รีบเช็กแล้วเปลี่ยนตัวเองให้ทัน เพราะไลฟ์สไตล์พาเสี่ยงโรคที่เราทำกันเป็นประจำ หนึ่งความเคยชินนั้นอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพเรื้อรังไปจนตลอดชีวิตเราเลยก็ได้
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
11. โรควิตกกังวล
โรคทางจิตเวชชนิดที่ไม่รุนแรง แต่ก็ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันของเราได้ไม่น้อย และที่น่าตกใจคือในยุคนี้คนป่วยเป็นโรควิตกกังวลกันมากขึ้นถึง 8 ชนิดด้วยกัน ตามข้อมูลจากลิงก์นี้เลยค่ะ
- 8 โรควิตกกังวลที่คนป่วยกันบ่อยในสังคมปัจจุบัน
12. นอนไม่หลับ
ปัญหานอนไม่หลับถือเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเมืองเลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะในแต่ละวันเราต้องพบเจอกับความเครียด ความรู้สึกกดดันจากงาน หรือจากการเรียน รวมไปถึงสภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงในสังคมทุกวันนี้ ทุกอย่างที่กล่าวมาอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เราคิดมาก จนนอนหลับยาก
นอกจากนี้ปัญหานอนไม่หลับในปัจจุบันอาจมีสาเหตุมาจากแสงสีฟ้าจากหน้าจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กได้ด้วยนะคะ ดังนั้นในเบื้องต้นอาจจะลองแก้นอนไม่หลับด้วยการเลิกเล่นสมาร์ทโฟนก่อนเข้านอนสัก 3 ชั่วโมงดูก็ได้ค่ะ เพราะถ้านอนไม่หลับบ่อย ๆ อาจนำมาซึ่งโรคร้ายเหล่านี้
- 11 โรคที่เสี่ยงเพราะแค่อดนอน ไม่อยากล้มหมอนต้องนอนให้พอ !
- 19 วิธีทำให้ง่วงนอนสำหรับคนนอนไม่หลับ ไม่ต้องมัวนับแกะอีกต่อไป
- โยคะแก้นอนไม่หลับ 12 ท่า ทำก่อนนอน รับรองหลับปุ๋ย
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
13. ปวดหัวเรื้อรัง/ไมเกรน
อาการปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตุ และบางสาเหตุก็เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราทำจนติดเป็นนิสัย เช่น นอนหลับไม่เพียงพอ นอนน้อยติดกันหลายวัน ติดดื่มกาแฟมากเกินไป หรือแม้แต่ออกกำลังกายมากเกินไปก็อาจทำให้อาการปวดหัวกำเริบได้นะคะ ดังนั้นใครปวดหัวบ่อย ๆ ต้องรู้ให้ชัดว่าอาการปวดหัวของเราเกิดจากอะไร และมีวิธีไหนรักษาอาการปวดศีรษะได้ตรงจุดบ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไมเกรน หรือมีอาการปวดหัวเรื้อรังในอนาคต
- 15 สาเหตุใกล้ตัว ที่ทำให้ปวดหัวทุกวัน !
- อาการปวดหัว 14 ชนิด รักษาแบบนี้สิถึงตรงจุด
14. โรคกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อนคุกคามสุขภาพคนวัยเรียนและคนวัยทำานมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมที่ถึงที่พักดึก กินมื้อเย็นเลื่อนไปเป็นตอนดึก กินเสร็จแล้วก็อาบน้ำนอนทันที ดังนั้นน้ำย่อยที่ถูกหลั่งออกมาเพื่อย่อยอาหารที่เรากินเข้าไป อาจไหลย้อนกลับมาหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก เพราะกรดไหลย้อนได้ และขอบอกเลยนะคะว่าอาการนี้เป็นแล้วทรมาน รักษาก็ต้องใช้เวลาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- โรคกรดไหลย้อน-โรคกระเพาะ ความเหมือนที่แตกต่าง
- 12 อาหารที่ไม่ควรกินก่อนนอน เสี่ยงกรดไหลย้อน แถมนอนไม่หลับ
- กินแล้วนอนทันที พฤติกรรมนี้ใช่แค่อ้วน !
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
15. โรคกระเพาะอาหาร
เชื่อว่าการกินข้าวให้ตรงเวลา เป็นเรื่องที่หลายคนไม่สามารถทำได้ในทุกวันนี้ เพราะมีหลายปัจจัยมาก ๆ ที่ทำให้เราไม่สามารถกะเกณฑ์เวลารับประทานอาหารอย่างเป๊ะ ๆ ได้ ทั้งงานที่อาจจะติดค้างจนล่วงเลยเวลาพักเที่ยงไป หรือสภาพการจราจรที่ติดขัดสลับหยุดนิ่ง กว่าจะกลับถึงบ้านก็เลยเวลาอาหารเย็นไปแล้ว ไหนจะเช้าในวันหยุดที่มักจะตื่นสาย ๆ บ่าย ๆ สรุปคือพลาดทั้งอาหารเช้า อาหารเที่ยง กลายเป็นกินมื้อเย็นรวดเดียวไปอีก ถ้าสิ่งที่กล่าวอ่านแล้วคุ้น ๆ เหมือนสิ่งที่เราทำประจำ ก็เตรียมตัวรอรับโรคกระเพาะอาหารเป็นโรคประจำตัวได้เลยค่ะ
- โรคกระเพาะอาหาร อาการใกล้ตัวที่ต้องรู้จัก
16. ท้องผูก
นี่ก็ไม่ได้อยากจะโทษไลฟ์สไตล์เร่งรีบเท่าไรหรอกนะคะ แต่ว่าสาเหตุที่ทำให้หลายคนมีอาการท้องผูกก็มาจากวิถีชีวิตที่รีบไปซะจะทุกวินาทีจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมรีบบึ่งไปทำงานตั้งแต่เช้า ตืนแต่เช้ามืด รีบอาบน้ำแต่งตัว จนไม่มีเวลานั่งถ่ายอุจจาระ อีกทั้งพฤติกรรมรีบกินแข่งกับเวลาที่ทำให้เราต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแช่แข็งมาอุ่นกิน ข้าวเหนียวหมูปิ้งนี่ก็บ่อย ไก่ทอด พิซซ่า และอาหารสิ้นคิดอย่างกะเพราไข่ดาวก็ถี่ไม่น้อย
สรุปในแต่ละวันร่างกายเลยไม่ค่อยได้รับไฟเบอร์จากอาหารในปริมาณที่เพียงพอ ยิ่งบางคนติดดื่มชา-กาแฟ คาเฟอีนก็จะเพิ่มโอกาสท้องผูกให้เราไปอีก และเมื่อท้องผูกบ่อย ๆ หลายคนอาจแก้ปัญหาง่าย ๆ ด้วยการหาไฟเบอร์สำเร็จรูปมารับประทาน ซึ่งอาจช่วยแก้ท้องผูกได้ชั่วครั้งชั่วคราวค่ะ ทว่าหากเราฝึกร่างกายให้พึ่งไฟเบอร์สังเคราะห์จนชิน ระบบขับถ่ายอาจเสียสมดุลขึ้นได้ง่าย ๆ นั่นแปลว่าร่างกายจะไม่ยอมขับถ่ายเองหากไม่ได้รับไฟเบอร์เสริม ดังนั้นพยายามกินผัก-ผักไม้ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายของเราเป็นไปตามวิถีที่ควรจะเป็นดีกว่านะคะ
- ท้องผูกทำไงดี อาการยอดฮิต ต้องพิชิตด้วยการเปลี่ยนนิสัย !
- 10 ผลไม้แก้ท้องผูก กินให้ถูกก็โล่งสบายท้อง
- 10 เมนูอาหารไทยแก้ท้องผูก กินแล้วปลุกระบบขับถ่าย
- 10 สมุนไพรแก้ท้องผูก ปราบทุกอาการถ่ายยากให้อยู่หมัด
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
17. โรคริดสีดวงทวาร
ถ้าเมื่อไรที่เกิดอาการท้องผูกแล้ว สิ่งที่มักจะตามมาก็คือโรคริดสีดวงทวารที่ใครก็ไม่อยากพบเจอนี่แหละค่ะ เพราะการที่เราพยายามจะเบ่ง พยายามจะนั่งจนกว่าจะถ่าย อาจส่งผลให้เกิดแรงดันในช่องท้องมาก เส้นเลือดดำถ่ายเทไม่สะดวกและเกิดอาการโป่งพองขึ้น กลายเป็นริดสีดวงทวารในที่สุด ซึ่งหากไม่อยากเป็นริดซี่ ก็พยายามกินผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยเยอะ ๆ พร้อมทั้งเลี่ยงการนั่งส้วมนาน ๆ ด้วยก็จะดีมาก
- วิธีแก้โรคริดสีดวงทวาร รักษาง่าย หายห่วง !
- 8 สมุนไพรรักษาริดสีดวงทวาร ปราบความทรมานด้วยตัวเอง
18. โรคลำไส้แปรปรวน
อีกหนึ่งโรคฮิตของคนวัยทำงาน เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างอาจทำให้ระบบขับถ่ายและระบบทางเดินอาหารของเราผิดปกติไป เช่น พฤติกรรมนั่งแช่เล่นมือถือในห้องน้ำ ทำให้เกิดอาการถ่ายไม่สุดบ่อยครั้ง กระทั่งพัฒนาไปเป็นโรคลำไส้แปรปรวนได้ หรือพฤติกรรมกินอาหารชนิดเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารชนิดนั้น ๆ มากเกินไป รวมไปถึงภาวะความเครียดก็อาจกระตุ้นอาการของโรคลำไส้แปรปรวนได้
ดังนั้นลองสังเกตกันดูค่ะว่า เรามีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย อืดท้อง แน่นท้อง บ่อย ๆ และอาการไม่สบายท้องจะหายหลังจากขับถ่ายเสร็จกันบ้างหรือเปล่า ถ้าคำตอบคือใช่ ก็รีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาโดยด่วนเลยดีกว่า เนื่องจากอาการของโรคลำไส้แปรปรวน บางทีอาจเป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นของโรคร้ายอย่างโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือโรคมะเร็งทางเดินอาหาร เป็นต้น
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
19. โรคจากปัญหารถติด !
แม้หลายคนจะมองว่าปัญหารถติดเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันกันไปแล้ว แต่อย่ามองข้ามสุขภาพของตัวเองกันดีกว่า เพราะมีงานวิจัยที่เผยว่า การเดินทางโดยใช้ระยะเวลาเนิ่นนานเป็นชั่วโมง อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคต่าง ๆ จนสุขภาพอาจพังได้เลย แต่หากใครสงสัยว่าแค่รถติดจะทำเราป่วยได้ยังไง ก็ลองมาหาคำตอบกันค่ะ
- โรคจากการเดินทาง รถติด นั่งนาน ๆ เดี๋ยวสุขภาพก็พัง
20. โรคที่เกิดจากการสวมใส่รองเท้าส้นสูง
สาว ๆ ที่จำเป็นต้องใส่ส้นสูงเพื่อบุคลิกที่ดี โดยเฉพาะในอาชีพบางอาชีพที่ต้องแต่งตัวดูดี สวมใส่ส้นสูงให้ดูสง่า แถมยังต้องเดินบนรองเท้าส้นสูงติดต่อกันนาน ๆ หรือแม้แต่การยืนบนรองเท้าส้นสูงนาน ๆ ก็อาจนำพาสารพัดโรคมาให้เราได้ ตั้งแต่โรคเส้นเลือดขอด หรือร้ายแรงไปถึงโรคเท้าผิดรูป ฝ่าเท้าบวมช้ำ ก็อาจมาเยือนเช่นกัน
- อันตรายจากส้นสูง สวยสง่าแต่ปัญหาสุขภาพเพียบ !
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
21. โรคอ้วน
แม้ในยุคนี้จะเป็นยุคของคนเฮลธ์ตี้ แต่ก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยค่ะที่ชอบถือคติว่า ถ้าใจเราผอมกินเยอะเท่าไรก็ไม่อ้วนหรอก และนั่นก็เป็นเหตุให้ตามใจปากอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง นำมาซึ่งน้ำหนักตัวที่เพิ่มพรวด ๆ จนในที่สุดก็อ้วนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งความอ้วนก็ไม่ใช่เรื่องน่าขำเลยนะคะ เพราะแค่น้ำหนักเราเกินเกณฑ์มาตรฐาน โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ ก็จะพากันรุมเร้า อย่างน้อยที่สุดเราก็จะมีอาการเหนื่อยง่าย เพลียบ่อย หนักเข้าก็อาจจะเกิดอาการปวดเข่า ปวดข้อ เท้าบวม เพราะร่างกายรับน้ำหนักตัวเองไม่ไหว ความเสื่อมของสุขภาพภายในเลยเกิดขึ้น
- คนอ้วนระวังไว้ แค่น้ำหนักเกินก็เสี่ยงตาย 8 โรคอันตรายจะถามหา !
22. โรคเบาหวานชนิดที่สอง
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คุกคามไลฟ์สไตล์ของมนุษย์เงินเดือนเพิ่มขึ้นทุกวัน และพฤติกรรมพาป่วยเบาหวานก็คือพฤติกรรมกินอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารรสหวานทั้งหลาย ที่หากเสพติดน้ำหวาน ของหวาน ของทอด ๆ มัน ๆ อาหารประเภทแป้งขัดขาวมากเกินไป แถมยังไม่ชอบออกกำลังกาย ร่างกายที่มีปริมาณน้ำตาลสะสมมากเกินไป อาจส่งผลให้อินซูลินในร่างกายไม่เพียงพอต่อการนำน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงาน แล้วน้ำตาลที่เหลืออยู่ก็จะตกค้าง ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง และหากปล่อยให้ร่างกายเป็นแบบนี้เรื่อย ๆ ฮอร์โมนอินซูลินก็จะแปรปรวน จนในที่สุดก็ไม่สามารถดึงน้ำตาลในร่างกายไปเป็นพลังงานได้ทั้งหมด ก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงถึงขั้นเป็นเบาหวานได้นั่นเอง
- โรคเบาหวาน ภัยเงียบตัวร้ายที่คนไทยเป็นกันมาก
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
23. โรคความดันโลหิตสูง
เมื่ออ้วน เป็นเบาหวาน ก็แน่นอนว่าโรคที่จะตามมาอีกไม่นานก็คือโรคความดันโลหิตสูง เนื่องด้วยความอ้วน และพฤติกรรมที่ทำให้อ้วน บวกกับภาวะเครียดจากงาน เครียดจากการเรียน เป็นปัจจัยเสริมให้ระบบไหลเวียนโลหิตเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้โดยที่ผู้ป่วยก็อาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบอยู่ในร่างกาย เพราะโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการแสดงในระยะแรก ๆ ทว่าหากไม่ได้รับการรักษา ภาวะความดันโลหิตสูงอาจอยู่ในจุดที่อันตราย โดยผู้ป่วยอาจมีอาการหน้ามืด ปวดศีรษะ หรือร้ายแรงถึงขั้นหลอดเลือดในสมองแตก ตีบ ตัน ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้
- โรคความดันโลหิตสูง เพชฌฆาตเงียบที่ต้องระวัง
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
24. โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่มีสาเหตุจากภาวะไขมันในเลือดสูงจากการรับประทานอาหารไขมันสูง ส่งผลให้ไขมันชนิดเลวเหล่านี้อาจหลุดรอดไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด เนื่องจากร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงานได้หมด (ไม่ได้ออกกำลังกายหรือไม่ค่อยได้ใช้พลังงานจากการเคลื่อนไหว) และเมื่อหลอดเลือดมีไขมันเลวเกาะอยู่ ก็อาจเกิดภาวะอักเสบจากอนุมูลอิสระที่แฝงมากับไขมันเลว
ส่งผลให้ร่างกายส่งเม็ดเลือดขาวมาจัดการความอักเสบที่เกิดขึ้นกับเซลล์ ซึ่งเมื่อเม็ดเลือดขาวมาจับตัวกับสารอนุมูลอิสระจนเป็นก้อนที่ค้างอยู่ในระบบโลหิต เลือดก็จะไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่ดี โดยเฉพาะการสูบฉีดเลือดไปสู่หัวใจ ซึ่งหากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอกับความต้องการ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไขมันอุดตันเส้นเลือดก็จะมาเยือนในที่สุดค่ะ
- เจ็บหน้าอกจี๊ด ๆ อาการน่าสงสัย นี่ใช่โรคหัวใจหรือเปล่า ?!
- 10 พฤติกรรมเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ทราบแล้วเปลี่ยนให้ทันก่อนหมดลมหายใจ !
- 10 สมุนไพรบำรุงหัวใจ ของดีใกล้ตัว มีไว้ติดครัวก็ดี
25. โรคหลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตก
ปัจจุบันพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเกิดในวัยทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้คือความเครียดสะสม การบริโภคอาหารไขมันสูง พฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย ดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ พฤติกรรมดังที่กล่าวมามีส่วนทำให้หลอดเลือดเสื่อมเร็วกว่าปกติ ยิ่งในคนที่มีภาวะเครียดมาก หรือมีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตกได้มากขึ้น แนวโน้มจะเป็นผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน
- โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน-เส้นเลือดในสมองแตก รู้ทันก่อนก็รอด ปลอดจากอัมพาต
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
26. โรคถุงลมโป่งพอง
สิงห์อมควันทั้งหลายระวังไว้ให้ดีค่ะ เพราะพฤติกรรมสูบบุหรี่ที่ติดกันอยู่ทุกวันนี้อาจเป็นสาเหตุให้ปอดเกิดการสะสมสารพิษจากบุหรี่ ส่งผลให้เกิดภาวะปอดอักเสบและโรคถุงลมโป่งพองได้ อีกทั้งการสูบบุหรี่ในบ้าน ในอาคาร สำนักงาน หรือในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ไม่สะดวก สารพิษจากบุหรี่อาจติดเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ติดอยู่ในเครื่องปรับอากาศ ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ส่งผลกระทบให้คนใกล้ตัวได้รับสารพิษเข้าร่างกายไปด้วยทั้ง ๆ ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลยสักมวน...
- โทษของบุหรี่ ยิ่งสูบยิ่งป่วยโรคร้าย ตายไวไม่รู้ตัว
- โรคถุงลมโป่งพอง โรคร้ายที่มากับบุหรี่
27. ความเสี่ยงโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
โรคร้ายอย่างมะเร็งเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ในร่างกายเรา โดยที่เราไม่รู้ตัว และที่ร้ายไปกว่านั้น สาเหตุของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะโรคมะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร หรือมะเร็งลำไส้ ก็ล้วนแต่เกิดจากพฤติกรรมบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ที่ไม่มีประโยชน์มากเกินไป ร่วมกับพฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย ก็อาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ร่างกายสะสมความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ไว้เยอะ รู้ตัวอีกทีก็ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเข้าให้แล้ว
- เช็กอาการ 15 โรคมะเร็งยอดฮิต สาเหตุเสียชีวิตติดอันดับของคนไทย
รู้แล้วก็เลี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อโรคให้ไกล เพื่อชีวิตที่สดใส และสุขภาพที่ไฉไลในอนาคตกันดีกว่าค่ะ :)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
, 
ศูนย์บริหารจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรงพยาบาลเปาโล
timesofindia
โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันเริ่มคุกคามสุขภาพของคนวัยทำงานมากขึ้นเรื่อย
ๆ แถมแนวโน้มผู้ป่วยในวัยรุ่นก็น่าเป็นห่วงไม่น้อยเหมือนกัน ทั้ง ๆ
ที่โรคและอาการเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ หากเราลด ละ หรือเลี่ยง
ก็อาจช่วยป้องกันร่างกายไม่ให้เข้าใกล้โรคจากการใช้ชีวิตประจำวันได้
ดังนั้นเพื่อเป็นการแจ้งเตือนภัยสุขภาพที่เราแทบจะใช้ชีวิตร่วมกับโรคเหล่านี้อยู่ทุกวัน
กระปุกดอทคอมเลยอยากให้ทุกท่านมาลองเช็กกันว่า โรคที่เกิดจากพฤติกรรมทำลายสุขภาพของเรานั้นมีอะไรบ้าง
แล้วแต่ละโรคเกิดขึ้นจากไลฟ์สไตล์แบบไหน
รู้ไว้จะได้เลี่ยงให้ถูกเพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
1. ดวงตาเมื่อยล้า
ไลฟ์สไตล์ของเราในทุก ๆ วัน ที่นั่งทำงานกว่า 8 ชั่วโมงหน้าจอคอมพิวเตอร์ ว่างจากงานก็เล่นสมาร์ทโฟนยาวไปแทบไม่ได้หยุดพัก วิถีแบบนี้แหละที่ทำให้เรามีอาการเมื่อยล้าสายตา ปวดเบ้าตา หรือมีอาการปวดตา ลามไปจนปวดศีรษะ เวียนหัว สายตาพร่าเบลอ หลุดโฟกัส เนื่องจากสายตาถูกใช้งานหนักมากจนเกิดอาการเมื่อยล้าสายตานั่นเอง
2. ภาวะตาเขชั่วคราว
การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์นาน ๆ อาจทำให้ประสาทตาเบลอ เอียง หรือเห็นภาพซ้อนได้ในบางขณะ ซึ่งทางจักษุแพทย์จะเรียกอาการนี้ว่า ภาวะตาเขชั่วคราว โดยอาการตาเขจะเกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ทว่าแม้การจ้องหน้าจอนาน ๆ จะไม่ก่อให้เกิดอาการตาเขอย่างถาวร แต่พฤติกรรมที่ไม่เป็นห่วงสุขภาพสายตาเช่นนี้ก็อาจนำอาการไม่สบายอื่น ๆ มาให้เราได้ ดังนั้นอย่าเป็นคนติดหน้าจอมากเกินไปดีกว่านะคะ

