แต่นอกจากในธรรมชาติแล้ว ยังมีการผลิตสารฟลูออไรด์ขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ทางทันตกรรมด้วย โดยจะพบฟลูออไรด์ได้ในรูปแบบยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ในน้ำยาบ้วนปาก หรือฟลูออไรด์กลุ่มที่ใช้รับประทาน ในรูปแบบยาเม็ด ยาน้ำ วิตามิน หรือนมฟลูออไรด์ ซึ่งควรให้ทันตแพทย์เป็นคนสั่งให้ เพื่อที่จะกำหนดปริมาณฟลูออไรด์ที่เหมาะสมกับแต่ละคน รวมไปถึงฟลูออไรด์ชนิดเจล ฟลูออไรด์วานิช ที่ใช้ในวงการทันตแพทย์เท่านั้น โดยเมื่อฟลูออไรด์เข้าไปอยู่ในช่องปากจะช่วยป้องกันฟันผุได้ ดังนี้
-
ยับยั้งการผุของผิวเคลือบฟันในด่านแรก ๆ เพราะมีคุณสมบัติช่วยชะลอการย่อยสลายของแร่ธาตุบนผิวเคลือบฟัน พร้อมกันนั้นก็ช่วยเสริมกระบวนการคืนกลับของแร่ธาตุบนผิวเคลือบฟันไปในตัว
-
ช่วยเคลือบผิวฟันให้แข็งแรง มีความสามารถในการต้านทานกรดต่าง ๆ จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ทำให้ฟันมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ไม่เสี่ยงผุกร่อนง่าย
จึงป้องกันฟันผุได้
ข้อมูลจากทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ระบุว่า ปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 1,000 / 1,055 / 1,100 และ 1,250 ส่วนในล้านส่วน (part per million หรือ ppm) สามารถลดฟันผุในชุดฟันผสมและฟันแท้ได้เฉลี่ยร้อยละ 23 ขณะที่ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในความเข้มข้น 1,500 ppm (คือ มีสารฟลูออไรด์ 1,500 กรัม ต่อยาสีฟัน 1 ล้านกรัม) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุได้อีกประมาณร้อยละ 6 ด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของประเทศไทย จึงอนุญาตให้วางจำหน่ายยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,500 ppm ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ประมาณ 1,000-1,500 ppm ถือเป็นปริมาณที่เหมาะสมแล้วในการป้องกันฟันผุ เมื่อแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนนอน เพราะการได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปในเนื้อฟันจะทำให้เกิดโรคฟันตกกระ (Fluorosis) หรือทำให้ฟันมีแถบหรือจุดสีขาว สีเหลืองเข้ม หรือสีน้ำตาลเข้มได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กมีโอกาสที่จะกลืนยาสีฟันเข้าไประหว่างการสีฟัน และเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าวได้มากขึ้น ดังนั้น ทางสมาคมทันตกรรมเด็กแห่งประเทศไทย จึงแนะนำให้เด็กอายุน้อยกว่า 6 ขวบ ที่มีความเสี่ยงต่ำในการเกิดฟันผุ เลือกใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ 1,000 ppm ส่วนเด็กที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดฟันผุก็สามารถใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ 1,500 ppm ได้ตามคำแนะนำของทันตแพทย์
สำหรับในการใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ในเด็กเล็ก ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ดังนี้
