ไขมันในร่างกายมีกี่ประเภท
คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
เป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย ทำหน้าที่นำคอเลสเตอรอลที่สะสมตามผนังหลอดเลือดหรือบริเวณเนื้อเยื่ออื่น ๆ ไปทำลายที่ตับ ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลต่ำลง ดังนั้นการมีระดับ HDL ในเลือดสูง คือตั้งแต่ 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และเราก็สามารถเพิ่มไขมันดี HDL ได้ โดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่มีไขมันดีอย่างเหมาะสม
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
เป็นไขมันที่ตับสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย และการรับประทานอาหาร เช่น น้ำตาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือได้รับพลังงานจากอาหารมากจนเกินไป จะกระตุ้นให้ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์ขึ้นมาเพิ่มได้ ซึ่งหากร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป จะถือว่ามีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดค่อนข้างสูง และหากเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะถือว่าไตรกลีเซอไรด์สูงเกินไป ควรรีบลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเลยดีกว่า
ไขมันในเลือดสูง อันตรายแค่ไหน
ส่วนการมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงจะเพิ่มความเสี่ยงภาวะไขมันอุดตันในหลอดเลือด รวมไปถึงโรคอ้วนและเบาหวานชนิดที่ 2 ยิ่งหากผลเลือดออกมาคือมีทั้ง LDL และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงด้วยกันทั้งคู่ ต่างกับระดับไขมันดี HDL ที่ต่ำ ก็จะยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพได้แบบทบทวีคูณ
ผักที่ช่วยลดไขมันในเลือด เลือกกินอะไรได้บ้าง
เพื่อไม่ให้ไขมันในเลือดสูงเกินไป เราควรเลือกรับประทานผักหรือสมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในเลือดได้ ดังนี้
1. กระเจี๊ยบเขียว
ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำในกระเจี๊ยบเขียวคืออาวุธเด็ดที่ช่วยลดไขมันในเลือดเราค่ะ เนื่องจากเมื่อไฟเบอร์ชนิดนี้เคลื่อนที่ไปเจอน้ำในระบบย่อยอาหารจะกลายสภาพเป็นเจล ลดการดูดซึมไขมันและน้ำตาล อีกทั้งยังจะไปจับกับไขมันส่วนเกินในน้ำดี ให้ร่างกายขับถ่ายไขมันส่วนนี้ได้ง่ายขึ้นด้วย
2. กระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดงจัดเป็นผักและสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเลือดได้ นอกจากนี้ส่วนกลีบเลี้ยงของดอกหรือกลีบของส่วนผลยังมีสรรพคุณขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต ช่วยย่อยอาหาร แก้กระหาย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยสามารถนำกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกสีม่วงแดงมาตากแห้ง แล้วบดเป็นผงตักครั้งละ 1 ช้อนชา ชงกับน้ำเดือด 250 มิลลิลิตร แล้วกรองดื่มแต่น้ำ หรือจะดื่มน้ำกระเจี๊ยบแทนก็ได้
3. กระเทียม
อย่างไรก็ตาม มีคำแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานกระเทียมสดในปริมาณที่มากเกินไปนะคะ โดยสามารถรับประทานกระเทียมขนาดกลาง ๆ ได้ไม่เกินวันละ 1 หัว หรือประมาณ 1 ช้อนชา (5 กรัม) เพราะถ้ากินมาก ๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานอาจจะทำให้เกิดโลหิตจาง หรือภาวะเลือดแข็งตัวช้าได้ โดยเฉพาะคนที่รับประทานยาลดไขมันในเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินกระเทียม
4. หอมหัวใหญ่
หอมหัวใหญ่เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระเทียม จึงมีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเลือดได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องกินหอมหัวใหญ่ในปริมาณครึ่งลูก ถึงจะได้สารสำคัญเท่า ๆ กับที่ได้จากกระเทียมนะคะ
5. มะเขือม่วง
6. ปวยเล้ง
ถ้าพูดถึงผักที่มีไฟเบอร์สูง ปวยเล้งก็ยืนหนึ่งไม่แพ้ใคร นอกจากนี้ปวยเล้งยังอุดมไปด้วยวิตามินซี โปรตีน แคลเซียม และยังมีเบต้าแคโรทีนสูงมากอีกด้วย ประโยชน์ดี ๆ แบบนี้ต้องไปหาปวยเล้งมากินสักหน่อยแล้ว
ผักโขม ปวยเล้ง สองคู่หูตระกูลผัก แล้วคุณจะรักถ้าได้รู้คุณประโยชน์
7. ผักเคล
อีกหนึ่งผักใบเขียวที่มีไฟเบอร์สูงปรี๊ด โดยในปริมาณ 1 ถ้วยตวง ผักเคลจะให้ไฟเบอร์มากถึง 4.7 กรัม ซึ่งนอกจากไฟเบอร์จะช่วยดักจับคอเลสเตอรอลในเลือดแล้ว ยังจะช่วยเรื่องระบบขับถ่ายได้ดีมาก ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีลูทีนที่มีงานวิจัยพบว่า สารนี้มีส่วนช่วยลดระดับไขมันเลว LDL ได้อีกต่างหาก
8. ถั่วแระญี่ปุ่น (Edamame)
ผักที่เคี้ยวเพลิน ๆ และเป็นที่ถูกอกถูกใจของใครหลายคนอย่างถั่วแระญี่ปุ่นก็ช่วยลดไขมันในเลือดได้เหมือนกัน โดยมีงานวิจัยพบว่า การรับประทานถั่วแระญี่ปุ่น รวมไปถึงพืชตระกูลถั่วชนิดอื่น ๆ เป็นประจำ จะช่วยลดไขมันเลวในเลือดได้ อีกทั้งถั่วแระยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ไขมันดี มีสารต้านอนุมูลอิสระ และไอโซฟลาโวนที่มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงช่วยลดอาการวัยทอง ลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือนได้ด้วย
นมถั่วแระญี่ปุ่น เครื่องดื่มสุขภาพทางเลือกใหม่ สายเฮลธ์ตี้ต้องลอง
9. ขึ้นฉ่ายฝรั่ง
ขึ้นฉ่ายฝรั่ง หรือเซเลอรี่ (Celery) มีไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำจำนวนมาก จึงจัดเป็นผักที่ช่วยลดไขมันในเลือดได้ แถมยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินเค วิตามินบี โฟเลต สารต้านอนุมูลอิสระ ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม จัดเต็มคุณค่าทางสารอาหารมาขนาดนี้ไปปั่นน้ำเซเลอรี่กินเลยดีไหมนะ
ประโยชน์ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ของดีที่คนอยากหุ่นปัง สุขภาพปั๊วะต้องไม่พลาด !