3. โรควุ้นในตาเสื่อม
สมัยก่อนอาจเป็นโรคสายตาที่เกิดได้กับผู้สูงวัย กระทั่งกลายมาเป็นหนึ่งในโรคสายตาของคนอายุน้อยในยุคปัจจุบัน ซึ่งสาเหตุหลักก็คือพฤติกรรมใช้สายตาเพ่งหน้าจอติดต่อกันเป็นเวลานาน ยิ่งกับคนที่ติดเกมบนมือถือ ติดดูหนัง/ซีรีส์ หรือติดโซเซียล ชนิดที่จ้องหน้าจอกันแทบไม่กะพริบตา กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อาจมองเห็นหยากไย่ ตาข่าย หรือเส้นอะไรวนไปวนมาเหมือนยุงบิน แต่ปัดเท่าไรก็ไม่โดนสักที ซึ่งนี่แหละคืออาการบ่งชี้โรควุ้นในตาเสื่อม ดังนั้นทางลดความเสี่ยงที่ดีที่สุดคือการพักสายตาบ่อย ๆ และพยายามหลีกเลี่ยงการเพ่งมองอะไรต่อเนื่องนาน ๆ นะคะ
- เห็นหยากไย่ลอยไปลอยมา สัญญาณโรควุ้นในตาเสื่อม
4. โรคต้อหินเฉียบพลัน
อีกหนึ่งโรคทางสายตาที่จัดว่าน่ากลัวมากถึงมากที่สุด เพราะโรคนี้ทำให้เราเสี่ยงตาบอดได้เลยนะคะ ดังนั้นจึงอยากเตือนคนที่ใช้สายตาไปกับหน้าจอวันละนาน ๆ และมักจะดู จะเล่น สมาร์ทโฟนติดต่อกันวันละหลายชั่วโมงให้ใช้ชีวิตห่างจากหน้าจอกันบ้าง เพราะการใช้สายตาเพ่งหรือจ้องวัตถุใดก็ตามเป็นเวลานาน ๆ ความดันในลูกตาจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคต้อหินเฉียบพลัน พร้อมกันนั้นกล้ามเนื้อดวงตาอาจมีอาการล้าที่รุนแรงมากกว่าปกติ เป็นเหตุให้เกิดอาการเจ็บบริเวณเบ้าตาและลูกตาได้ ร่วมกับอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ก็จะตามมา
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
5. ออฟฟิศซินโดรม
คนที่มีพฤติกรรมติดหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ และมักจะใช้เวลาในโลกออนไลน์นานเฉลี่ย 2-6 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสจะป่วยด้วยโรคออฟฟิศซินโดรมค่อนข้างสูง เนื่องจากลักษณะท่านั่งจ้องหน้าจอ การเพ่งสายตาเป็นเวลานาน ๆ และนั่งในท่าเดิมอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้ ซึ่งหากตอนนี้ใครมีอาการปวดตึงที่คอ บ่า ไหล่ ร่วมกับอาการปวดสายตาและศีรษะ ลองเช็กอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมให้ชัด ๆ ดูอีกทีค่ะ
- ปรับ เปลี่ยน เลี่ยง ออฟฟิศซินโดรม
6. อาการหมอนรองกระดูกสันหลังคอเสื่อม
หากเราเฉยเมยกับอาการปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ โดยคิดเอาเองว่าเป็นอาการปวดเมื่อยเบสิกของมนุษย์เงินเดือน แค่นวดหรือทาน้ำมันก็คงจะหาย แต่เอาเข้าจริง ๆ อาการนี้อาจเรื้อรังและลุกลามเป็นอาการหมอนรองกระดูกสันหลังคอเสื่อม โดยอาการเบื้องต้นมักจะปวดศีรษะ ได้ยินเสียงในหู ปวดกระบอกตา รวมทั้งรู้สึกวิงเวียนคล้ายอาการบ้านหมุน ยิ่งขยับเคลื่อนไหวก็ยิ่งปวดทรมานไปกันใหญ่
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
7. หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
ชื่อโรคนี้คุ้น ๆ ใช่ไหมคะ ด้วยเพราะมีผู้ป่วยโรคนี้เยอะขึ้น จนชื่ออาการหรือโรคเริ่มจะคุ้นชินหูกันแล้ว ซึ่งแน่นอนค่ะว่า อาการหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เกิดจากพฤติกรรมนั่งท่าเดิม ๆ ติดกันเป็นเวลานาน หรือไลฟ์สไตล์ที่ไม่ค่อยได้ขยับเคลื่อนไหวร่างกายไปไหนเท่าไรนี่แหละค่ะ ซึ่งอาการเบื้องต้นอาจจะมีอาการปวดเมื่อยตามคอ สะบัก บ่า ไหล่ มีอาการชาที่แขน มือ แขน ไม่ค่อยมีแรงเนื่องจากหมอนรองกระดูกกดทบเส้นประสาท ทำให้เลือดไหลเวียนบริเวณกล้ามเนื้อนั้น ๆ ได้ค่อนข้างยาก จึงมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขึ้นได้
- ปวดหลังเรื้อรังร้าวลงขา สัญญาณโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
8. โรคพังผืดทับเส้นประสาท
ไม่เพียงแต่การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการเสพติดสมาร์ทโฟนจนเกินไป ที่ทำให้คนยุคนี้ป่วยโรคพังผืดทับเส้นประสาทกันมากขึ้น แต่ในอาชีพบางอาชีพ เช่น ช่างเย็บผ้า อาชีพแม่บ้านที่ต้องใช้ข้อมือในการทำงาน ปัด กวาด เช็ดถู ติดต่อกันนาน ๆ หรืออาชีพที่ต้องใช้ข้อมือกระดกขึ้นรวมทั้งการสั่นกระแทก เช่น ช่างฝีมือประเภทต่าง ๆ พนักงานโรงงานที่มีการใช้ข้อมือยก-หิ้วของหนักบ่อย ๆ รวมไปถึงพนักงานก่อสร้างที่ต้องใช้งานข้อมือเป็นส่วนใหญ่ก็เสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
โดยสาเหตุของโรคนี้ก็เกิดจากการใช้งานข้อมือในท่าเดิมซ้ำ ๆ ทำให้เส้นเอ็น ข้อ และกระดูกบริเวณข้อมือไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว กระทั่งมีพังผืดหนาตัวขึ้นบริเวณข้อมือด้านฝ่ามือ และไปกดทับถูกเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) ซึ่งอยู่ผ่านช่องข้อมือแขนงไปยังนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง โดยเมื่อเส้นประสาทถูกกดทับ จะทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่แขน มีอาการปวดและชาตามนิ้ว และถ้าเส้นประสาทถูกกดทับนาน ๆ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือลีบเล็กลงได้
- เล่นคอมนาน-กดโทรศัพท์บ่อย เสี่ยงโรคพังผืดทับเส้นประสาท
![โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน]()
9. นิ้วล็อก
คนติดโซเชียลหนักมากหรือติดเกมมือถือหนักมากชนิดที่แทบไม่วางมือจากโทรศัพท์เลย อาจเสี่ยงต่อโรคนิ้วล็อกค่อนข้างสูง เพราะการถือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่องบ่อย ๆ กล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือจะถูกใช้งานมากเกินปกติ ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณนิ้วจนไม่สามารถเหยียดแบนิ้วมือได้ นิ้วเหมือนถูกล็อกไม่ให้ขยับ ซึ่งอาการนี้ไม่ถือว่าอันตรายมาก แต่ให้ความเจ็บปวดทรมานได้ไม่เบานะคะ ดังนั้นควรดูแลตัวเองให้ดีก่อนจะเกิดโรคนิ้วล็อกกับเราดีกว่า
- วิธีนวดรักษานิ้วล็อกด้วยตัวเอง คนติดโซเชียลควรรู้ !
10. โรคเครียด
ความเครียดที่ก่อตัวขึ้นอย่างที่เราก็ไม่รู้ตัว จากการใช้โทรศัพท์มือถือในยุคดิจิทัลนี้แหละค่ะ ที่อาจสั่งสมจนในที่สุดก็กลายเป็นโรคเครียดขึ้นได้ โดยเฉพาะคนวัยทำงาน เพราะการมีสมาร์ทโฟนทำให้เราติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก หลายคนจึงเหมือนต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เดี๋ยวคอยเช็กเมล เดี๋ยวตอบไลน์บอสบ้าง วันหยุดและคำว่าพื้นที่ส่วนตัวเหมือนค่อย ๆ หายไปทีละนิดทีละหน่อย และเชื่อไหมว่า กับบางคน แค่โทรศัพท์แบตหมดก็ร้อนรนยกใหญ่แล้ว ดังนั้นหากไม่อยากกลายเป็นคนเครียดง่าย แนะนำให้แบ่งเวลาชีวิตของตัวเองให้เป็นสัดส่วน เวลาไหนควรทำงาน เวลาไหนต้องพักผ่อน จริง ๆ แล้วเราเลือกได้เองเลยนะคะ
- ผลกระทบสุดแย่ ที่เกิดเพราะแค่คุณเครียด
- 40 วิธีคลายเครียด สลัดทิ้งให้เกลี้ยง แค่ 5 นาทีก็เอาอยู่