-
ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น-อายุต่ำกว่า 3 ขวบ ควรใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในปริมาณแค่แตะขนแปรงพอเปียก โดยผู้ปกครองควรแปรงให้และเช็ดฟองออกให้บุตรหลาน
-
เด็กอายุ 3 ขวบ-ต่ำกว่า 6 ขวบ ควรใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในปริมาณที่เท่ากับความกว้างของแปรง โดยผู้ปกครองควรบีบยาสีฟันให้และช่วยเด็กแปรงฟัน
-
เด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป ควรใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในปริมาณเท่ากับความยาวของแปรง โดยควรให้เด็กแปรงเอง กระตุ้นให้เด็กบ้วนฟองทิ้ง และผู้ปกครองตรวจซ้ำ
ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิดใขณะที่เด็กแปรงฟัน โดยระวังไม่ให้เด็กกลืนยาสีฟันลงไปด้วยนะคะ
หากต้องการซื้อยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์มาใช้ อย่าลืมพิจารณาข้อควรคำนึงตามนี้ก่อนหยิบลงตะกร้าด้วยนะคะ
-
เช็กให้ดีว่ามีฟลูออไรด์ผสมในยาสีฟันหลอดนั้น โดยมองหาคำว่าโซเดียมฟลูออไรด์ (Sodium fluoride, NaF), โซเดียมโมโนฟลูออโรฟอสเฟต (Sodium mono-fluorophosphate, NaMFP) หรือสแตนนัสฟลูออไรด์ (Stannous fluoride, SnF2) ซึ่งเป็นสารหลัก ๆ ที่ให้ฟลูออไรด์ ซึ่งนิยมใส่มาในยาสีฟัน
-
เช็กว่ามีสารต้านจุลินทรีย์ หรือ Antimicrobials ด้วยหรือไม่ เพราะสารตัวนี้จะช่วยเสริมสรรพคุณป้องกันฟันผุให้ยาสีฟันเมื่อทำงานคู่กันกับฟลูออไรด์
-
เช็กปริมาณฟลูออไรด์ให้ดีว่ามีความเข้มข้นในระหว่าง 1,000-1,500 ppm หรือ 0.10-0.15% ppm ไหม
-
ตรวจสอบเนื้อยาสีฟันว่ามีความข้น ความเหลวที่เหมาะสม กล่าวคือ มีการกระจายตัวในปากได้ง่าย บีบออกจากหลอดได้อย่างสะดวก เนื้อไม่หยาบบาดปาก บาดลิ้น เป็นต้น
-
กลิ่นและรสชาติตรงกับความชื่นชอบของเรา
-
ราคาเหมาะสม ตรงกับความต้องการ
-
หากมีปัญหาเสียวฟัน ควรเลือกใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ที่มีค่า RDA (Relative Dentin Abrasivity) ต่ำ ๆ เพราะค่านี้บ่งชี้ถึงความสามารถในการขัดถูของยาสีฟัน ค่ายิ่งสูง การขัดถูเคลือบผิวฟันจะยิ่งมาก ซึ่งอาจกระทบต่ออาการเสียวฟันได้
-
หากมีปัญหาช่องปากบอบบาง เหงือกอักเสบ เสียวฟัน ควรหลีกเลี่ยงยาสีฟันที่มีสารไฮเดรตซิลิกา (Hydrated silica) ซึ่งเป็นสารขัดถูและเป็นสารให้ความขาวที่มีอันตรายกับเคลือบฟัน
-
หลีกเลี่ยงยาสีฟันที่มี SLS (Sodium lauryl sulphate) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนและเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อผิวหนัง ที่สำคัญหากสารนี้ซึมผ่านเข้าร่างกายในปริมาณมาก ๆ อาจเกิดการสะสมที่ตา ตับ สมอง หัวใจ และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวด้วย
ได้รู้กันไปแล้วว่าควรเลือกยาสีฟันอย่างไร งั้นมาส่องกันว่ายาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ยี่ห้อไหนดี ในปี 2022
มียี่ห้อไหนบ้าง
