยาบาลในช่วงนี้
และนอกจากยาต่าง ๆ แล้ว อย่าลืมเตรียมของใช้ที่จำเป็นในช่วงโควิด 19 ระบาดกันไว้ด้วย
1. หน้ากากอนามัย
2. แอลกอฮอล์ชนิดน้ำและเจล
3. น้ำยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ
นอกจากแอลกอฮอล์แล้วก็ควรมีน้ำยาฆ่าเชื้อติดบ้านไว้ใช้ผสมน้ำทำความสะอาดพื้นที่ต่าง ๆ ในบ้านด้วย
12 สูตรทำน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด 19 ไว้ทำความสะอาดบ้านกำจัดไวรัสร้าย
4. ถุงขยะติดเชื้อ
5. ถ่านอัลคาไลน์
6. ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวันต่าง ๆ
นอกจากการมียา มีของใช้จำเป็นเหล่านี้แล้ว ควรหมั่นล้างมือให้สะอาด ดูแลสุขอนามัยรอบ ๆ ตัวให้ดี อาบน้ำ สระผมทันทีที่กลับมาจากข้างนอก และอย่าลืมเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงดีอยู่เสมอด้วย
เช็กสัญญาณภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายอ่อนแอ พร้อมวิธีกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
บทความที่เกี่ยวข้องกับโควิด 19
- อาการโควิด 19 เป็นยังไง มีวิธีรักษาแบบไหนบ้าง
- รวมวิธีดูแลรักษาโควิดเบื้องต้น เมื่อจำเป็นต้องกักตัวที่บ้าน
- เทียบให้ชัด อาการ COVID-19-ไข้หวัดทั่วไป-ไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก ต่างกันยังไง
- อาการโควิดลงปอดเป็นยังไง พร้อมวิธีเช็กเบื้องต้น สัญญาณไหนต้องรีบรักษา
- ยาที่ห้ามกินก่อนฉีดวัคซีนโควิดมีไหม เช็กให้ชัวร์ ยาอะไรกินได้ หรือควรงด
- 12 ยาสมุนไพรดูแลตัวเองในเบื้องต้น เมื่อติดโควิดแล้วต้องรักษาตัวที่บ้าน Home isolation
- 15 อาหารเพิ่มเม็ดเลือดขาว เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ไม่ติดเชื้อง่าย ป่วยก็ไม่รุนแรง
- ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ต้านไวรัส รักษาโควิด 19 รู้จักสักนิด ทำไมถึงไม่ใช้กับผู้ป่วยทุกคน
- สอนวิธีใช้ Rapid Antigen Test ตรวจโควิดเองที่บ้าน ถูกต้องและปลอดภัย ใน 4 ขั้นตอนง่าย ๆ