ไลฟ์สไตล์ของเราในทุก ๆ วัน ที่นั่งทำงานกว่า 8 ชั่วโมงหน้าจอคอมพิวเตอร์ ว่างจากงานก็เล่นสมาร์ทโฟนยาวไปแทบไม่ได้หยุดพัก วิถีแบบนี้แหละที่ทำให้เรามีอาการเมื่อยล้าสายตา ปวดเบ้าตา หรือมีอาการปวดตา ลามไปจนปวดศีรษะ เวียนหัว สายตาพร่าเบลอ หลุดโฟกัส เนื่องจากสายตาถูกใช้งานหนักมากจนเกิดอาการเมื่อยล้าสายตานั่นเอง
2. ภาวะตาเขชั่วคราว
การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์นาน ๆ อาจทำให้ประสาทตาเบลอ เอียง หรือเห็นภาพซ้อนได้ในบางขณะ ซึ่งทางจักษุแพทย์จะเรียกอาการนี้ว่า ภาวะตาเขชั่วคราว โดยอาการตาเขจะเกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ทว่าแม้การจ้องหน้าจอนาน ๆ จะไม่ก่อให้เกิดอาการตาเขอย่างถาวร แต่พฤติกรรมที่ไม่เป็นห่วงสุขภาพสายตาเช่นนี้ก็อาจนำอาการไม่สบายอื่น ๆ มาให้เราได้ ดังนั้นอย่าเป็นคนติดหน้าจอมากเกินไปดีกว่านะคะ