1. ยาสีฟันซิสเท็มมา อัลตร้า แคร์ & โพรเทคท์
ยาสีฟันซิสเท็มมาจัดฟลูออไรด์มาให้เน้น ๆ ถึง 1,500 ppm เต็มแม็กซ์ของปริมาณฟลูออไรด์ที่ควรมีในยาสีฟัน อีกทั้งยังผลิตมาให้เลือกถึง 4 สูตรด้วยกัน ทั้งสูตรไอซี่ มินต์ เย็นสดชื่นทั่วทั้งปาก, สูตรสปริง มินต์ หอมติดปากสดชื่น, สูตรเชอร์รี บลอสซั่ม หอมกลิ่นอ่อน ๆ ของดอกซากุระ และสูตรแม็กซี่ คูล สำหรับคนที่ชอบแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่ให้ความรู้สึกเย็นสุดขั้ว และยี่ห้อนี้ราคาก็ไม่แพงด้วย
- ขนาด : 40 กรัม/90 กรัม/160 กรัม
- ราคาปกติ : 10 บาท/20 บาท/45 บาท
- แหล่งจำหน่าย : ร้านค้าชั้นนำทั่วไป และช่องทางออนไลน์
2. ยาสีฟัน Dentiste’ Anticavity Max Fluoride Toothpaste Tube
ยาสีฟันชนิดแปรงแห้งโดยไม่ใช้น้ำจากเดนทิสเต้หลอดนี้ นอกจากจะผสมฟลูออไรด์มาเต็มที่ในปริมาณ 1,500 ppm ยังมีสมุนไพรอีก 14 ชนิด ทั้งกานพลู เสจ คาโมมายล์ รวมไปถึงอบเชยก็มีเช่นกัน ดังนั้นใครที่ชอบยาสีฟันสมุนไพรแบบมีฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุด้วย หลอดนี้น่าจะตอบโจทย์ได้
- ขนาด : 10 กรัม/20 กรัม/45 กรัม/100 กรัม
- ราคาปกติ : 30 บาท/59 บาท/115 บาท/250 บาท
- แหล่งจำหน่าย : ร้านค้าชั้นนำทั่วไป และช่องทางออนไลน์
3. ยาสีฟัน HI-HERB
ยาสีฟันสมุนไพรไฮเฮิร์บก็เป็นอีกแบรนด์ยาสีฟันสมุนไพรที่ใส่ฟลูออไรด์มาเต็มที่ 1,500 ppm และมาทีเดียว 3 สูตรด้วยกัน คือ สูตรเดย์ แอนด์ ไนท์ แคร์ ดูแลช่องปากทั้งกลางวันและกลางคืนด้วยสมุนไพร 9 ชนิด จากสวิตเซอร์แลนด์และญี่ปุ่น, สูตรแอดวานซ์ กัม แคร์ จากพลังดอกเกลือบริสุทธิ์ ผสมสารสกัดจากทับทิมและสารสกัดสมุนไพรธรรมชาติ พร้อมด้วยโคเอนไซม์คิวเท็น เพื่อบำรุงดูแลสุขภาพเหงือกและดับปัญหากลิ่นปาก นอกจากนี้ยังมีสูตรพรีเมียม ออร์แกนิก แคร์ ที่เนื้อยาสีฟันจะเป็นเจลใส มีกลิ่นหอมสมุนไพรอ่อน ๆ ไม่แสบปาก ไม่ทำให้ปากแห้ง เพราะใช้สารสกัดออร์แกนิก 100% คือ อโลเวรา แครนเบอร์รี และชากุยากุ จากญี่ปุ่น
- ขนาด : 100 กรัม
- ราคาปกติ : 105 บาท
- แหล่งจำหน่าย : ร้านค้าชั้นนำทั่วไป และช่องทางออนไลน์
4. Dr.PONG 9x herbal plus fluoride toothpaste
- ขนาด : 100 กรัม
- ราคาปกติ : 199 บาท
- แหล่งจำหน่าย : เฟซบุ๊ก Dr. Pong ดอกเตอร์พงศ์
5. ยาสีฟันออโทเด็นเน็กซ์ (AuthoDENEX)
ยาสีฟันแบรนด์นี้ฮิตกันในกลุ่มคนจัดฟันจากการสำรวจของคลินิกทันตกรรมทั่วประเทศ เพราะชูคุณสมบัติช่วยสมานแผลในช่องปาก ช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย ลดปัญหากลิ่นปาก และช่วยให้ลมหายใจหอมสดชื่น ที่สำคัญยังจัดเต็มฟลูออไรด์มาในปริมาณเต็มที่ 1,500 ppm
- ขนาด : 100 กรัม
- ราคาปกติ : 320 บาท
- แหล่งจำหน่าย : ช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ authodenex.com
6. ยาสีฟัน D-Dent
