โรคลิ้นหัวใจรั่วมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ดังนี้
1. ความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่กำเนิด เช่น โครงสร้างของลิ้นหัวใจผิดปกติ แต่หลายคนไม่แสดงอาการในตอนเด็ก มักมีอาการเมื่อเป็นวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่แล้ว
2. เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น ไข้รูมาติก (Rheumatic fever and rheumatic heart disease), ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ, หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นต้น
3. การติดเชื้อบางชนิดที่ส่งผลมาถึงหัวใจ เช่น การติดเชื้อจากฟันผุ เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาด หรือการเจาะตามร่างกาย
4. ความเสื่อมของลิ้นหัวใจตามอายุ
อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว ได้แก่
1. เหนื่อยง่ายขึ้น แม้อยู่เฉย ๆ ก็เหนื่อย
2. เวียนศีรษะ เป็นลม
3. หายใจลำบากเมื่อออกแรง เช่น เดืนขึ้นบันไดก็หอบเหนื่อย สมรรถภาพของร่างกายลดลง
4. เจ็บแน่นหน้าอก
5. ไอแบบมีเสมหะปนเลือด
6. ใจสั่น
7. หัวใจเต้นผิดจังหวะ
8. ท้องหรือขาบวม กดแล้วบุ๋ม
9. หายใจหอบเหนื่อยจนนอนราบไม่ได้
10. บางรายอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่พบเสียงหัวใจเต้นผิดปกติจากการตรวจร่างกายโดยบังเอิญ
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วจะมีอาการแสดงและความรุนแรงของอาการที่ต่างกันตามสาเหตุที่เกิด สภาพร่างกาย อายุ โรคประจำตัว และระยะเวลาการดำเนินโรคด้วยนะคะ โดยอาการมักเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป กว่าจะแสดงอาการหอบเหนื่อยให้เห็นชัดเจนก็อาจมีอายุ 40-50 ปีขึ้นไปแล้ว
ลิ้นหัวใจเทียม
เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก แพทย์จึงมีวิธีรักษาผู้ป่วยโรคนี้ให้หายได้ ซึ่งแนวทางการรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่วก็มีดังนี้
1. รักษาด้วยการให้ยา ในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงมาก
2. รักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่
- การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ (Valve Repair) ซึ่งทำได้แค่ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
- การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Replacement) ซึ่งจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ ลิ้นชนิดโลหะ ที่ใช้รักษาผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 70 ปี และลิ้นชนิดเนื้อเยื่อ ที่ใช้รักษาผู้ป่วยอายุมากกว่า 70 ปี เพราะมีระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 15 ปี
ทั้งนี้ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้ผ่าตัดได้อย่างราบรื่น อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดอาจไม่ได้ทำหายสนิท เพราะถ้าผู้ป่วยดูแลตัวเองไม่ดี หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาก็อาจต้องมาผ่าตัดซ่อมแซมได้อีก
สำหรับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว ควรดูแลตัวเองดังต่อไปนี้
- หากมีอาการหอบเหนื่อยง่าย ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงหนัก ๆ
- หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด มันจัด
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ก่อนทำฟันทุกอย่าง หรือการผ่าตัดใด ๆ ควรแจ้งแพทย์ก่อนว่าป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ทั้งนี้หากอาการไม่รุนแรง สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างคนทั่วไป เพียงแต่ควรหมั่นสังเกตร่างกายตัวเองเป็นระยะ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
สำหรับโรคลิ้นหัวใจรั่วที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด ก็มีวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงได้ เช่น
- ไม่สูบบุหรี่
- เลี่ยงอาหารรสจัด อาหารมัน ๆ เค็ม ๆ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเสมอ ไม่เจ็บไข้ได้ง่าย ๆ
บทความที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ
- รู้จักโรคหัวใจ Heart Disease
- โรคหัวใจ 7 สัญญาณเงียบอันตราย ระวังไว้ป้องกันหัวใจวาย
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เช็กอาการต้องสงสัย ก่อนเสี่ยงจากไปอย่างกะทันหัน
- 7 อาการเสี่ยงภาวะหัวใจโต ที่อาจทำหัวใจวายเฉียบพลัน หมดลมหายใจไม่รู้ตัว
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการเป็นอย่างไร รู้ก่อนสาย สาเหตุการตายเฉียบพลัน !
- หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เกิดจากอะไร ภาวะอันตรายถึงชีวิต !
- รู้ทันภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย ไม่อยากเสี่ยงตาย ต้องเช็กให้ไว !
- รู้จักการทำบอลลูนหัวใจ หนึ่งในวิธีรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ
- หัวใจเต้นช้า อายุยิ่งยืนยาว
- 10 พฤติกรรมเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ทราบแล้วเปลี่ยนให้ทันก่อนหมดลมหายใจ !
- ป่วยโรคหัวใจควรกินอะไร ไม่ควรกินอะไร ป้องกันไว้ไม่ให้อาการกำเริบ
- 20 สุดยอดอาหาร ล้างหลอดเลือดหัวใจ ไล่ไขมัน ลดความเสี่ยงหลายโรค
- 10 สมุนไพรบำรุงหัวใจ ของดีใกล้ตัว มีไว้ติดครัวก็ดี
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลพญาไท
โรงพยาบาลเปาโล
โรงพยาบาลเวชธานี