3. โรควุ้นในตาเสื่อม
สมัยก่อนอาจเป็นโรคสายตาที่เกิดได้กับผู้สูงวัย กระทั่งกลายมาเป็นหนึ่งในโรคสายตาของคนอายุน้อยในยุคปัจจุบัน ซึ่งสาเหตุหลักก็คือพฤติกรรมใช้สายตาเพ่งหน้าจอติดต่อกันเป็นเวลานาน ยิ่งกับคนที่ติดเกมบนมือถือ ติดดูหนัง/ซีรีส์ หรือติดโซเซียล ชนิดที่จ้องหน้าจอกันแทบไม่กะพริบตา กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อาจมองเห็นหยากไย่ ตาข่าย หรือเส้นอะไรวนไปวนมาเหมือนยุงบิน แต่ปัดเท่าไรก็ไม่โดนสักที ซึ่งนี่แหละคืออาการบ่งชี้โรควุ้นในตาเสื่อม ดังนั้นทางลดความเสี่ยงที่ดีที่สุดคือการพักสายตาบ่อย ๆ และพยายามหลีกเลี่ยงการเพ่งมองอะไรต่อเนื่องนาน ๆ นะคะ
- เห็นหยากไย่ลอยไปลอยมา สัญญาณโรควุ้นในตาเสื่อม
4. โรคต้อหินเฉียบพลัน
อีกหนึ่งโรคทางสายตาที่จัดว่าน่ากลัวมากถึงมากที่สุด เพราะโรคนี้ทำให้เราเสี่ยงตาบอดได้เลยนะคะ ดังนั้นจึงอยากเตือนคนที่ใช้สายตาไปกับหน้าจอวันละนาน ๆ และมักจะดู จะเล่น สมาร์ทโฟนติดต่อกันวันละหลายชั่วโมงให้ใช้ชีวิตห่างจากหน้าจอกันบ้าง เพราะการใช้สายตาเพ่งหรือจ้องวัตถุใดก็ตามเป็นเวลานาน ๆ ความดันในลูกตาจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคต้อหินเฉียบพลัน พร้อมกันนั้นกล้ามเนื้อดวงตาอาจมีอาการล้าที่รุนแรงมากกว่าปกติ เป็นเหตุให้เกิดอาการเจ็บบริเวณเบ้าตาและลูกตาได้ ร่วมกับอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ก็จะตามมา

คนที่มีพฤติกรรมติดหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ และมักจะใช้เวลาในโลกออนไลน์นานเฉลี่ย 2-6 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสจะป่วยด้วยโรคออฟฟิศซินโดรมค่อนข้างสูง เนื่องจากลักษณะท่านั่งจ้องหน้าจอ การเพ่งสายตาเป็นเวลานาน ๆ และนั่งในท่าเดิมอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้ ซึ่งหากตอนนี้ใครมีอาการปวดตึงที่คอ บ่า ไหล่ ร่วมกับอาการปวดสายตาและศีรษะ ลองเช็กอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมให้ชัด ๆ ดูอีกทีค่ะ
- ปรับ เปลี่ยน เลี่ยง ออฟฟิศซินโดรม
6. อาการหมอนรองกระดูกสันหลังคอเสื่อม
หากเราเฉยเมยกับอาการปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ โดยคิดเอาเองว่าเป็นอาการปวดเมื่อยเบสิกของมนุษย์เงินเดือน แค่นวดหรือทาน้ำมันก็คงจะหาย แต่เอาเข้าจริง ๆ อาการนี้อาจเรื้อรังและลุกลามเป็นอาการหมอนรองกระดูกสันหลังคอเสื่อม โดยอาการเบื้องต้นมักจะปวดศีรษะ ได้ยินเสียงในหู ปวดกระบอกตา รวมทั้งรู้สึกวิงเวียนคล้ายอาการบ้านหมุน ยิ่งขยับเคลื่อนไหวก็ยิ่งปวดทรมานไปกันใหญ่