ยาสีฟันฟลูออไรด์ 1,500 ppm ที่พัฒนาสูตรโดยทันตแพทย์ นอกจากป้องกันฟันผุแล้วยังช่วยลดอาการเสียวฟันและทำให้ฟันขาวขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ และแม้จะเป็นยาสีฟันแบรนด์หน้าใหม่แต่ยอดขายก็ Sold out ขายดีไม่เบาเลยล่ะค่ะ ดังนั้นใครอยากเปิดใจใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เต็มแม็กซ์ แบรนด์นี้ก็มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
- ขนาด : 100 กรัม
- ราคาปกติ : 270 บาท
- แหล่งจำหน่าย : เฟซบุ๊ก D-Dent
7. ยาสีฟันเบลซ (Blace)
ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ 1,500 ppm สำหรับคนจัดฟันที่เคลมว่าเป็นเจ้าแรกที่ใช้สารสกัดไฮยาเป็นส่วนผสมในยาสีฟัน จึงเป็นยาสีฟันแบบ 2 in 1 คือเป็นได้ทั้งยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากในหลอดเดียวจบ ช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ลดปัญหากลิ่นปาก และช่วยสมานแผลในช่องปากที่เกิดจากการเสียดสีของเหล็กจัดฟัน ลดอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบ และมีวิตามินที่ช่วยบำรุงเหงือกด้วย
- ขนาด : 50 กรัม
- ราคาปกติ : 290 บาท
- แหล่งจำหน่าย : Shopee
8. Denston Gentle Oral Care Fluoride Toothpaste
เดนส์ตัน ยาสีฟันฟลูออไรด์ อ่อนโยนพิเศษ ที่คิดมาเพื่อผู้ที่แพ้ง่าย มีกลิ่นหอมชาเขียวอ่อน ๆ เนื้อยาสีฟันมีความพิเศษตรงที่แปรงแล้วจะเปลี่ยนจากเนื้อครีมเป็นน้ำว่านหางจระเข้ ช่วยให้แปรงฟันแห้งได้ง่ายและมีฟองน้อย
- ขนาด : 50 กรัม
- ราคาปกติ : 380 บาท
- แหล่งจำหน่าย : Shopee
9. ยาสีฟันโฮโฮเอมุ (HOHOEMU)
ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 3 เท่า หรือ 1,500 ppm ที่คิดมาเพื่อเด็ก ๆ โดยเฉพาะ มีส่วนช่วยป้องกันฟันผุได้ดียิ่งขึ้น และลดปัญหาฟันผุในระยะเริ่มแรกของน้อง ๆ วัยใส รสชาติก็น่าจะถูกใจเด็ก ๆ เพราะมีทั้งกลิ่นส้มและสตรอว์เบอร์รี แม้กลิ่นจะหวาน ๆ แต่ก็ปราศจากน้ำตาลนะคะ เพราะใช้สารให้ความหวานไซลิทอล และยังปราศจากแป้ง รวมทั้งสารกันบูดกลุ่มพาราเบน เพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยของเด็ก ๆ ด้วย
- ขนาด : 65 กรัม
- ราคาปกติ : 149 บาท
- แหล่งจำหน่าย : ช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ hohoemucare.com
บทความที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปาก
- ยาสีฟันฟันขาว 2022 ยี่ห้อไหนดี ควรมีติดไว้ แก้ปัญหาฟันเหลือง เผยยิ้มสดใส
- 9 ยาสีฟันขจัดคราบชา กาแฟ อยากฟันขาว ต้องลอง !
- 12 ยาสีฟันลดกลิ่นปาก เปลี่ยนลมหายใจให้หอมสดชื่นตั้งแต่ตื่นยันหลับ !
- 8 ยาสีฟันสำหรับคนสูบบุหรี่ ช่วยให้ฟันขาว ลดกลิ่นปาก
- 10 น้ำยาบ้วนปาก เพิ่มความสะอาด สดชื่น ที่คนรักสุขภาพเลือกใช้ ยี่ห้อไหนดี
- ไหมขัดฟันยี่ห้อไหนดี พร้อมวิธีใช้อย่างถูกต้อง
- แปรงฟันแห้งช่วยป้องกันฟันผุได้ดีกว่าที่เคยรู้ อย่ามัวแปรงฟันผิด ๆ อยู่อีกเลย !
- เวลาไหนไม่ควรแปรงฟัน เพราะอาจทำให้ฟันสึกเร็วกว่าที่ควร !
- 12 วิธีดับกลิ่นปาก เปลี่ยนลมหายใจสุดอี๋ ให้กลายเป็นหอมสดชื่น
- 9 อันตรายจากหินปูน เพราะอย่างนี้ถึงต้องขูดให้สิ้นซาก !
- วิธีรักษารำมะนาด หรือโรคปริทันต์ คืนความสุขสู่ฟันกันเถอะ !