ชื่อโรคนี้คุ้น ๆ ใช่ไหมคะ ด้วยเพราะมีผู้ป่วยโรคนี้เยอะขึ้น จนชื่ออาการหรือโรคเริ่มจะคุ้นชินหูกันแล้ว ซึ่งแน่นอนค่ะว่า อาการหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เกิดจากพฤติกรรมนั่งท่าเดิม ๆ ติดกันเป็นเวลานาน หรือไลฟ์สไตล์ที่ไม่ค่อยได้ขยับเคลื่อนไหวร่างกายไปไหนเท่าไรนี่แหละค่ะ ซึ่งอาการเบื้องต้นอาจจะมีอาการปวดเมื่อยตามคอ สะบัก บ่า ไหล่ มีอาการชาที่แขน มือ แขน ไม่ค่อยมีแรงเนื่องจากหมอนรองกระดูกกดทบเส้นประสาท ทำให้เลือดไหลเวียนบริเวณกล้ามเนื้อนั้น ๆ ได้ค่อนข้างยาก จึงมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขึ้นได้
- ปวดหลังเรื้อรังร้าวลงขา สัญญาณโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
8. โรคพังผืดทับเส้นประสาท
ไม่เพียงแต่การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการเสพติดสมาร์ทโฟนจนเกินไป ที่ทำให้คนยุคนี้ป่วยโรคพังผืดทับเส้นประสาทกันมากขึ้น แต่ในอาชีพบางอาชีพ เช่น ช่างเย็บผ้า อาชีพแม่บ้านที่ต้องใช้ข้อมือในการทำงาน ปัด กวาด เช็ดถู ติดต่อกันนาน ๆ หรืออาชีพที่ต้องใช้ข้อมือกระดกขึ้นรวมทั้งการสั่นกระแทก เช่น ช่างฝีมือประเภทต่าง ๆ พนักงานโรงงานที่มีการใช้ข้อมือยก-หิ้วของหนักบ่อย ๆ รวมไปถึงพนักงานก่อสร้างที่ต้องใช้งานข้อมือเป็นส่วนใหญ่ก็เสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
โดยสาเหตุของโรคนี้ก็เกิดจากการใช้งานข้อมือในท่าเดิมซ้ำ ๆ ทำให้เส้นเอ็น ข้อ และกระดูกบริเวณข้อมือไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว กระทั่งมีพังผืดหนาตัวขึ้นบริเวณข้อมือด้านฝ่ามือ และไปกดทับถูกเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) ซึ่งอยู่ผ่านช่องข้อมือแขนงไปยังนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง โดยเมื่อเส้นประสาทถูกกดทับ จะทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่แขน มีอาการปวดและชาตามนิ้ว และถ้าเส้นประสาทถูกกดทับนาน ๆ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือลีบเล็กลงได้
- เล่นคอมนาน-กดโทรศัพท์บ่อย เสี่ยงโรคพังผืดทับเส้นประสาท

คนติดโซเชียลหนักมากหรือติดเกมมือถือหนักมากชนิดที่แทบไม่วางมือจากโทรศัพท์เลย อาจเสี่ยงต่อโรคนิ้วล็อกค่อนข้างสูง เพราะการถือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่องบ่อย ๆ กล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือจะถูกใช้งานมากเกินปกติ ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณนิ้วจนไม่สามารถเหยียดแบนิ้วมือได้ นิ้วเหมือนถูกล็อกไม่ให้ขยับ ซึ่งอาการนี้ไม่ถือว่าอันตรายมาก แต่ให้ความเจ็บปวดทรมานได้ไม่เบานะคะ ดังนั้นควรดูแลตัวเองให้ดีก่อนจะเกิดโรคนิ้วล็อกกับเราดีกว่า
- วิธีนวดรักษานิ้วล็อกด้วยตัวเอง คนติดโซเชียลควรรู้ !
10. โรคเครียด
ความเครียดที่ก่อตัวขึ้นอย่างที่เราก็ไม่รู้ตัว จากการใช้โทรศัพท์มือถือในยุคดิจิทัลนี้แหละค่ะ ที่อาจสั่งสมจนในที่สุดก็กลายเป็นโรคเครียดขึ้นได้ โดยเฉพาะคนวัยทำงาน เพราะการมีสมาร์ทโฟนทำให้เราติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก หลายคนจึงเหมือนต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เดี๋ยวคอยเช็กเมล เดี๋ยวตอบไลน์บอสบ้าง วันหยุดและคำว่าพื้นที่ส่วนตัวเหมือนค่อย ๆ หายไปทีละนิดทีละหน่อย และเชื่อไหมว่า กับบางคน แค่โทรศัพท์แบตหมดก็ร้อนรนยกใหญ่แล้ว ดังนั้นหากไม่อยากกลายเป็นคนเครียดง่าย แนะนำให้แบ่งเวลาชีวิตของตัวเองให้เป็นสัดส่วน เวลาไหนควรทำงาน เวลาไหนต้องพักผ่อน จริง ๆ แล้วเราเลือกได้เองเลยนะคะ
- ผลกระทบสุดแย่ ที่เกิดเพราะแค่คุณเครียด
- 40 วิธีคลายเครียด สลัดทิ้งให้เกลี้ยง แค่ 5 นาทีก็เอาอยู่

โรคทางจิตเวชชนิดที่ไม่รุนแรง แต่ก็ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันของเราได้ไม่น้อย และที่น่าตกใจคือในยุคนี้คนป่วยเป็นโรควิตกกังวลกันมากขึ้นถึง 8 ชนิดด้วยกัน ตามข้อมูลจากลิงก์นี้เลยค่ะ
- 8 โรควิตกกังวลที่คนป่วยกันบ่อยในสังคมปัจจุบัน
12. นอนไม่หลับ
ปัญหานอนไม่หลับถือเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเมืองเลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะในแต่ละวันเราต้องพบเจอกับความเครียด ความรู้สึกกดดันจากงาน หรือจากการเรียน รวมไปถึงสภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงในสังคมทุกวันนี้ ทุกอย่างที่กล่าวมาอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เราคิดมาก จนนอนหลับยาก
นอกจากนี้ปัญหานอนไม่หลับในปัจจุบันอาจมีสาเหตุมาจากแสงสีฟ้าจากหน้าจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กได้ด้วยนะคะ ดังนั้นในเบื้องต้นอาจจะลองแก้นอนไม่หลับด้วยการเลิกเล่นสมาร์ทโฟนก่อนเข้านอนสัก 3 ชั่วโมงดูก็ได้ค่ะ เพราะถ้านอนไม่หลับบ่อย ๆ อาจนำมาซึ่งโรคร้ายเหล่านี้
- 11 โรคที่เสี่ยงเพราะแค่อดนอน ไม่อยากล้มหมอนต้องนอนให้พอ !
- 19 วิธีทำให้ง่วงนอนสำหรับคนนอนไม่หลับ ไม่ต้องมัวนับแกะอีกต่อไป
- โยคะแก้นอนไม่หลับ 12 ท่า ทำก่อนนอน รับรองหลับปุ๋ย

อาการปวดหัวเกิดได้จากหลายสาเหตุ และบางสาเหตุก็เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราทำจนติดเป็นนิสัย เช่น นอนหลับไม่เพียงพอ นอนน้อยติดกันหลายวัน ติดดื่มกาแฟมากเกินไป หรือแม้แต่ออกกำลังกายมากเกินไปก็อาจทำให้อาการปวดหัวกำเริบได้นะคะ ดังนั้นใครปวดหัวบ่อย ๆ ต้องรู้ให้ชัดว่าอาการปวดหัวของเราเกิดจากอะไร และมีวิธีไหนรักษาอาการปวดศีรษะได้ตรงจุดบ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไมเกรน หรือมีอาการปวดหัวเรื้อรังในอนาคต
- 15 สาเหตุใกล้ตัว ที่ทำให้ปวดหัวทุกวัน !
- อาการปวดหัว 14 ชนิด รักษาแบบนี้สิถึงตรงจุด
14. โรคกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อนคุกคามสุขภาพคนวัยเรียนและคนวัยทำานมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมที่ถึงที่พักดึก กินมื้อเย็นเลื่อนไปเป็นตอนดึก กินเสร็จแล้วก็อาบน้ำนอนทันที ดังนั้นน้ำย่อยที่ถูกหลั่งออกมาเพื่อย่อยอาหารที่เรากินเข้าไป อาจไหลย้อนกลับมาหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก เพราะกรดไหลย้อนได้ และขอบอกเลยนะคะว่าอาการนี้เป็นแล้วทรมาน รักษาก็ต้องใช้เวลาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- โรคกรดไหลย้อน-โรคกระเพาะ ความเหมือนที่แตกต่าง
- 12 อาหารที่ไม่ควรกินก่อนนอน เสี่ยงกรดไหลย้อน แถมนอนไม่หลับ
- กินแล้วนอนทันที พฤติกรรมนี้ใช่แค่อ้วน !

เชื่อว่าการกินข้าวให้ตรงเวลา เป็นเรื่องที่หลายคนไม่สามารถทำได้ในทุกวันนี้ เพราะมีหลายปัจจัยมาก ๆ ที่ทำให้เราไม่สามารถกะเกณฑ์เวลารับประทานอาหารอย่างเป๊ะ ๆ ได้ ทั้งงานที่อาจจะติดค้างจนล่วงเลยเวลาพักเที่ยงไป หรือสภาพการจราจรที่ติดขัดสลับหยุดนิ่ง กว่าจะกลับถึงบ้านก็เลยเวลาอาหารเย็นไปแล้ว ไหนจะเช้าในวันหยุดที่มักจะตื่นสาย ๆ บ่าย ๆ สรุปคือพลาดทั้งอาหารเช้า อาหารเที่ยง กลายเป็นกินมื้อเย็นรวดเดียวไปอีก ถ้าสิ่งที่กล่าวอ่านแล้วคุ้น ๆ เหมือนสิ่งที่เราทำประจำ ก็เตรียมตัวรอรับโรคกระเพาะอาหารเป็นโรคประจำตัวได้เลยค่ะ
- โรคกระเพาะอาหาร อาการใกล้ตัวที่ต้องรู้จัก
16. ท้องผูก
นี่ก็ไม่ได้อยากจะโทษไลฟ์สไตล์เร่งรีบเท่าไรหรอกนะคะ แต่ว่าสาเหตุที่ทำให้หลายคนมีอาการท้องผูกก็มาจากวิถีชีวิตที่รีบไปซะจะทุกวินาทีจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมรีบบึ่งไปทำงานตั้งแต่เช้า ตืนแต่เช้ามืด รีบอาบน้ำแต่งตัว จนไม่มีเวลานั่งถ่ายอุจจาระ อีกทั้งพฤติกรรมรีบกินแข่งกับเวลาที่ทำให้เราต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแช่แข็งมาอุ่นกิน ข้าวเหนียวหมูปิ้งนี่ก็บ่อย ไก่ทอด พิซซ่า และอาหารสิ้นคิดอย่างกะเพราไข่ดาวก็ถี่ไม่น้อย
สรุปในแต่ละวันร่างกายเลยไม่ค่อยได้รับไฟเบอร์จากอาหารในปริมาณที่เพียงพอ ยิ่งบางคนติดดื่มชา-กาแฟ คาเฟอีนก็จะเพิ่มโอกาสท้องผูกให้เราไปอีก และเมื่อท้องผูกบ่อย ๆ หลายคนอาจแก้ปัญหาง่าย ๆ ด้วยการหาไฟเบอร์สำเร็จรูปมารับประทาน ซึ่งอาจช่วยแก้ท้องผูกได้ชั่วครั้งชั่วคราวค่ะ ทว่าหากเราฝึกร่างกายให้พึ่งไฟเบอร์สังเคราะห์จนชิน ระบบขับถ่ายอาจเสียสมดุลขึ้นได้ง่าย ๆ นั่นแปลว่าร่างกายจะไม่ยอมขับถ่ายเองหากไม่ได้รับไฟเบอร์เสริม ดังนั้นพยายามกินผัก-ผักไม้ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายของเราเป็นไปตามวิถีที่ควรจะเป็นดีกว่านะคะ
- ท้องผูกทำไงดี อาการยอดฮิต ต้องพิชิตด้วยการเปลี่ยนนิสัย !
- 10 ผลไม้แก้ท้องผูก กินให้ถูกก็โล่งสบายท้อง
- 10 เมนูอาหารไทยแก้ท้องผูก กินแล้วปลุกระบบขับถ่าย
- 10 สมุนไพรแก้ท้องผูก ปราบทุกอาการถ่ายยากให้อยู่หมัด

ถ้าเมื่อไรที่เกิดอาการท้องผูกแล้ว สิ่งที่มักจะตามมาก็คือโรคริดสีดวงทวารที่ใครก็ไม่อยากพบเจอนี่แหละค่ะ เพราะการที่เราพยายามจะเบ่ง พยายามจะนั่งจนกว่าจะถ่าย อาจส่งผลให้เกิดแรงดันในช่องท้องมาก เส้นเลือดดำถ่ายเทไม่สะดวกและเกิดอาการโป่งพองขึ้น กลายเป็นริดสีดวงทวารในที่สุด ซึ่งหากไม่อยากเป็นริดซี่ ก็พยายามกินผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยเยอะ ๆ พร้อมทั้งเลี่ยงการนั่งส้วมนาน ๆ ด้วยก็จะดีมาก
- วิธีแก้โรคริดสีดวงทวาร รักษาง่าย หายห่วง !
- 8 สมุนไพรรักษาริดสีดวงทวาร ปราบความทรมานด้วยตัวเอง
18. โรคลำไส้แปรปรวน
อีกหนึ่งโรคฮิตของคนวัยทำงาน เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างอาจทำให้ระบบขับถ่ายและระบบทางเดินอาหารของเราผิดปกติไป เช่น พฤติกรรมนั่งแช่เล่นมือถือในห้องน้ำ ทำให้เกิดอาการถ่ายไม่สุดบ่อยครั้ง กระทั่งพัฒนาไปเป็นโรคลำไส้แปรปรวนได้ หรือพฤติกรรมกินอาหารชนิดเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารชนิดนั้น ๆ มากเกินไป รวมไปถึงภาวะความเครียดก็อาจกระตุ้นอาการของโรคลำไส้แปรปรวนได้
ดังนั้นลองสังเกตกันดูค่ะว่า เรามีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย อืดท้อง แน่นท้อง บ่อย ๆ และอาการไม่สบายท้องจะหายหลังจากขับถ่ายเสร็จกันบ้างหรือเปล่า ถ้าคำตอบคือใช่ ก็รีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาโดยด่วนเลยดีกว่า เนื่องจากอาการของโรคลำไส้แปรปรวน บางทีอาจเป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นของโรคร้ายอย่างโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือโรคมะเร็งทางเดินอาหาร เป็นต้น

แม้หลายคนจะมองว่าปัญหารถติดเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันกันไปแล้ว แต่อย่ามองข้ามสุขภาพของตัวเองกันดีกว่า เพราะมีงานวิจัยที่เผยว่า การเดินทางโดยใช้ระยะเวลาเนิ่นนานเป็นชั่วโมง อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคต่าง ๆ จนสุขภาพอาจพังได้เลย แต่หากใครสงสัยว่าแค่รถติดจะทำเราป่วยได้ยังไง ก็ลองมาหาคำตอบกันค่ะ
- โรคจากการเดินทาง รถติด นั่งนาน ๆ เดี๋ยวสุขภาพก็พัง
20. โรคที่เกิดจากการสวมใส่รองเท้าส้นสูง
สาว ๆ ที่จำเป็นต้องใส่ส้นสูงเพื่อบุคลิกที่ดี โดยเฉพาะในอาชีพบางอาชีพที่ต้องแต่งตัวดูดี สวมใส่ส้นสูงให้ดูสง่า แถมยังต้องเดินบนรองเท้าส้นสูงติดต่อกันนาน ๆ หรือแม้แต่การยืนบนรองเท้าส้นสูงนาน ๆ ก็อาจนำพาสารพัดโรคมาให้เราได้ ตั้งแต่โรคเส้นเลือดขอด หรือร้ายแรงไปถึงโรคเท้าผิดรูป ฝ่าเท้าบวมช้ำ ก็อาจมาเยือนเช่นกัน
- อันตรายจากส้นสูง สวยสง่าแต่ปัญหาสุขภาพเพียบ !

แม้ในยุคนี้จะเป็นยุคของคนเฮลธ์ตี้ แต่ก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยค่ะที่ชอบถือคติว่า ถ้าใจเราผอมกินเยอะเท่าไรก็ไม่อ้วนหรอก และนั่นก็เป็นเหตุให้ตามใจปากอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง นำมาซึ่งน้ำหนักตัวที่เพิ่มพรวด ๆ จนในที่สุดก็อ้วนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งความอ้วนก็ไม่ใช่เรื่องน่าขำเลยนะคะ เพราะแค่น้ำหนักเราเกินเกณฑ์มาตรฐาน โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ ก็จะพากันรุมเร้า อย่างน้อยที่สุดเราก็จะมีอาการเหนื่อยง่าย เพลียบ่อย หนักเข้าก็อาจจะเกิดอาการปวดเข่า ปวดข้อ เท้าบวม เพราะร่างกายรับน้ำหนักตัวเองไม่ไหว ความเสื่อมของสุขภาพภายในเลยเกิดขึ้น
- คนอ้วนระวังไว้ แค่น้ำหนักเกินก็เสี่ยงตาย 8 โรคอันตรายจะถามหา !
22. โรคเบาหวานชนิดที่สอง
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คุกคามไลฟ์สไตล์ของมนุษย์เงินเดือนเพิ่มขึ้นทุกวัน และพฤติกรรมพาป่วยเบาหวานก็คือพฤติกรรมกินอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารรสหวานทั้งหลาย ที่หากเสพติดน้ำหวาน ของหวาน ของทอด ๆ มัน ๆ อาหารประเภทแป้งขัดขาวมากเกินไป แถมยังไม่ชอบออกกำลังกาย ร่างกายที่มีปริมาณน้ำตาลสะสมมากเกินไป อาจส่งผลให้อินซูลินในร่างกายไม่เพียงพอต่อการนำน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงาน แล้วน้ำตาลที่เหลืออยู่ก็จะตกค้าง ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง และหากปล่อยให้ร่างกายเป็นแบบนี้เรื่อย ๆ ฮอร์โมนอินซูลินก็จะแปรปรวน จนในที่สุดก็ไม่สามารถดึงน้ำตาลในร่างกายไปเป็นพลังงานได้ทั้งหมด ก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงถึงขั้นเป็นเบาหวานได้นั่นเอง
- โรคเบาหวาน ภัยเงียบตัวร้ายที่คนไทยเป็นกันมาก

เมื่ออ้วน เป็นเบาหวาน ก็แน่นอนว่าโรคที่จะตามมาอีกไม่นานก็คือโรคความดันโลหิตสูง เนื่องด้วยความอ้วน และพฤติกรรมที่ทำให้อ้วน บวกกับภาวะเครียดจากงาน เครียดจากการเรียน เป็นปัจจัยเสริมให้ระบบไหลเวียนโลหิตเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้โดยที่ผู้ป่วยก็อาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบอยู่ในร่างกาย เพราะโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการแสดงในระยะแรก ๆ ทว่าหากไม่ได้รับการรักษา ภาวะความดันโลหิตสูงอาจอยู่ในจุดที่อันตราย โดยผู้ป่วยอาจมีอาการหน้ามืด ปวดศีรษะ หรือร้ายแรงถึงขั้นหลอดเลือดในสมองแตก ตีบ ตัน ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้
- โรคความดันโลหิตสูง เพชฌฆาตเงียบที่ต้องระวัง

โรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่มีสาเหตุจากภาวะไขมันในเลือดสูงจากการรับประทานอาหารไขมันสูง ส่งผลให้ไขมันชนิดเลวเหล่านี้อาจหลุดรอดไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด เนื่องจากร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงานได้หมด (ไม่ได้ออกกำลังกายหรือไม่ค่อยได้ใช้พลังงานจากการเคลื่อนไหว) และเมื่อหลอดเลือดมีไขมันเลวเกาะอยู่ ก็อาจเกิดภาวะอักเสบจากอนุมูลอิสระที่แฝงมากับไขมันเลว
ส่งผลให้ร่างกายส่งเม็ดเลือดขาวมาจัดการความอักเสบที่เกิดขึ้นกับเซลล์ ซึ่งเมื่อเม็ดเลือดขาวมาจับตัวกับสารอนุมูลอิสระจนเป็นก้อนที่ค้างอยู่ในระบบโลหิต เลือดก็จะไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่ดี โดยเฉพาะการสูบฉีดเลือดไปสู่หัวใจ ซึ่งหากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอกับความต้องการ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไขมันอุดตันเส้นเลือดก็จะมาเยือนในที่สุดค่ะ
- เจ็บหน้าอกจี๊ด ๆ อาการน่าสงสัย นี่ใช่โรคหัวใจหรือเปล่า ?!
- 10 พฤติกรรมเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ทราบแล้วเปลี่ยนให้ทันก่อนหมดลมหายใจ !
- 10 สมุนไพรบำรุงหัวใจ ของดีใกล้ตัว มีไว้ติดครัวก็ดี
25. โรคหลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตก
ปัจจุบันพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเกิดในวัยทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้คือความเครียดสะสม การบริโภคอาหารไขมันสูง พฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย ดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ พฤติกรรมดังที่กล่าวมามีส่วนทำให้หลอดเลือดเสื่อมเร็วกว่าปกติ ยิ่งในคนที่มีภาวะเครียดมาก หรือมีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตกได้มากขึ้น แนวโน้มจะเป็นผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ก็มากขึ้นด้วยเช่นกัน
- โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน-เส้นเลือดในสมองแตก รู้ทันก่อนก็รอด ปลอดจากอัมพาต

สิงห์อมควันทั้งหลายระวังไว้ให้ดีค่ะ เพราะพฤติกรรมสูบบุหรี่ที่ติดกันอยู่ทุกวันนี้อาจเป็นสาเหตุให้ปอดเกิดการสะสมสารพิษจากบุหรี่ ส่งผลให้เกิดภาวะปอดอักเสบและโรคถุงลมโป่งพองได้ อีกทั้งการสูบบุหรี่ในบ้าน ในอาคาร สำนักงาน หรือในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ไม่สะดวก สารพิษจากบุหรี่อาจติดเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ติดอยู่ในเครื่องปรับอากาศ ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ส่งผลกระทบให้คนใกล้ตัวได้รับสารพิษเข้าร่างกายไปด้วยทั้ง ๆ ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลยสักมวน...
- โทษของบุหรี่ ยิ่งสูบยิ่งป่วยโรคร้าย ตายไวไม่รู้ตัว
- โรคถุงลมโป่งพอง โรคร้ายที่มากับบุหรี่
27. ความเสี่ยงโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
โรคร้ายอย่างมะเร็งเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ในร่างกายเรา โดยที่เราไม่รู้ตัว และที่ร้ายไปกว่านั้น สาเหตุของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะโรคมะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร หรือมะเร็งลำไส้ ก็ล้วนแต่เกิดจากพฤติกรรมบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ที่ไม่มีประโยชน์มากเกินไป ร่วมกับพฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย ก็อาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ร่างกายสะสมความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ไว้เยอะ รู้ตัวอีกทีก็ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเข้าให้แล้ว
- เช็กอาการ 15 โรคมะเร็งยอดฮิต สาเหตุเสียชีวิตติดอันดับของคนไทย
รู้แล้วก็เลี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อโรคให้ไกล เพื่อชีวิตที่สดใส และสุขภาพที่ไฉไลในอนาคตกันดีกว่าค่ะ :)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก


ศูนย์บริหารจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรงพยาบาลเปาโล
timesofindia